การเลี้ยงหมูป่า17 มกราคม 2560
17
มกราคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เผ่า วามะลุน
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1) ประชุมครู ผู้ปกครอง นักเรียน ชุมชน แจ้งแผนการดำเนินงานที่  2 เกษตรในโรงเรียน กิจกรรมที่ 2.3 การเลี้ยงหมูป่า 2) มอบหมายครูและนักเรียนเป็นผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพการเลี้ยงหมูโดยความสมัครใจ 3) จัดหาวัสดุอุปกรณ์และจัดทำคอกหมูป่าเพื่อเตรียมที่ให้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ในการขยายพันธุ์ 4) ครู นักเรียน มอบหมายหน้าที่และแบ่งความรับผิดชอบประจำวันในการดูแล  รักษาและให้อาหารหมู 5) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มอาชีพการเลี้ยงหมูป่า  ตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active  Leatning  จำนวน  40  แผน ในกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามนโยบายลดเวลาเรียน  เพิ่มเวลารู้  ตั้งแต่ เวลา  14.30-15.30 น. ทุกวัน 6) ครู นักเรียนจัดทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายในกิจกรรมการเลี้ยงหมูป่าและรายงานผลการปฏิบัติงานเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1) ครู  นักเรียน  มีความรู้ ความเข้าใจและเกิดประสบการณ์ในการเลี้ยงหมูป่า 2) ครู  นักเรียนมีความสามารถและทักษะในการขยายพันธุ์และดูแลรักษาลูกหมูป่าได้ 3) มีลูกหมูป่าไว้ขุน หรือจำหน่ายในโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) ผลลัพธ์ 1) ครู  นักเรียน  ผู้ปกครอง  ชุมชน มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่โรงเรียนดำเนินการ 2) ครู  นักเรียน  ผู้ปกครอง  ชุมชน มีความคิดที่ดีต่อกลุ่มอาชีพการเลี้ยงหมูป่าและให้การสนับสนุนอย่างดี

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 299 คน จากที่ตั้งไว้ 0 คน
ประกอบด้วย