1) จำหน่ายแม่ไก่ งวดที่ 1จำนวน50ตัว 2) ประสานซื้อไก่สาวอายุ 16-20 สัปดาห์ กับลูกศิษย์ที่ทำงานอยู่ฟาร์มชลบุรี ราคาพิเศษตัวละ 185บาท 3) ปรึกษาเครือข่ายปศุสัตว์อำเภอหัวตะพานเพื่อให้ความรู้แก่ครูและกลุ่มนักเรียนผู้รับผิดชอบกลุ่มอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ 4) เตรียมคอกไก่ อาหาร ยารักษาโรค แล้วรับไก่ลงจำนวน100ตัว โดยใช้เงินงบประมาณจาก ปีที่ 1 และเงินที่จำหน่ายไก่ เงินจำหน่ายไข่รุ่นที่ 1 5) สำนักงาน ธกส.จังหวัดอำนาจเริญ ร่วมกับ ธกส.อำเภอหัวตะพาน มอบเงินสนับสนุนกิจกรรมเพื่ออาหารกลางวันจำนวน10,000บาท 6) แพทย์สัตว์อำเภอหัวตะพานออกมาให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงไก่ไข่ การทำวัคซีนและการป้องกันโรคไก่ ตลอดจนการดำเนินเลี้ยงไก่อารมณ์ดี 7) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning จำนวน40 แผน ในกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูาณาการตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ตั้งแต่เวลา 14.30 - 15.30 น. ทุกวัน 8) นักเรียนรับผิดชอบจัดทำบัญชีการรับจ่ายและซื้อขายไข่ให้กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน และจัดทำบัญชีจัดสรรค่าดำเนินการแก่กลุ่มนักเรียนการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อเป็นรายได้ระหว่างเรียน
ผลผลิต 1) มีแม่ไก่พันธุ์ไข่ จำนวน 100 ตัว 2) มีอาหาร จำนวน 26 กระสอบ(อย่างน้อย) มีเวชภัณฑ์รักษาโรค 3) ไก่ไข่วันละ 60-80 ฟอง 4) ครู นักเรียน มีความรู้เรื่องการบริหารจัดการการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ การดูแลรักษาและป้องกันโรค การจำหน่ายและจัดทำบัญชีซื้อขายไข่ 5) โครงการอาหารกลางวันมีเมนูอาหารกลางวันจากไข่อย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ ผลลัพธ์ 1) ชุมชน ผู้ปกครอง มีความคิดที่ดีต่อการจัดทำโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)และอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ 2) นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและมีความคิดที่ดีต่อกระบวนการผลิตเพื่ออาหารกลางวัน ตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)และอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ 3) โรงเรียนบ้านโนนเมือง ชุมชน เกษตรอำเภอหัวตะพาน ปศุสัตว์อำเภอหัวตะพาน สำนักงาน ธกส.จังหวัดอำนาจเจริญ ธกส.อำเภอหัวตะพานและกลุ่มภาคีเครือข่ายต่างๆมีความพึงพอใจต่อโครงการ ศรร.