ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนบ้านโนนเมือง

รหัสโครงการ ศรร.1311-089 รหัสสัญญา 58-00-2265-อ.43 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

วันที่เริ่มประเมิน

1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
1. การเกษตรในโรงเรียน

1) การปลูกผักกางมุ้ง 2) การทำปุ๋ยอินทรีย์ 3) การทำเห็ดนางฟ้า 4)ไก่มังสวิรัติเพื่อป้องกันโรคในไก่

1) การปลูกผักกางมุ้ง ปลูกผักตามฤดูกาลโดยไม่ใช้สารเคมี 2) การทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมัก เพื่อพัฒนาคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตรในโรงเรียน 3) การทำเห็ดนางฟ้า โดยวิทยากรภายนอกในชุมชน (รายงานโครงการตามแผนปฏิบัติการ ศรร.และกรอบสาระหลักสูตรท้องถิ่น 4) กระบวนการเลี้ยงไก่โรงเรียนขั้นตอน -ปล่อยไก่รวมในคอก -เปิดวิทยุให้ฟัง -ให้อาหารสำเร็จรูป **ให้หญ้า,ใบกระถินวันเว้นวันเพื่อป้องกันโรค ทำให้ไก่แข็งแรงไม่เกิดโรคและไม่ต้องใช้สารเคมี เอกสารอ้างอิง -ภาพกิจกรรม -สรุปผลการดำเนินงานตามกิจกรรม

1) โรงเรียนจะต่อยอดทุกกิจกรรมตามแผนการดำเนินงาน ๔ แผน 2) โรงเรียนจะผลิตข้าวเพื่ออาหารกลางวันแบบเกษตรอินทรีย์ร่วมกับศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี 3) โรงเรียนจะทำประมงน้ำจืดในสระโรงเรียนที่ปรับปรุงในพื้นที่โรงเรียนเก่า ๙ ไร่เศษ 4) โรงเรียนจะทำเกษตรแบบผสมผสานกับภาคีเครือข่ายในชุมชนให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
2. สหกรณ์นักเรียน

1) รวมกลุ่มวิเคราะห์และจัดทำผลผลิตเข้าสหกรณ์โดยสมาชิก

ขั้นตอนการดำเนินงาน -คณะกรรมการและสมาชิกสหกรณ์ประชุมวิเคราะห์ -รายรับรายจ่ายของสหกรณ์ -วิเคราะห์สินค้าที่นำเข้าขายในสหกรณ์โดยคำนึงถึงประโยชน์ของนักเรียนเป็นสำคัญ สรุปผลประชุมมีมติให้นักเรียนทำขนม ส่งสหกรณ์เพื่อได้ขนมที่มีคุณค่าทางโภชนาการและราคาถูกเช่นการทำน้ำข้าวกล้องงอก,การทำขนมไทย หลักฐาน -ภาพกิจกรรม -สรุปผลการประชุม

โรงเรียนจะตั้งภาคีเครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชน ให้นำผลผลิตที่เกิดจากชุมชนอย่างหลากหลายมาจำหน่ายให้แก่สหกรณ์นักเรียนแล้วให้โครงการอาหารกลางวันมาซื้อไปจัดบริการอาหารกลางวันแก่นักเรียน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

 

 

โรงเรียนจะพัฒนารูปแบบการจัดบริการอาหารกลางวันแบบมีส่วนร่วมให้เป็นโรงเรียนต้นแบบโครงการอาหารกลางวันที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านโภชนาการ สุขาภิบาลอาหารและสุขภาพอนามัยนักเรียน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

โรงเรียนใช้นวัตกรรมแบบทีมงาน (Teamwork)

ทีมงานประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูอาหารกลางวัน ครูอนามัยโรงเรียน ครูพลศึกษา ครูประจำชั้น ผู้ปกครอง นักเรียนแกนนำด้านสุขภาพและเครือข่ายสาธารณสุขในชุมชน - ร่วมวางแผน ดำเนินงาน ควบคุมและตรวจสอบการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการและสมรรภาพทางกายนักเรียน -เยี่ยมบ้านนักเรียน -แก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วมโดยมีการวิเคราะห์ วางแผนร่วมกัน *หลักฐาน -ภาพประกอบกิจกรรม -เอกสาร

โรงเรียนจะพัฒนาและต่อยอดกิจกรรมที่ได้ดำเนินการให้มีประสิทธิภาพต่อไป

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

โรงเรียนใช้นวัตกรรมแบบทีมงาน(Teamwork)

โรงเรียนมอบครูผู้รับผิดชอบกรอบงานที่ ๕ เป็นเจ้าภาพ ประสานงานกับครูประจำชั้น ครูอนามัยโรงเรียน ครูพลศึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในชุมชนและผู้ปกครองร่วมวางแผนให้ความรู้และพัฒนาสุขนิสัย สุขภาพนักเรียน

โรงเรียนจะสานต่อกิจกรรมที่ดำเนินการมาแล้วให้มีคุณภาพ

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

โรงเรียนใช้นวัตกรรม "โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร"

ปีการศึกษา ๒๕๕๘ โรงเรียนได้รับการประเมินและรับรองให้เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของ สสจ.อำนาจเจริญ

โรงเรียนจะพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะตามกรอบงานโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสและ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพต่อไป

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

โรงเรียนใช้นวัตกรรม "ภาคีเครือข่ายสุขภาพ"

1) โรงเรียนใช้งานอนามัยโดยครูอนามัยโรงเรียนและนักเรียนแกนนำด้านสุขภาพร่วมดำเนินงานกับเครือข่าย 2) เครือข่ายอาสาสมัครชุมชน 3) เครือข่ายสาธารณสุขหมู่บ้าน ตำบล อำเภอและจังหวัด

โรงเรียนจะพัฒนาความร่วมมือของเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

1) กรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น 10 กลุ่มอาชีพ

1) สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) กิจกรรม ;ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ **เอกสารหลักฐาน -แผนการเรียนรู้ -รายงาน -ภาพกิจกรรม

โรงเรียนจะจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น 10 กลุ่มอาชีพ กับ สาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระหลักโดยประยุกต์ให้สอดคล้องกับกิจกรรม "ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้"

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
9. อื่น ๆ

ปีการศึกษา 2560 ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานีให้โรงเรียนบ้านโนนเมืองเป็น 1 ใน 2 ของ "ศูนย์เรียนรู้การทำนา"

โรงเรียนจะจัดทำแผนการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในชุมชน ปีการศึกษา 2560 ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานีให้โรงเรียนบ้านโนนเมืองเป็น 1 ใน 2 ของ "ศูนย์เรียนรู้การทำนา" ของจังหวัดโดยร่วมกับกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่บ้านกุดซวย อำเภอหัวตะพาน เพื่อพัฒนานวัตกรรมการทำนาและอนุรักษ์วิถีการทำนาบนพื้นที่โรงเรียนเก่า จำนวน 9 ไร่ ตลอดจนมีผลผลิตด้านการเกษตรอื่นๆและข้าวสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันแบบยั่งยืน **หลักฐาน ภาพกิจกรรม

โรงเรียนร่วมวางแผนกับบ้าน(ผู้นำทั้ง 2 หมู่บ้านและเป็นประธานและกรรมการสถานศึกษา) วัด(เจ้าอาวาสและเป็นกรรมการสถานศึกษา) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนหนามแท่งและชุมชน เราจะร่วมมือกันพัฒนาที่ดิน 9 ไร่เศษให้เป็นแปลงเกษตรชุมชนเพื่อนำผลผลิตจำหน่ายแก่สหกรณ์นักเรียนและโครงการอาหารกลางวันต่อไป

2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

บวรส. (บ้าน-วัด-โรงเรียน-สาธารณสุข),เกษตรอำเภอ,ปศุสัตว์อำเภอ,สหกรณ์จังหวัดฯ การดำเดินงานตามโครงการเด็กไทยแก้มใสของโรงเรียนบ้านโนนเมืองประสพความสำเร็จจากการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายโดยทุกภาคส่วน เป็นที่ปรึกษา สนับสนุนการดำเนินงานร่วมวางแผนคิดวิเคราะห์การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องที่สำคัญภาคีเครือข่าย บวรส. ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ใกล้ชิดกับโรงเรียนและนักเรียนมีการดำเนินงานร่วมกันตลอด

2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

1) โรงเรียนบ้านโนนเมือง ตั้งอยู่ในชุมชนเกษตรกรรมและมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้และพัฒนาทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน 2) ผู้ปกครอง ชุมชน มีความรู้ ความสามารถในการทำกสิกรรมและปศุสัตว์และมีจิตอาสาในการสนับสนุนกิจกรรมทางการเกษตรในโรงเรียนทำให้นักเรียนได้เรียนรู้และมีทักษะในการทำการเกษตร 3) ผู้นำหมู่บ้าน วัดและโรงเรียนมีวิสัยทัศน์ร่วมและมุ่งพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาให้มีเอกภาพ

3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

1) ความรักในสถาบันหลัก ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และสถาบันครอบครัว บ้าน วัด โรงเรียน
2) ความศรัทธาและความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน 3) ความสามัคคีมีสมานฉันท์และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชน จากประเด็นดังกล่าวข้างต้นส่งผลให้ทีมงานมีความมุ่งมั่นและเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆของโครงการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย กลไกการดำเนินงานโครงการ ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและมอบหมายงานผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และมีการเรียนรู้ร่วมกัน,มีการวิเคราะห์ประเมินผลเป็นระยะๆ

4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

1) การอบรมเชิงปฏิบัติการจากผู้รับผิดชอบโครงการ(สสส.) 2) การพัฒนาบุคลากรโดยหน่วยงานต้นสังกัด การนิเทศ กำกับ ติดตาม โดยผู้อำนวยการโรงเรียนอย่างใกล้ชิด สม่ำเสมอ 3) การพัฒนาโดยพี่เลี้ยงโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) 4) การเรียนรู้แบบบูรณาการและการจัดการเรียนการสอนแบบ ActiveLearning ในศตวรรษที่ 21 5)ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้

5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

1) ผู้ปกครอง ชุมชน มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงานก่อนที่จะเป็นแผนการดำเนินงานตามโครงการ 2) ผู้ปกครอง ชุมชน ร่วมลงมือปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานทุกขั้นตอน 3) ผู้ปกครอง ชุมชน ร่วมนิเทศ กำกับ ดูแลและติดตามผลการดำเนินงานอยู่ตลอดเวลา 4) ผู้ปกครอง ชุมชน ร่วมประเมิน/ชี้แนะ/สรุปถอดบทเรียนเพื่อพัฒนาต่อยอดหลังปิดโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)ต่อไป

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

มีการวางแผนทำการเกษตรตามฤดูกาลโดยมีการปลูกพืชหมุนเวียน
มีการปลูกผักระยะสั้นเช่น ผักบุ้ง,ต้นหอม,ผักชี,คะน้า,แตงกวา,ถั่วฝักยาว,มะเขือเทศฯ -ระยะกลางเช่นมะละกอ,ชะอม,กล้วย,แก้วมังกร -ระยะยาว มะพร้าว(มีอยู่เ **การจัดการ -แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มอาชีพ-ผลผลิตที่ได้ส่งเข้าสหกรณ์นักเรียน -สหกรณ์ขายต่อให้โครงการอาหารกลางวัน(กรณีที่มีในปริมาณมากขายให้ผู้ปกครอง) หมายเหตุ:ผลผลิตเพียงพอตามระยะเวลาที่กำหนดตามแผนงานการผลิตแต่ไม่เพียงพอตลอดช่วงการจัดบริการอาหารกลางวัน

-ภาพผลผลิต,แปลงเกษตร -บัญชีกลุ่มผลผลิต บัญชีการจัดซื้ออาหารสดอาหารแห้งประจำวัน

โรงเรียนจะพัฒนาเกษตรชุมชนให้มีความหลากหลายและเพียงพอต่อไป

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

โรงเรียนเลี้ยงไก่ไข่จำนวน 100 ตัว มีผลผลิตไข่เพียงพอ เลี้ยงหมูป่าพ่อแม่พันธุ์ จำนวน 2 ตัว ผลิตเพื่อเป็นอาหารโปรตีน

**การจัดการ -แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มอาชีพ-ผลผลิตที่ได้ส่งเข้าสหกรณ์นักเรียน -สหกรณ์ขายต่อให้โครงการอาหารกลางวัน

เอกสารรายงาน ภาพกิจกรรม

โรงเรียนจะจัดทำแผนการดำเนินงานเกษตรเสริมอีกหลายรายการทั้ง เป็ด ไก่พื้นเมือง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

โรงเรียนเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ล กบ เพื่ออาหารกลางวัน **การจัดการ -แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มอาชีพ-ผลผลิตที่ได้ส่งเข้าสหกรณ์นักเรียน -สหกรณ์ขายต่อให้โครงการอาหารกลางวัน

ตามแผนการดำเนินงานเกษตรในโรงเรียน

โรงเรียนจะขยายการเลี้ยงปลาในสระน้ำที่ปรับปรุงใหม่ในพื้นที่โรงเรียนเก่าอย่างหลากหลาย

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

 

 

 

5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

1) โรงเรียนจัดอาหารกลางวันตามเมนู ThaiSchoolLunchProgram100เปอร์เซ็นต์ 2) โรงเรียนทำผ้าป่าข้าวเปลือกแล้วเอางบประมาณส่วนที่จัดซื้อข้าวไปซื้อผลไม้เพิ่มตามเกณฑ์ของเมนู

ตามเมนูอาหารประจำวัน ภาพกิจกรรม รายงานการจัดซื้อจัดจ้าง

โรงเรียนจะดำเนินการตามรูปแบบที่ได้ดำเนินการมาแล้ว เพราะจะมีข้าวจากการผลิตเองของ "ศูนย์การเรียนรู้การทำนา" ปีการศึกษา 2560

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

1) โรงเรียนจัดอาหารกลางวันตามเมนู ThaiSchoolLunchProgram100เปอร์เซ็นต์ 2) โรงเรียนทำผ้าป่าข้าวเปลือกแล้วเอางบประมาณส่วนที่จัดซื้อข้าวไปซื้อผลไม้เพิ่มตามเกณฑ์ของเมนู

ตามเมนูอาหารประจำวัน ภาพกิจกรรม รายงานการจัดซื้อจัดจ้าง

แนวทางการพัฒนาต่อ โรงเรียนจะดำเนินการตามรูปแบบที่ได้ดำเนินการมาแล้ว เพราะจะมีข้าวจากการผลิตเองของ "ศูนย์การเรียนรู้การทำนา" ปีการศึกษา 2560

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

โรงเรียน ผู้ปกครองและชุมชน มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาระบบโภชนาการ สุขภาพและอนามัยนักเรียนร่วมกันจึงเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชนเพื่อบุตรหลาน โดยชุมชนมีการปลูกผักปลอดสารพิษส่งให้สหกีณ์นักเรียนเพื่อขายต่อโครงการอาหารกลางวันนักเรียนในกรณีที่ผลผลิตทางการเกษตรของโรงเรียนไม่เพียงพอ

เมนูการจัดบริการอาหารกลางวัน หลักฐานการซื้อผลผลิตจากชุมชน เอกสาร ภาพกิจกรรม

โรงเรียนจะร่วมพัฒนาแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน 100 เปอร์เซ็นต์ ตามแผนงานเกษตรชุมชนบนพื้นที่ 9 ไร่เศษ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

โรงเรียนได้เสนอของบประมาณตามโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามแนวพระราชดำริ จากผู้ว่าราชการจังหวัด จำนวน 100,000 บาทในปีการศึกษา 2559 ซึ่งผ่านความเห็นชอบของแผนยุทธศาสตร์จังหวัดแล้วแต่งบประมาณยังไม่ได้รับการเบิกจ่ายและจังหวัดให้ปรับช่วงเวลาเป็น 2560 แล้ว โดยโรงเรียนจะนำมาเสริมการเลี้ยงไก่ไข่ การปลูกมะนาว การเลี้ยงเป็น และอุปกรณ์การทำเห็ดนางฟ้า/นางรม/เห็ดขอนขาว ต่อไปโรงเรียนจะเป็นผู้ผลิตก้อนเห็ดและเห็ดเพื่อบริโภคและจำหน่ายแบบครบวงจร

ข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนอาจปรับโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามแนวพระราชดำริบางกิจกรรมเพื่อนำงบประมาณมาเป็นทุนสนับสนุนการเกษตรชุมชนในพื้นที่ 9 ไร่เศษ เพื่อให้เกิดภาคีเครือข่ายการผลิตพืชผักและปศุสัตว์ที่เพียงพอต่อการจัดทำอาหารกลางวันต่อไป

4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

1) โรงเรียนมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการเงินทุนหมุนเวียนส่งเสริมผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวัน 2) โรงเรียนมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการอาหารกลางวัน โดยมีคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนร่วมดำเนินงานด้วย 3) โรงเรียนมีคำสั่งมอบหมายครูผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวัน คณะกรรมการจัดซื้อ/ตรวจรับวัสดุอาหารสดอาหารแห้ง 4) ครูผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันและเจ้าหน้าที่จัดทำเมนูอาหารประจำวัน ต้องส่งเมนูอาหารล่วงหน้าประกอบการขอยืมเงินเพื่อทำอาหารกลางวัน

หลักฐานการเบิกจ่ายและยืมเงินอาหารกลางวัน เอกสารรายการอาหารกลางวันที่โรงเรียนจัดให้นักเรียนตาม TSL ภาพอาหารกลางวัน

โรงเรียนจะจัดอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการอาหารกลางวันทุกคนเพื่อให้สามารถจัดทำเมนูอาหารได้ด้วยตนเองต่อไป

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

โรงเรียนมอบหมายครูผู้รับผิดชอบกรอบงานที่ 4 -มีการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา -แก้ไขปัญหา -ร่วมกับครู ผู้ปกครอง จนท.สาธารณสุข -จัดกิจกรรม ออกกำลังกาย เสริมอาหาร -ใช้กราฟในการประเมิน

ภาพถ่าย รายงานประชุม รายงานภาวะโภชนาการ

 

3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

ภาวะ2558 1/12558 1/22558 2/12558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/2
เตี้ย 12.20 12.20% 9.76 9.76% 2.44 2.44% 0.00 0.00% 2.53 2.53% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 0.00 0.00%
เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 18.29 18.29% 17.07 17.07% 17.07 17.07% 12.20 12.20% 25.32 25.32% 16.46 16.46% 8.86 8.86% 5.06 5.06%
ผอม 12.50 12.50% 10.81 10.81% 7.59 7.59% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 0.00 0.00%
ผอม+ค่อนข้างผอม 22.22 22.22% 18.92 18.92% 17.72 17.72% 9.76 9.76% 11.39 11.39% 8.86 8.86% 6.49 6.49% 3.80 3.80%
อ้วน 0.00 0.00% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 5.06 5.06% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 0.00 0.00%
เริ่มอ้วน+อ้วน 0.00% 0.00% 2.70% 2.70% 8.86% 8.86% 1.22% 1.22% 6.33% 6.33% 3.80% 3.80% 1.30% 1.30% 0.00% 0.00%
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

1)วิเคราะห์ สถานการณ์ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน 2) เฝ้าระวังเป็นระยะ 3)อบรมให้ความรู้นักเรียน ผู้ปกครอง 4)ควบคุมอาหาร และอาหารว่าง

การรายงานสถานการณ์ ครั้งที่ 2 ปลายภาคเรียนที่ 2 หรือ ประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ ศรร. ภาพกิจกรรม เอกสารกิจกรรมแก้ไขปัญหา

โรงเรียนจะแก้ปัญหาภาวะท้วมของนักเรียนให้หมดไปในปีการศึกษา 2560

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

1)วิเคราะห์ สถานการณ์ภาวะเริ่มผอมและผอม 2) เฝ้าระวังเป็นระยะ 3)อบรมให้ความรู้นักเรียน ผู้ปกครอง 4)ควบคุมอาหาร และอาหารว่าง

การรายงานสถานการณ์ ครั้งที่ 2 ปลายภาคเรียนที่ 2 หรือ ประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ ศรร. ภาพกิจกรรม เอกสารกิจกรรมแก้ไขปัญหา.

โรงเรียนจะแก้ปัญหาภาวะค่อนข้างผอมให้หมดไปในปีการศึกษา 2560

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

1)วิเคราะห์ สถานการณ์ภาวะเริ่มเตี้ยและเตี้ย 2) เฝ้าระวังเป็นระยะ 3)อบรมให้ความรู้นักเรียน ผู้ปกครอง 4)ควบคุมอาหาร และอาหารว่าง

การรายงานสถานการณ์ ครั้งที่ 2 ปลายภาคเรียนที่ 2 หรือ ประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ ศรร. ภาพกิจกรรม เอกสารกิจกรรมแก้ไขปัญหา.

โรงเรียนจะแก้ปัญหาภาวะค่อนข้างเตี้ยให้หมดไปในปีการศึกษา 2560

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ จากการประเมินครั้งที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 เดือนกันยายน พบว่า มีจำนวน 14คน โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรม คือ
1) เพิ่มอาหารเสริมนมอีกวันละ 1 กล่อง 2) การจัดบริการอาหารที่มีคุณค่าตามมาตรฐานและความต้องการของร่างกาย 3) จัดกิจกรรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย ทั้ง กระโดดเชือก กระโดดตบลูกฟุตบอล วิ่งตามฐาน BBL โดยแยกนักเรียนปฏิบัติตามความบกพร่อง

การรายงานสถานการณ์ ครั้งที่ 2 ปลายภาคเรียนที่ 2 หรือ ประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ ศรร.

โรงเรียนจะแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการต่าง ๆ ให้หมดไปในปีการศึกษา 2560

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

1) จัดประชุมผู้ปกครองสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.) 2) ชี้แจงหลักโภชนาการ สุขาภิบาลและการเสริมสร้างสุขนิสัยในการบริโภคแก่ผู้ปกครองเพื่อให้ดูแลลูกหลานได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการเมื่ออยู่ที่บ้านและให้เกิดความมั่นคงทางอาหารอย่างถูกต้อง 3) สร้างข้อตกลงเกี่ยวกับการควบคุมการสร้างสุขนิสัยในการบริโภคอาหาร ลดการบริโภคอาหารขยะ น้ำหวานและขนมกรุปกรอบต่าง ๆ

หลักฐานภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนลดลง ภาพและสรุปการประชุม

โรงเรียนจะรักษามาตรฐานการผลิตและการบริการด้านอาหารกลางวันที่มีคุณภาพต่อไป

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

โรงเรียนจะน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงปลูกฝังให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และจะปฏิบัติตามหลักการบริหารจัดการอาหาร โภชนาการ และสุขภาพอนามัยนักเรียนแบบครบวงจรสู่การปฏิบัติอย่างเข้มข้นมากขึ้น เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชหาที่สุดมิได้ และเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เจ้าฟ้านักโภชนาการ

 

 

5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

บวรส. (บ้าน-วัด-โรงเรียน-สาธารณสุข),เกษตรอำเภอ,ปศุสัตว์อำเภอ,สหกรณ์จังหวัดฯ การดำเดินงานตามโครงการเด็กไทยแก้มใสของโรงเรียนบ้านโนนเมืองประสพความสำเร็จจากการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายโดยทุกภาคส่วน เป็นที่ปรึกษา สนับสนุนการดำเนินงานร่วมวางแผนคิดวิเคราะห์การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องที่สำคัญภาคีเครือข่าย บวรส. ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ใกล้ชิดกับโรงเรียนและนักเรียนมีการดำเนินงานร่วมกันตลอด

หมายเหตุ *

  • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh