แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนบ้านเปือยนาสูง


“ โรงเรียนบ้านเปือยนาสูง ”

229 หมุที่2 บ้านเปือยใหญ่ ตำบลตะดอบ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

หัวหน้าโครงการ
นายสุริยนต์ จันทร์แจ่ม

ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านเปือยนาสูง

ที่อยู่ 229 หมุที่2 บ้านเปือยใหญ่ ตำบลตะดอบ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัด ศรีสะเกษ

รหัสโครงการ ศรร.1323-080 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-อ.34

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2559 ถึง 30 เมษายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนบ้านเปือยนาสูง จังหวัดศรีสะเกษ" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน 229 หมุที่2 บ้านเปือยใหญ่ ตำบลตะดอบ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนบ้านเปือยนาสูง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนบ้านเปือยนาสูง



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนบ้านเปือยนาสูง " ดำเนินการในพื้นที่ 229 หมุที่2 บ้านเปือยใหญ่ ตำบลตะดอบ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ รหัสโครงการ ศรร.1323-080 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 120,000.00 บาท จาก โรงเรียนบ้านเปือยนาสูง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 534 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียน บ้านเปือยนาสูงสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งในปีที่ 1 ได้ดำเนินการดังต่อไปนี้ ๑. เกษตรในโรงเรียน ได้จัดการเรียนรู้เกษตรในโรงเรียนพร้อมทั้งฝึกให้นักเรียนมีความรู้ ทักษะ ได้ฝึกปฏิบัติเรียนรู้จากการลงมือทำ ด้านการเกษตร เพื่อนำผลผลิตไปสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันส่งผลให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย ดังนี้ (๑) การปลูกพืช ได้ ปลูกกล้วย ผักสวนครัว ได้แก่ บวบ ฟักชะอม ตะไคร้ พริกมะเขือ
(๒) การเลี้ยงสัตว์ ได้เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่การเลี้ยงปลาดุก
๒. กิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน โรงเรียนได้จัดกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียน โดยเชิญนักวิชาการมาให้ความรู้และเป็นผู้ให้คำปรึกษาในการดำเนินการ ในรอบปีที่ผ่านมาๆ
๓. จัดบริการอาหารกลางวัน โรงเรียนมีการจัดทำรายการอาหารหมุนเวียนรายเดือน มีการปรุง ประกอบอาหารถูกหลักโภชนาการ สุขาภิบาลและอาหารปลอดภัย นักเรียนได้รับประทานอาหารในปริมาณและสัดส่วนของมาตรฐานโภชนาการ (ใช้ Thai School Lunch Program) ๔. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการและสมรรถภาพทางกายนักเรียนโรงเรียนได้ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงนักเรียนเปรียบเทียบเกณฑ์มาตรฐาน ๕.การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน ได้ฝึกนักเรียนในการปฏิบัติตามสุขบัญญัติโดยให้นักเรียนได้แปรงฟันหลังอาหาร
๖.การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โรงเรียนได้พัฒนามาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนโดยเน้นเรื่องความสะอาด ร่มรื่น สวยงาม มีการคัดแยกขยะ การดำเนินการมาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในโรงเรียน ๗. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน โรงเรียนให้บริการสุขภาพนักเรียนโดยร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะดอบ ตรวจสุขภาพนักเรียนตามปฏิทินที่โรงพยาบาลกำหนด
๘. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย โรงเรียนได้จัดการเรียนรู้ตามแผนคู่มือครูที่โครงการเด็กไทยแก้มใสกำหนด

(สรุปผลการดำเนินงาน ของโครงการฯ ปีที่ 1 พร้อมสถานการณ์ด้านอาหารและโภชนาการของเด็กนักเรียน ก่อน-หลัง เข้าร่วมโครงการ และกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จที่เห็นผลผลิต ผลลัพธ์ หรือนวัตกรรม อย่างเป็นรูปธรรม ตามข้อมูลในใบสมัครส่วนที่3)

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อสร้างความตระหนักและภารกิจหน้าที่เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชนและหน่วยงานสนับสนุนเด็กไทยแก้มใส 8 องค์ประกอบ
  2. เพื่อส่งเสริมปัจจัยในการผลิตทางด้านการเกษตรท้ังในและนอกโรงเรียน
  3. เพื่อให้ชุมชน ผู้ปกครอง บุคลากรในโรงเรียน นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดบริการอาหารและโภชนาการ รวมทั้ง การนำผลผลิตทางการเกษตร ผ่านระบบสหกรณ์ เข้าสู้โครงการอาหารกลางวัน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนสนับสนุนการดำเนินงาน โดยเฉพาะหน่วยงานด้านสาธารณะสุข ด้านการเกษตรและสหกรณ์และผู้ปกครอง ชุมชน
    2. โครงการสามารถขยายผลสู่ชุมชน โรงเรียนศูนย์กลางในการพัฒนาสุขภาพอนามัยชุมชน
    3. นักเรียนมีความสุข มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่สมบูรณ์
    4. โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
    5. ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ ชาวบ้านร่วมสอนนักเรียน

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. สร้างความเข้าใจโครงการเด็กไทยแก้มใส

    วันที่ 27 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.จัดทำหนังสือเชิญผู้ปกครอง  เข้าประชุม 2. ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ผู้ปกครองเกิดความตระหนักและให้ความสำคัญกับโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนบ้านเปือยนาสูง 2. คณะครูให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมเป็นอย่างดี

     

    218 218

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อสร้างความตระหนักและภารกิจหน้าที่เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชนและหน่วยงานสนับสนุนเด็กไทยแก้มใส 8 องค์ประกอบ
    ตัวชี้วัด : ชุนชนและหน่วยงาน มีความตระหนักและตื่นตัวในการดำเนินกิจกรรมและมีส่วนร่วมในโครงการเด็กไทยแก้มใส ร้อยละ 70

     

    2 เพื่อส่งเสริมปัจจัยในการผลิตทางด้านการเกษตรท้ังในและนอกโรงเรียน
    ตัวชี้วัด : นักเรียนมีส่วนร่วมในการปลูกพืชผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์เลี้ยงอย่างน้อย 1 อย่าง ทั้งในโรงเรียนและที่บ้าน

     

    3 เพื่อให้ชุมชน ผู้ปกครอง บุคลากรในโรงเรียน นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดบริการอาหารและโภชนาการ รวมทั้ง การนำผลผลิตทางการเกษตร ผ่านระบบสหกรณ์ เข้าสู้โครงการอาหารกลางวัน
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ70 มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดบริการอาหารและโภชนาการ รวมทั้ง การนำผลผลิตทางการเกษตร ผ่านระบบสหกรณ์ เข้าสู้โครงการอาหารกลางวัน และสามารถนำมาประะยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างความตระหนักและภารกิจหน้าที่เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชนและหน่วยงานสนับสนุนเด็กไทยแก้มใส 8 องค์ประกอบ (2) เพื่อส่งเสริมปัจจัยในการผลิตทางด้านการเกษตรท้ังในและนอกโรงเรียน (3) เพื่อให้ชุมชน ผู้ปกครอง บุคลากรในโรงเรียน นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดบริการอาหารและโภชนาการ รวมทั้ง การนำผลผลิตทางการเกษตร ผ่านระบบสหกรณ์ เข้าสู้โครงการอาหารกลางวัน

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โรงเรียนบ้านเปือยนาสูง จังหวัด ศรีสะเกษ

    รหัสโครงการ ศรร.1323-080

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายสุริยนต์ จันทร์แจ่ม )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด