ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านเปือยนาสูง
สังกัด อปท.
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 120,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 120,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุริยนต์ จันทร์แจ่ม
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นางนภาจรี ศรีจันทร์
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นางอัจฉราแสงสกุล
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นางภัทริน บุญเสริม
ที่ปรึกษาโครงการ 1 นายศุภกฤต ยืนยาว
ที่ปรึกษาโครงการ 2 นายธีระสิทธฺ์อุตมะ
ที่ปรึกษาโครงการ 3 นางสำรองพาโยพัด
ผู้ประสานงานภาค นายธนา เวชากุล
หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียน บ้านเปือยนาสูงสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งในปีที่ 1 ได้ดำเนินการดังต่อไปนี้ ๑. เกษตรในโรงเรียน ได้จัดการเรียนรู้เกษตรในโรงเรียนพร้อมทั้งฝึกให้นักเรียนมีความรู้ ทักษะ ได้ฝึกปฏิบัติเรียนรู้จากการลงมือทำ ด้านการเกษตร เพื่อนำผลผลิตไปสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันส่งผลให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย ดังนี้ (๑) การปลูกพืช ได้ ปลูกกล้วย ผักสวนครัว ได้แก่ บวบ ฟักชะอม ตะไคร้ พริกมะเขือ
(๒) การเลี้ยงสัตว์ ได้เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่การเลี้ยงปลาดุก
๒. กิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน โรงเรียนได้จัดกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียน โดยเชิญนักวิชาการมาให้ความรู้และเป็นผู้ให้คำปรึกษาในการดำเนินการ ในรอบปีที่ผ่านมาๆ
๓. จัดบริการอาหารกลางวัน โรงเรียนมีการจัดทำรายการอาหารหมุนเวียนรายเดือน มีการปรุง ประกอบอาหารถูกหลักโภชนาการ สุขาภิบาลและอาหารปลอดภัย นักเรียนได้รับประทานอาหารในปริมาณและสัดส่วนของมาตรฐานโภชนาการ (ใช้ Thai School Lunch Program) ๔. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการและสมรรถภาพทางกายนักเรียนโรงเรียนได้ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงนักเรียนเปรียบเทียบเกณฑ์มาตรฐาน ๕.การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน ได้ฝึกนักเรียนในการปฏิบัติตามสุขบัญญัติโดยให้นักเรียนได้แปรงฟันหลังอาหาร
๖.การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โรงเรียนได้พัฒนามาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนโดยเน้นเรื่องความสะอาด ร่มรื่น สวยงาม มีการคัดแยกขยะ การดำเนินการมาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในโรงเรียน ๗. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน โรงเรียนให้บริการสุขภาพนักเรียนโดยร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะดอบ ตรวจสุขภาพนักเรียนตามปฏิทินที่โรงพยาบาลกำหนด
๘. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย โรงเรียนได้จัดการเรียนรู้ตามแผนคู่มือครูที่โครงการเด็กไทยแก้มใสกำหนด

(สรุปผลการดำเนินงาน ของโครงการฯ ปีที่ 1 พร้อมสถานการณ์ด้านอาหารและโภชนาการของเด็กนักเรียน ก่อน-หลัง เข้าร่วมโครงการ และกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จที่เห็นผลผลิต ผลลัพธ์ หรือนวัตกรรม อย่างเป็นรูปธรรม ตามข้อมูลในใบสมัครส่วนที่3)

กรอบแนวคิด

กรอบแนวคิดหลักการดำเนินงานตามรอยพระยุคลบาทฯ (Conceptual Framework)

อธิบายกรอบแนวคิดหลักของโรงเรียนที่จะประยุกต์ใช้ดังนี้
ดังนั้น โรงเรียนบ้านเปือยนาสูงสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษจึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่ 1 โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน ตามผลที่คาดหวังของโครงการ ดังนี้ ๑. การบริหารโครงการ (๑) ประกาศนโยบายการดำเนินงานโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการโรงเรียน บ้านเปือยนาสูง เพื่อสร้างความตระหนักให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดความตระหนักในการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยดำเนินการดังนี้ (๒) จัดประชุมครูเพื่อรับทราบโครงการและร่วมวางแผน กำหนดกิจกรรม มอบหมายงาน ตลอดจนการเกลี่ยงบประมาณให้ตรงตามงวดที่จัดสรรจัดทำเครื่องมือสำหรับประเมินผล
(๓)ประชุมผู้ปกครอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายผลโครงการและการมีส่วนร่วมสนับสนุน โดยจัดทำข้อตกลง MOU กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุน (๔) จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขยายเครือข่ายไปสู่โรงเรียนที่ดำเนินการโครงการเด็กไทยแก้มใสและโรงเรียนอื่นๆ ๒. การเกษตรในโรงเรียน ใช้พื้นที่ของโรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้เกษตรในโรงเรียน นำผลผลิตทางการเกษตรสนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน ได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมถ่ายทอดความรู้สู่การปฏิบัติของครูนักเรียนโดยกำหนดแนวทางดำเนินการดังนี้ (๑) จัดทำแผนปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ให้ตรงตามฤดูกาล ตลอดปี โดยเตรียมดิน สถานที่ปลูกพืช ตามบริบทของโรงเรียน
(๒) นำนักเรียนไปแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรที่ส่งเสริมสุขภาพ (๒) ปลูกพืชตามแผนปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ถอดบทเรียนเพื่อการเรียนรู้บูรณาการ เพื่อสร้างองค์ความรู้และทักษะวิชาชีพ (๔) นำผลผลิตจำหน่ายโครงการอาหารกลางวัน ๓.สหกรณ์นักเรียน
(๑) ทำ MOU กับสำนักงานสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อพัฒนาระบบสหกรณ์นักเรียน ดูแลกิจกรรมลดหวาน มัน เค็ม ปลอดน้ำอัดลมเพื่อสุขภาพของนักเรียน
(๒) ส่งเสริมให้นักเรียนได้เป็นสมาชิกและดำเนินการบริหารสหกรณ์ (๓) ใช้สหกรณ์นักเรียนขับเคลื่อน การบริการอาหารและกิจกรรมอื่นๆเป็นการฝึกทักษะด้านเศรษฐกิจและปลูกฝังวิถีชีวิตการทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ ๔. การจัดบริการอาหาร
(๑) ให้ความรู้นักเรียนในการเลือกบริโภคอาหาร (๒) พัฒนามาตรฐานสุขาภิบาลสำหรับโรงอาหาร (๓) อบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากร - โปรแกรม Thai School Lunch - ระบบเฝ้าระวังโภชนาการ ๕. การติดตามภาวะโภชนาการสมรรถภาพทางกายนักเรียน (๑) จัดทำระบบสารสนเทศภาวะโภชนาการนักเรียน (๒) ทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียน ๖.การพัฒนาสุขนิสัยและส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน (๑) สร้างเครือข่ายผู้ปกครองร่วมใจพัฒนาสุขนิสัยนักเรียน (๒) จัดกิจกรรมรณรงค์เด็กไทยไร้เหา ๗. การพัฒนาอนามัย สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน (๑) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพเรื่องสุขาภิบาล (๒) จัดกิจกรรมรณรงค์เยาวชนร่วมใจ ห่วงใยสิ่งแวดล้อม
(๓) สร้างจิตอาสานักเรียนร่วมรักษาความสะอาดบริเวณ อาคารเรียนอาคารประกอบ ๘. จัดบริการสุขภาพนักเรียน (๑) หนูน้อยฟันดี อบรมนักเรียนทุกคนให้แปรงฟันที่ถูกต้องและความรู้ในการดูแลรักษาฟัน (๒) อบรมนักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพเพื่อเป็นพี่เลี้ยงนักเรียนในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ (๓)ตรวจฟัน ฉันทำได้ อบรมนักเรียนให้สามารถตรวจฟันได้ด้วยตนเอง
(๔) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้น (๕) จัดห้องพยาบาลเอกเทศ ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้สุขภาพ (๖) ตรวจสุขภาพนักเรียน ๑๐ ท่า ๙. จัดการเรียนรู้ ด้านเกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย (๑) จัดการเรียนด้านเกษตร จัดการเรียนรู้การเกษตร เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ทักษะ เป็นผู้ผลิตการเกษตรสนับสนุนอาหารกลางวัน ทั้งการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ (๒) จัดการเรียนรู้โภชนาการสมวัย เด็กไทยแก้มใส ๕ เรื่อง ได้แก่ - ธงโภชนาการ - ผักผลไม้ - ลดหวาน มัน เค็ม - โรคอ้วน - ทันตสุขภาพ (๓) จัดการเรียนรู้สหกรณ์นักเรียน (๔) จัดกิจกรรมถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โครงการเด็กไทยแก้มใส

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 286
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 27
ผู้ปกครอง 221
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 534534
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 15
อสม. 40
ชุมชน 50
ผู้นำศาสนา 3
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 6
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 10
อื่น ๆ 0
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 124
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนสนับสนุนการดำเนินงาน โดยเฉพาะหน่วยงานด้านสาธารณะสุข ด้านการเกษตรและสหกรณ์และผู้ปกครอง ชุมชน
  2. โครงการสามารถขยายผลสู่ชุมชน โรงเรียนศูนย์กลางในการพัฒนาสุขภาพอนามัยชุมชน
  3. นักเรียนมีความสุข มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่สมบูรณ์
  4. โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
  5. ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ ชาวบ้านร่วมสอนนักเรียน
เป้าหมายภาวะโภชนาการ
  1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินโครงการ แบบพึ่งพาตนเอง แสวงหาความร่วมมือจากผู้ปกครองในการดำเนินการต่อไป
  2. จัดกิจกรรมตามโครงการฝึกให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจนเกิดเป็นวิถีชีวิต เรียนรู้โดยลงมือปฏิบัติ
  3. นำรูปแบบกิจกรรมโครงการเด็กไทยแก้มใสไปบูรณาการกับโครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ สนองนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ
  4. กระตุ้นให้ครูจัดการเรียนที่เน้นวิชาชีวิต ซึ่งเป็นพื้นฐานการอยู่ร่วมกับคนอื่น
  5. พัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้เด็กไทยแก้มใส ขยายเครือข่ายสู่โรงเรียนอื่นๆ
ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล

การขยายผลการดำเนินงานโครงการและชุมชน ที่จะใช้ประโยชน์จากผลของโครงการ

  1. ขยายโครงการรองรับการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร
  2. ร่วมกับชุมจัดแหล่งเรียนรู้สถานประกอบการ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ที่หลากหลาย
  3. เผยแพร่โครงการเสนอ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
  4. ส่งเสริมให้นักเรียนมีจิตอาสาบริการสุขภาพชุมชน
พื้นที่ตั้งโรงเรียน 229 หมุที่2 บ้านเปือยใหญ่ ตำบลตะดอบ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
ละติจูด-ลองจิจูด 15.024017765897,104.43739637733place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 14 ต.ค. 2559 2 พ.ค. 2559 14 ต.ค. 2559 48,000.00
2 15 ต.ค. 2559 28 ก.พ. 2560 66,000.00
3 1 มี.ค. 2560 30 เม.ย. 2560 6,000.00
รวมงบประมาณ 120,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนักและภารกิจหน้าที่เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชนและหน่วยงานสนับสนุนเด็กไทยแก้มใส 8 องค์ประกอบ

ชุนชนและหน่วยงาน มีความตระหนักและตื่นตัวในการดำเนินกิจกรรมและมีส่วนร่วมในโครงการเด็กไทยแก้มใส ร้อยละ 70

2 เพื่อส่งเสริมปัจจัยในการผลิตทางด้านการเกษตรท้ังในและนอกโรงเรียน

นักเรียนมีส่วนร่วมในการปลูกพืชผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์เลี้ยงอย่างน้อย 1 อย่าง ทั้งในโรงเรียนและที่บ้าน

3 เพื่อให้ชุมชน ผู้ปกครอง บุคลากรในโรงเรียน นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดบริการอาหารและโภชนาการ รวมทั้ง การนำผลผลิตทางการเกษตร ผ่านระบบสหกรณ์ เข้าสู้โครงการอาหารกลางวัน

ร้อยละ70 มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดบริการอาหารและโภชนาการ รวมทั้ง การนำผลผลิตทางการเกษตร ผ่านระบบสหกรณ์ เข้าสู้โครงการอาหารกลางวัน และสามารถนำมาประะยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมหลัก

ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 59มิ.ย. 59ก.ค. 59ส.ค. 59ก.ย. 59ต.ค. 59พ.ย. 59ธ.ค. 59ม.ค. 60ก.พ. 60มี.ค. 60เม.ย. 60
1 แผนพัฒนาบุคลากร 32,810.00                         more_vert
2 แผนพัฒนาการเกษตร สหกรณ์ อาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 63,890.00                         more_vert
3 แผนการบูรณาการการเรียนการสอน 23,300.00                         more_vert
รวม 120,000.00

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
27 พ.ค. 59 สร้างความเข้าใจโครงการเด็กไทยแก้มใส 218 14,730.00 7,300.00 more_vert
20 มิ.ย. 59 การเลี้ยงปลาในกระชัง 100 11,960.00 - more_vert
27 มิ.ย. 59 การเรียนรู้วิธีการเลี้ยงดู เก็บเห็ดนางฟ้า 60 5,600.00 - more_vert
1 ต.ค. 59 อบรมพัฒนาบุคลากรโปรแกรม Thai School Lunch 100 7,520.00 - more_vert
1 พ.ย. 59-28 ก.พ. 60 การปลูกพืชสวนครัว 98 3,560.00 - more_vert
รวม 218 43,370.00 1 7,300.00

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2559 14:24 น.