ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนห้วยซวกคกเลาใต้
สังกัด สพป เลย เขต 1
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 100,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิววรรณ ทิมเขียว
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นายอานัฐ ก้อนแพง
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นางสาวสุภัคษร สุวรรณธาดา
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นางสาวสุรีฉาย สวัสดิรักษ์
ที่ปรึกษาโครงการ 1 นายสมชาย คำพิมพ์
ที่ปรึกษาโครงการ 2 นายกัญญา ภิญโย
ที่ปรึกษาโครงการ 3 นางดนตรี ศรีบุตร
ผู้ประสานงานภาค นายธนา เวชากุล
หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณะสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนห้วยซวกคกเลาใต้จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งในปีที่ 1 ได้ดำเนินการดังต่อไปนี้ สรุปผลการดำเนินงาน ของโครงการฯ ปีที่ 1 พร้อมสถานการณ์ด้านอาหารและโภชนาการของเด็กนักเรียน ก่อน-หลัง เข้าร่วมโครงการ และกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จที่เห็นผลผลิต ผลลัพธ์ หรือนวัตกรรม อย่างเป็นรูปธรรม
สถานการณ์ปัญหาการบริโภคอาหารและโภชนาการภายในโรงเรียนจากการสำรวจฝ่ายอนามัยโรงเรียน

ปีการศึกษา 2557 นักเรียนชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน180คน มีปัญหาน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์30คน คิดเป็นร้อยละ 16.95 น้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ 20 คน คิดเป็นร้อยละ 11.30แยกระดับชั้นอนุบาล 1-2 มีปัญหาน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์12คนร้อยละ 29.27 น้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ 3คน ร้อยละ 7.32 รวม 15 คน คิดเป็นร้อยละ 36.59 มีเด็กไม่กินผักผลไม้เลย1คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6จำนวน 58 คน มีปัญหาน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์11 คน คิดเป็นร้อยละ 18.97 น้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์6 คน คิดเป็นร้อยละ 10.34 รวม 17 คน ร้อยละ 29.31ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 จำนวน 38 คน มีปัญหาน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์1คนร้อยละ 2.63 น้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ 8คน ร้อยละ 21.05 รวม 9 คน คิดเป็นร้อยละ 23.68มีเด็กกินผักผลไม้ ไม่ถึง 4 ซ้อนโต๊ะในมื้อเช้า 180 คน ร้อยละ 100
ปีการศึกษา 2558นักเรียนชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน177 คน มีปัญหาน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์6คน คิดเป็นร้อยละ 3.38 น้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ 8 คน คิดเป็นร้อยละ 4.51แยกระดับชั้นอนุบาล 1-ประถมศึกษา6 มีปัญหาส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์21คนร้อยละ 11.36ชั้นอนุบาล1-ประถมศึกษา6 มีปัญหาส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์8คนร้อยละ 5.93มีเด็กไม่กินผักผลไม้เลย1คน ร้อยละ 0.56 นักเรียนไม่รับประทานอาหารเช้า0 คนคิดเป็นร้อยละ 0 คิดทั้งโรงเรียน ภาวะเตี้ย จำนวน21 คนร้อยละ 11.36 ผอม 6 คน ร้อยละ 3.38
ภาวะอ้วนปี 2557จำนวน 14 คน ร้อยละ 7.87 ปี 2558เหลือ8คนร้อยละ 4.49 ตารางที่ 1 เปรียบเทียบสถานการณ์ทุพโภชนาการของเด็กนักเรียน ระดับชั้น ปี 2557 ปี 2558 ผอม อ้วน ผอม อ้วน ระดับชั้นอนุบาล 1-2 6.67 1.67 0.00 2.25 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 6.11 3.33 2.25 1.12 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 4.44 0.56 1.12 1.12 รวม 16.95 11.30 3.38 4.51

Best Practice การบริหารจัดการอาหารในโรงเรียน (40 เมนูทองโดยกลุ่มแม่บ้านอาสา) 1. สร้างความเข้าใจเรื่องอาหารและโภชนาการระหว่างครู แม่ครัว แกนนำนักเรียน และผู้ปกครอง 2. ปริมาณวัตถุดิบอาหาร ราคาอาหาร ปริมาณพลังงานและสารอาหารเหมาะสมตามวัย 3. จัดทำทะเบียนวัตถุดิบอาหารที่สอดคล้องกับผลผลิตเกษตรปลอดภัยในชุมชนและครัวเรือนตามฤดูกาล สร้างเศรษฐกิจชุมชนและความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน
4. จัดซื้อวัตถุดิบอาหารตามรายการ และปริมาณที่กำหนด โดยมีแกนนำชุมชน/ผู้ปกครองร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจรับและตรวจสอบคุณภาพอาหารทุกวัน ปรุง ประกอบอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ สุขาภิบาลอาหาร และอาหารปลอดภัย แม่ครัวมาจากแม่บ้านอาสาไม่มีกำไรทำด้วยความรักลูก : ได้รับการอบรมด้านการจัดการอาหารและโภชนาการ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพคกเลาใต้และโรงพยาบาลเชียงคานทุกปี
6. ตักอาหารให้เด็กมีสัดส่วนและปริมาณที่เพียงพอตามคำแนะนำในธงโภชนาการ และใช้อุปกรณ์การบรรจุอาหารที่ถูกหลักสุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัย
7. บูรณาการและสอดแทรกความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสู่หลักสูตรการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียน เพื่อส่งเสริมความรู้ ทักษะ และปรับพฤติกรรมการกินของเด็ก 8. ประเมินผลคุณภาพอาหารที่เชื่อมโยงกับข้อมูลพฤติกรรมการกินภาวะโภชนาการ และสุขภาพของเด็ก อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยชุมชนมีส่วนร่วม และนำผลการประเมินสื่อสารสู่สังคม และนำผลการประเมินมาพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

กรอบแนวคิด

กรอบแนวคิดการดำเนินงาน(Conceptual Framework)ในการดำเนินงานสู่การเป็นโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส จึงได้กำหนดกิจกรรมต่างๆขึ้นได้แก่ กิจกรรมพัฒนาโภชนาการ ,กิจกรรมเกษตรในโรงเรียน ,กิจกรรมส่งเสริมวิชาชีพ ในชุมชน ครอบครัว ,กิจกรรมอาหารกลางวัน กิจกรรมสุขนิสัย ทำความสะอาดในโรงเรียน กิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียน และการบรูณาการเกษตร สุขภาพ และโภชนาการในโรงเรียน โดยใช้กระบวนการส่งเสริมให้ความรู้ และสร้างวัฒนธรรมที่ถูกต้องในการรับประทานอาหาร โดยพัฒนาอาคารสถานที่และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยน้อมนำแนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ ซึ่งผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆตามโครงการจะสามารถพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ มีค่านิยมที่ถูกต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้ที่บ้านนักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ และสุดท้ายโรงเรียนสามารถจัดกิจกรรมตามโครงการนี้ได้อย่างยั่งยืน

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 178
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 16
ผู้ปกครอง 300
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 494494
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 0
อสม. 0
ชุมชน 0
ผู้นำศาสนา 20
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 1
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 8
อื่น ๆ 0
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 29
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • นักเรียนได้รับประทานผักผลไม้ที่ปลอดภัยและหลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวันที่เหมาะสมตามวัยโดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch
  • นักเรียนได้เรียนรู้การสหกรณ์นักเรียนได้
  • นักเรียนได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ และถูกหลัดโภชนาการ ร้อยละ 100
  • นักเรียนอ้วนลดน้อยลง
  • นักเรียนปลอดทุพโภชนาการ ร้อยละ 100
  • นักเรียนสามารถปลูกผักปลอดสารพิษ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
เป้าหมายภาวะโภชนาการ
  • อัตรานัำหนัก ส่วนสูง ของนักเรียนได้ตามสัดส่วนน้ำหนัก โดยมี
    • ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกิน 7 %
    • ภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน 7 %
    • ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ไม่เกิน 7 %
ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล
  1. เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จ จะมีการดำเนินการต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร
    โรงเรียนต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเนื่องจากนักเรียนได้รับผลกระทบด้านโภชนาการทำให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนด้านสุขภาพ แข็งแรงสมบูรณ์ ทำให้นักเรียนมีผลการเรียนสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ชุมชน นักเรียน องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความเป็นเจ้าของโรงเรียนร่วมกัน ใช้ขบวนการบริหารงานโครงการด้วยระบบ (PDCA) อย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงหลักสูตรของโรงเรียนโดยเพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของกระทรวงศึกษาธิการ
  2. ระบุวิธีการขยายผลจากการดำเนินโครงการ และชุมชน หรือผู้อื่นจะใช้ประโยชน์จากผลของโครงการนี้อย่างไร สร้างความตระหนักให้ชุมชนในการเลี้ยงทารกและเด็กก่อนวัยเรียนให้มีความรู้ด้านสุขภาพ โภชนาการ ขยายผล ในกลุ่มคุณภาพเชียงคาน14โรงเรียนและรายงานผลการดำเนินงานในวาระการประชุมผู้บริหารเมื่อมีโอกาสหรือ มีเวทีสำหรับจัดนิทรรศการ นำนักเรียนไปนำเสนอผลงานเช่นงานแข่งขันทางวิชาการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนงานโครงงานคุณธรรมงานสภานักเรียนฯลฯ นอกจากนี้ยังขยายผลไปยังเครือข่ายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 1 เวทีระดับภูมิภาคและระดับประเทศต่อไป
  3. ขยายผลสู่ชุมชน เพื่อเจริญรอยตามพระยุคคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามมกุฎราชกุมารีโดยการน้อมนำรูปแบบที่ดี ด้านการจัดการอาหารโภชนาการและสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรในโครงการพระราชดำริฯ มาปฏิบัติและพัฒนาสู่โรงเรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ในตำบลบุฮม จำนวน 4 หมู่บ้าน
  4. เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชนและโรงเรียนเครือข่ายด้านพัฒนาทักษะชีวิตทั้งในและนอกห้องเรียน โดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้างในชุมชน
พื้นที่ตั้งโรงเรียน 105 หมู่3 ตำบลบุฮม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
ละติจูด-ลองจิจูด 18.003234139914,101.75693530337place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 40,000.00
2 1 ต.ค. 2559 28 ก.พ. 2560 1 ต.ค. 2559 30 เม.ย. 2560 55,000.00
3 1 มี.ค. 2560 30 เม.ย. 2560 5,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีวัสถุดิบในการจัดการอาหารกลางวันของโรงเรียน
  • นำผลผลิตที่ได้จากการเกษตรมาใช้ในอาหารกลางวันร้อยละ 80
2 เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาสุขภาวะ และโภชนาการของเด็กและเยาวชน
  • นักเรียนเจริญเติบโตสมวัยโดยมี
    ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกิน 7%
    ภาวะผอม ไม่เกิน 7%
    ภาวะเตี้ย ไม่เกิน 7%
  • มีการใช้โปรแกรม Thai School Lunch ออกเมนูอาหาร
3 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนเพิ่มขึ้น
  • เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ในตำบลบุฮม จำนวน 4 หมู่บ้าน
  • นำผลผลิตในชุมชนมาใช้ในการประกอบอาหาร
  • ผู้ปกครองโดยจิตอาสามาประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียน
4 เพื่อสร้างการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะเด็กและเยาวชน
  1. เด็กมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินผักและผลไม้เพิ่มขึ้น เฉลี่ยประมาณ 40-100 กรัม ในมื้ออาหารเย็น และอาหารว่าง (ติตตามผลโดยครูและผู้ปกครอง)
  2. นักเรียนประมาณ 80% มีพฤติกรรมสุขภาวะที่ดี ได้แก่ การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร มีการแปรงฟันหลังทานอาหาร รวมทั้งแปรงฟันก่อนเข้านอน และมีการคัดแยกขยะก่อนทิ้งลงถัง
  3. ทางโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมออกกำลังกาย ก่อนเลิกเรียน (โดยเน้นที่เด็กมีภาวะอ้วนเป็นพิเศษ)
  4. นักเรียนประมาณ 80 % ของจำนวนเด็กในโรงเรียน ให้ความร่วมมือทำกิจกรรมศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมหลัก

ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 59มิ.ย. 59ก.ค. 59ส.ค. 59ก.ย. 59ต.ค. 59พ.ย. 59ธ.ค. 59ม.ค. 60ก.พ. 60มี.ค. 60เม.ย. 60
1 บูรณาการ ด้านการเกษตร สหกรณ์ และการจัดการอาหารกลางวัน 56,100.00                         more_vert
2 พัฒนาศักยภาพ บุคลากร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง 43,900.00                         more_vert
รวม 100,000.00

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
4 ส.ค. 59 การเลี้ยงกบในบ่อลอย 342 10,000.00 10,260.00 more_vert
8 ส.ค. 59 การปลูกผักปลอดสารพิษ ครั้งที่ 1 342 19,800.00 4,500.00 more_vert
9 ส.ค. 59 ไปแหล่งเรียนรู้จังหวัดหนองบัวลำภู 61 21,500.00 21,500.00 more_vert
15 ส.ค. 59 ปลูกมะนาว 342 5,500.00 4,040.00 more_vert
18 พ.ย. 59-20 มี.ค. 60 การเพาะเห็ดนางฟ้า 342 10,000.00 10,000.00 more_vert
22 ธ.ค. 59-31 มี.ค. 60 การปลูกพืชสมุนไพร 123 10,800.00 10,800.00 more_vert
8 ก.พ. 60 ปลูกผักปลอดสารพิษ ครั้งที่ 2 192 0.00 5,000.00 more_vert
7 มี.ค. 60 กิจกรรมอบรมแม่ครัวอนามัยหัวใจรักเด็ก 45 9,000.00 9,000.00 more_vert
13 มี.ค. 60 ปลูกผักปลอดสารพิษ ครั้งที่ 3 292 0.00 5,000.00 more_vert
14 มี.ค. 60 การพัฒนาศักยภาพ บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครอง โรงเรียนในตำบลบุฮม 130 13,400.00 20,200.00 more_vert
20 มี.ค. 60 ถอนเงินเปิดบัญชีธนาคารพร้อมดอกเบี้ย 1 0.00 529.90 more_vert
รวม 584 100,000.00 11 100,829.90

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2559 14:12 น.