แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โรงเรียนรัฐประชาวิทยาคาร

ชุมชน 130 หมู่ 7 ตำบลดงกลาง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด

รหัสโครงการ ศรร.1312-053 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-อ.7

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2559 ถึง 30 เมษายน 2560

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน พฤษภาคม 2559 ถึงเดือน กันยายน 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมผู้ปกครอง นักเรียน

วันที่ 19 พฤษภาคม 2559 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

แม่ครัว  ผู้ปกครอง  นักเรียน  ครูและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดเมนูอาหารด้วยโปรแกรม  Thai  school lunch เข้าใจในเรื่องสุขภาพของนักรียน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรอำเภอจตุรพักตรพิมาน  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน สมาชิกสภาจังหวัดร้อยเอ็ด  ผู้ปกครอง  นักเรียน เข้าใจนโยบายโครงการศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใส และผู้ปกครอง นักเรียนมีความยินดีที่โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการ และยินดีที่จะให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนในทุกๆเรื่อง  หน่วยงานต่างๆที่เข้าร่วมรับฟังประกาศนโยบายมีความยินดี ชื่นชมกับกิจกรรมที่โรงเรียนได้จัด ผลที่เกิดขึ้นหลังจากรับฟังการชี้แจงประกาศนโยบาย - ผู้ปกครองให้การสนับสนุนจัดทำกองทุนข้าวเปลือก  โดยมีความเห็นว่า โรงเรียนเป็นโรงเรียนขยายโอกาส มีงบประมาณน้อย เพราะงบประมาณสนับสนุนอาหารกลางวันได้จากระดับ อนุบาล 1 ถึง ป.6 นักเรียนจาก ม.1 - ม.3 ไม่มีงบประมาณอาหารกลางวันให้ ถ้าจะจัดเมนูอาหารอย่างมีคุณภาพตามโปรแกรม TSL ต้องมีงบประมาณเพิ่ม ทางผู้ปกครองก็เลยจัดตั้งโครงการกองทุนข้าวเปลือกให้กับทางโรงเรียน - นักเรียนและผู้ปกครอง ปลูกผักเพิ่มเพื่อนำมาจัดทำเมนูอาหารกลางวันโรงเรียน - หลังจากที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพตนเองจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน  ผู้ปกครอง นักเรียน มีความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น - ตัวแทนสมาชิกสภาจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ให้การสนับสนุนโดยแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาดูแลกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมผู้ปกครองนักเรียนผู้นำหมู่บ้าน คณะกรรมการสถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือองค์การบริหารส่วนจังหวัด โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมานสถานีตำรวจภูธรอำเภอจตุรพักตรพิมาน เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานโครงการศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใสซึ่งมีแนวทางการให้ความรู้ด้านการเกษตรในโรงเรียนสหกรณ์นักเรียนการบริหารจัดการอาหารกลางวัน การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการและสมรรถภาพทางกายนักเรียนการพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมอนามัยนักเรียน การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะการจัดบริการสุขภาพอนามัย การจัดการเรียนรู้เกษตรสหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เสนอผู้บริหารขอดำเนินกิจกรรม
  • แจ้งผู้มีส่วนร่วม สนับสนุน ผู้ปกครองนักเรียน เพื่อเข้าร่วมประชุมประกาศนโยบาย
  • จัดเตรียมเอกสาร สถานที่
  • ผู้อำนวยการโรงเรียนนายศักดิ์อนันต์ ยาวไธสงผู้รับผิดชอบโครงการได้ดำเนินการประกาศนโยบาย โดยมีผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรอำเภอจตุรพักตรพิมานผู้อำนวยการโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน สมาชิกสภาจังหวัดร้อยเอ็ดผู้นำชุมชน ผู้ปกครองนักเรียนคณะครู เข้าร่วมรับฟัง
  • นางศิรมุขอันทะโคตรผู้ดูแลโครงการ ได้พูดคุยเรื่อง การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการและสมรรถภาพทางกายของนักเรียน การจัดบริการสุขภาพอนามัย
  • นางประจิตจันทะสิงห์ ผู้ดูแลระบบออนไลน์ ได้พูดคุยเรื่อง การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะการจัดการเรียนรู้ระบบสหกรณ์
  • นางเทียนสว่างมูลศรีผู้รับผิดชอบด้านการเงินและด้านการจัดบริการอาหารกลางวัน ได้พูดคุยเรื่อง การจัดบริการอาหารกลางวันตามโปรแกรม TSL
  • ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรอำเภอจตุรพักตรพิมานสมาชิกสภาจังหวัดร้อยเอ็ด พูดคุยกับผู้ปกครองคณะครู นักเรียน มีประเด็นในการพูดคุยเรื่องสถานการณ์ปัจจุบันของชุมชนการดูแลตัวเอง (สำหรับนักเรียน) การดูแลลูกหลาน(สำหรับผู้ปกครอง) ให้ห่างไกลจากสารเสพติดการช่วยกันรักษาสมบัติของส่วนรวม
  • ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน ได้พูดคุยเรื่อง สถานการณ์เรื่องโรคต่างๆในปัจจุบัน การดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัวการเลือกรับประทานที่มีผลต่อสุขภาพสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียน
  • สมาชิกสภาจังหวัดร้อยเอ็ด (นายคำสีสืบเมืองซ้าย) ได้พูดคุยเรื่องการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

 

74 185

2. หนูน้อยนักประชาสัมพันธ์ ครั้งที่ 1

วันที่ 1 มิถุนายน 2559 เวลา 17:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ผู้ปกครอง ครูและบุคลากร นักเรียนและชุมชนได้รับทราบแนวทางการดำเนินงานโครงการศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ชุมชนในเขตบริการทั้ง 4 หมู่บ้านได้รับข่าวสารความรู้ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการดำเนินโครงการศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใส
  • ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมกิจกรรมกองทุนข้าวเปลือกโดยการบริจาคข้าวเปลือกเพื่อจัดเมนูอาหารกลางวันตามโปรแกรม TSL มีการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ตามแผนการจัดเมนูอาหารกลางวัน เพื่อให้วัตถุดิบเพียงพอต่อการจัดเมนูอาหารกลางวันนักเรียนร่วมบริจาคหน่อกล้วยเพื่อมาปลูกตามกิจกรรมเพิ่มปริมาณการปลูกกล้วยน้ำว้า

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นักเรียนระดับชั้น ป.4 -ม.3  จำนวน 40 คน  รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามกิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใสสู่ชุมชน เป็นระยะ  โดยการอ่านเสียงตามสายในหมู่บ้านในเขตบริการทั้ง 4 หมู่บ้านทุกวันจันทร์  เพื่อฝึกให้นักเรียนกล้าแสดงออก  เพิ่มทักษะการอ่าน  ให้ความรู้ด้านโภชนาการ อาหารปลอดภัยและรายงานความก้าวหน้าของโครงการให้ชุมชนได้รับรู้อย่างทั่วถึง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ขออนุมัติผู้บริหารในการดำเนินกิจกรรม
  • ประสานงานกับผู้นำชุมชนในการใช้เครื่องขยายเสียงในการประชาสัมพันธ์
  • นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เป็นตัวแทนแต่ละหมู่บ้านรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามกิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใสสู่ชุมชน เป็นระยะ  โดยการอ่านเสียงตามสายในหมู่บ้านในเขตบริการทั้ง 4 หมู่บ้านทุกวันจันทร์  เพื่อฝึกให้นักเรียนกล้าแสดงออก  เพิ่มทักษะการอ่าน  ให้ความรู้ด้านโภชนาการ อาหารปลอดภัยและรายงานความก้าวหน้าของโครงการให้ชุมชนได้รับรู้อย่างทั่วถึง

 

50 124

3. จัดทำป้ายการจัดเมนูอาหารกลางวันที่มีคุณภาพตามโปรแกรม TSL

วันที่ 2 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

นักเรียนครู แม่ครัว ได้รับความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการจัดชุดสำรับอาหารกลางวันหมุนเวียน 5 วันทำการต่อสัปดาห์และความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานอาหารกลางวันโรงเรียนไทย สำหรับเด็กไทยแต่ละวัยใน 1 สัปดาห์ (ปริมาณและความถี่ของอาหารกลุ่มต่างๆ ที่จัดเสิร์ฟเป็นอาหารกลางวันและอาหารเสริมระหว่างมื้อ) สามารถนำไปใช้ในการจัดเมนูสำหรับตัวเองและคนในครอบครัว - ทางโรงเรียนได้จัดทำเมนูอาหารตามโปรแกรม TSLตามวัยของนักเรียน เช่นเมนูระดับอนุบาล วันที่ อาหาร
15/09/59 - ข้าวสวยขาว 90 กรัม 1.5 ทัพพี
- ฝรั่ง 1/2 ผลส่วนที่กินได้124 กรัม
- นมสด ยูเอชที รสจืด
- น้ำพริกกะปิ ปลาทูทอด (เผ็ดน้อย) ผักจิ้ม (ปลาทู 1/2 ตัวกลาง)
- ไก่ทอดกระเทียมพริกไทย 2 ช้อนกินข้าว
เมนูวัยประถม วันที่ อาหาร 15/09/59- ข้าวสวยขาว 150 กรัม2.5 ทัพพี - มะม่วงแก้วสุก 1/2 ผล ส่วนที่กินได้ 80 กรัม - นมสด ยูเอชที รสจืด 200 ml - ส้มตำไทย ผักสด - ไก่ทอดกระเทียม ผักเคียง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำป้ายไวนิลรูปแบบการจัดชุดสำรับอาหารกลางวันหมุนเวียน 5 วันทำการต่อสัปดาห์ (จันทร์-ศุกร์)  ขนาด  2  * 3  เมตร  จำนวน 1 แผ่น  และป้ายมาตรฐานอาหารกลางวันโรงเรียนไทย สำหรับเด็กไทยแต่ละวัยใน 1 สัปดาห์ (ปริมาณและความถี่ของอาหารกลุ่มต่างๆ ที่จัดเสิร์ฟเป็นอาหารกลางวันและอาหารเสริมระหว่างมื้อ) ขนาด 2  * 3  เมตร  จำนวน 1 แผ่น  ติดไว้ที่หน้าโรงอาหาร 

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดทำป้ายไวนิลรูปแบบการจัดชุดสำรับอาหารกลางวันหมุนเวียน 5 วันทำการต่อสัปดาห์ (จันทร์-ศุกร์)  ขนาด  2  * 3  เมตร  จำนวน 1 แผ่น
  • จัดทำป้ายมาตรฐานอาหารกลางวันโรงเรียนไทย สำหรับเด็กไทยแต่ละวัยใน 1 สัปดาห์ (ปริมาณและความถี่ของอาหารกลุ่มต่างๆ ที่จัดเสิร์ฟเป็นอาหารกลางวันและอาหารเสริมระหว่างมื้อ) ขนาด 2  * 3  เมตร  จำนวน 1 แผ่น  ติดไว้ที่หน้าโรงอาหาร 

 

226 226

4. ติดตามเยี่ยมบ้านนักเรียนที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการ

วันที่ 15 มิถุนายน 2559 เวลา 16:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผู้ปกครองและครูทราบปัญหาการที่นักเรียนมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ มาจากสาเหตุทางด้านกรรมพันธุ์การกินอาหารว่างบ่อยๆในช่วงวันหยุดและปิดภาคเรียนนักเรียนไม่ค่อยออกกำลังกาย พอกินอาหารว่างเสร็จก็นอนดูโทรทัศน์เล่นเกมส์
  • ผู้ปกครองได้รับความรู้ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์และต่ำกว่าเกณฑ์
  • ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการควบคุม ดูแลเมนูอาหารการออกกำลังกาย ให้กับนักเรียนอย่างใกล้ชิด
  • นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ติดตามเยี่ยมบ้านนักเรียนที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการติดต่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการรับประทานอาหารการออกกำลังกายของนักเรียนในปกครองร่วมกันหาสาเหตุที่ทำให้นักเรียนมีปัญหาด้านภาวะโภชนาการให้ความรู้กับผู้ปกครองเกี่ยวกับการเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายของนักเรียน พร้อมทั้งการจัดเมนูอาหารที่ได้สัดส่วนให้กับนักเรียน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เสนอขออนุมัติผู้บริหารในการกิจกรรม
  • ประสานงานถึง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงกลาง เพื่อขอความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม.ประจำหมู่บ้าน
  • แจ้งผู้ปกครองนักเรียน ที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์และต่ำกว่าเกณฑ์
  • คณะทำงานที่ประกอบด้วย ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูประจำชั้นอสม.ประจำหมู่บ้านเจ้าหน้าสาธารณสุขตำบลดงกลางออกเยี่ยมบ้านนักเรียนรายบุคคลตามหนังสือที่แจ้ง พร้อมทั้งให้ความรู้
  • ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านนักเรียนที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการ จำนวน30 คน และได้พูดคุยกับผู้ปกครองนักเรียน ทำให้ทราบปัญหาหลายๆ อย่าง เช่นนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ชอบดื่มน้ำอัดลมขนมกรุบกรอบในเวลาหลังเลิกเรียนและวันหยุดและไม่ชอบออกกำลังกาย แต่บางคนก็มีปัญหาด้านสุขภาพเรื่องโรคอ้วน ไปหาหมอรักษาแต่ก็ยังไม่ลดนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์มีสาเหตุมาจากการไม่ชอบดื่มนมไม่ค่อยกินข้าว
  • ผู้ปกครองเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอสม.ประจำหมู่บ้าน คณะครู ประชุม เพื่อหารือการแก้ปัญหาร่วมกัน
  • ติดตามผลการเปลี่ยนแปลงต่อไป

 

46 93

5. ร่างกายสมส่วน เชิญชวนมาออกกำลังกาย

วันที่ 29 มิถุนายน 2559 เวลา 16:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความกระตือรือล้นในการร่วมกิจกรรมทุกวันนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มีน้ำหนักลดลง สุขภาพดีขึ้นผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการทำกิจกรรมมาก ในบางวันก็จะมีผู้ปกครองมาร่วมทำกิจกรรมด้วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ตัวแทนจากชุมชนที่ประสบผลสำเร็จในด้านการควบคุมน้ำหนักมาเล่าประสบการณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจและให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการออกกำลังกาย  นักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ  น้ำหนักเกินเกณฑ์ ออกำลังกายช่วงหลังเลิกเรียน อย่างน้อยวันละ 45 นาที  ติดตามประเมินผลโดยการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงแล้วประเมินผลภาวะโภชนการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เสนอขออนุมัติผู้บริหารในการดำเนินกิจกรรม
  • แจ้งนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
  • จัดเตรียมอุปกรณ์ประกอบการออกกำลังกาย
  • ทำหนังสือประสานงานวิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้และผู้นำการออกกำลังกาย
  • ดำเนินการตามกิจกรรมโดยวิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาให้ความรู้กับนักเรียน และในช่วงหลังเลิกเรียนทุกๆวัน วิทยากรผู้นำการออกกำลังกายจะนำนักเรียนออกกำลังกายวันละ 45 นาที กิจกรรมที่ทำ คือ เล่นฮุลาฮูป และกระโดดเชือก และออกกำลังกายทั่วไป
  • ติดตาม ประเมินผลการทำกิจกรรม

 

55 45

6. อบรมครูและบุคลากรแม่ครัวตัวแทนผู้ปกครองแกนนำนักเรียน

วันที่ 30 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

แม่ครัว  ผู้ปกครอง  นักเรียน  ครูและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดเมนูอาหารด้วยโปรแกรม  Thai  school lunch เข้าใจในเรื่องสุขภาพของนักรียน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ครู ตัวแทนผู้ปกครอง  ตัวแทนนักเรียนมีความรู้เรื่องคุณภาพการจัดเมนูอาหารมากขึ้น นักเรียน แม่ครัวและผู้ปกครองบางส่วนสามารถจัดทำรายการอาหารตามโปรแกรม TSL ได้  และได้นำความรู้เกี่ยวกับการจัดเมนูอาหารไปเผยแพร่ให้กับเพื่อนบ้านเพื่อจัดเมนูอาหารเช้าให้กับนักเรียนได้รับประทานก่อนมาโรงเรียน 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดอบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับการจัดเมนูอาหารตามโปรแกรม Thai school lunch  การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนการ การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมอนามัยนักเรียน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ขออนุมัติผู้บริหารเพื่อจัดกิจกรรม
  • แจ้งตัวแทนผู้ปกครองผู้นำนักเรียนแม่ครัว คณะครู เข้ารับการอบรม
  • ดำเนินการอบรมการจัดทำเมนูอาหารตามโปรแกรม TSL
  • ประเมินผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรมอบรม

 

34 50

7. เพิ่มปริมาณการปลูกกล้วยน้ำหว้า

วันที่ 11 สิงหาคม 2559 เวลา 15:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

นักเรียนและผู้ปกครองได้เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่อย่างถูกวิธีและมีผลผลิตเพียงพอต่อการบริโภคของนักเรียน โรงเรียนมีปริมาณต้นกล้วยเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีผลผลิตเพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีต้นกล้วยน้ำหว้าในโรงเรียน จำนวน 40 ต้น โรงเรียนมีปริมาณต้นกล้วยเพิ่มมากขึ้นนักเรียนที่ปลูกต้นกล้วยรับผิดชอบดูแลต้นกล้วยให้เจริญเติบโตและมีผลผลิต
  • กล้วยน้ำหว้าสามารถนำมาเป็นวัตถุดิบของเมนูอาหารกลางวันได้ในภาคเรียนต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ปลูกต้นกล้วยเพิ่มเติมจากที่มีอยู่ จำนวน 40 ต้น เพื่อต้องการผลผลิตเพิ่มขึ้นให้เพียงพอต่อการจัดเมนูอาหารกลางวัน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เสนอผู้บริหารเพื่อขออนุมัติทำกิจกรรม
  • แจ้งนักเรียน ผู้ปกครอง ขอความร่วมมือในการบริจาคพันธุ์กล้วยน้ำว้า
  • นักเรียน ผู้ปกครอง ร่วมกิจกรรมวันแม่ที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น เสร็จแล้วก็ช่วยกันปลูกกล้วย

 

101 101

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 14 7                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 105,000.00 39,200.00                  
คุณภาพกิจกรรม 28 21                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. หนูน้อยนักประชาสัมพันธ์ครั้งที่ 2 ( 1 ต.ค. 2559 - 28 ก.พ. 2560 )
  2. ประชุมรายงานงวดที่ 1 เพื่อเบิกงวดที่ 2 ( 20 ต.ค. 2559 )
  3. เสริมคุณค่าอาหารด้วยไข่ ( 15 พ.ย. 2559 - 30 เม.ย. 2560 )
  4. ทางเลือกใหม่ มั่นใจ ปลอดภัย ไร้สารพิษ ( 21 พ.ย. 2559 - 30 พ.ย. 2559 )
  5. แจ้งข่าว เล่าสู่ ( 14 ก.พ. 2560 )

(................................)
นายศักดิ์อนันต์ ยาวไธสง
ผู้รับผิดชอบโครงการ