ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนบ้านหัวสะพาน


“ โรงเรียนบ้านหัวสะพาน ”

52 หมู่ที่ 13 ตำบลช่อผกา อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์

หัวหน้าโครงการ
นายสุรศักดิ์ ปิ่นเพชร

ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านหัวสะพาน

ที่อยู่ 52 หมู่ที่ 13 ตำบลช่อผกา อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัด บุรีรัมย์

รหัสโครงการ ศรร.1312-069 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-อ.23

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2016 ถึง 30 เมษายน 2017


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนบ้านหัวสะพาน จังหวัดบุรีรัมย์" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน 52 หมู่ที่ 13 ตำบลช่อผกา อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนบ้านหัวสะพาน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนบ้านหัวสะพาน



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนบ้านหัวสะพาน " ดำเนินการในพื้นที่ 52 หมู่ที่ 13 ตำบลช่อผกา อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ รหัสโครงการ ศรร.1312-069 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก โรงเรียนบ้านหัวสะพาน เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 234 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนบ้านหัวสะพานจึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อสร้างความตระหนักและภารกิจหน้าที่เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียนชุมชนและหน่วยงานสนับสนุนโครงการเด็กไทยแก้มใสทั้งระบบ
  2. 2. เพื่อส่งเสริมปัจจัยในการผลิตทางด้านการเกษตร เลี้ยงสัตว์ ประมง ทั้งในและนอกโรงเรียน
  3. 3. เพื่อปรับปรุงพัฒนาต่อยอดกิจกรรมสหกรณ์การผลิต สหกรณ์ร้านค้าดูแลเรื่องอาหารหวาน มัน เค็ม และปลอดน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ
  4. 4. เพื่อพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน
  5. 5. เพื่อพัฒนาต่อยอดการจัดอาหารกลางวันที่มีคุณภาพโดยใช้ โปรแกรม Thai School Lunch

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. โรงเรียนบ้านหัวสะพานเป็นโรงเรียนเรียนรู้ของชุมชนและเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส ถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ
    2. นักเรียนโรงเรียนบ้านหัวสะพานได้รับการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ครูเวรจัดซื้ออาหารสด ผัก ผลไม้ และเครื่องปรุงเพื่อใช้ประกอบอาหารให้นักเรียนในแต่ละวันให้ครบ 5 หมู่ ตามหลักโภชนาการการจัดรายการอาหารโดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch มาตรฐานอาหารกลางวันและอาหารว่างที่มีคุณภาพ

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.นักเรียนนำผลผลิตทางการเกษตรมาจำหน่ายให้สหกรณ์นักเรียน นักเรียนจัดทำบัญชีรับ-จ่าย เป็นปัจจุบัน 2.ครูเวรมีหน้าที่จัดซื้อผลผลิตทางการเกษตร เพื่อประกอบอาหารกลางวันในแต่ละวันให้กับนักเรียนตามเมนู Thai school luch 3.แม่ครัวประกอบอาหารและอาหารว่าง ให้กับนักเรียนอย่างถูกสุขลักษณะ อาหารสด สะอาด ตามหลักโภชนาการอาหาร 4.นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต ( Output ) 1. โรงเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดบริการอาหารกลางวันของโรงเรียนได้รับความรู้ เทคโนโลยี การจัดบริการอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาด ปลอดภัย 2. โรงเรียนได้พัฒนาการจัดอาหารได้มาตรฐานโภชนาการและสุขาภิบาลอาหาร
    ผลลัพธ์ ( Outcome ) 1. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการบริการอาหารของโรงเรียนนำมาตรฐานโภชนาการ ไปจำแนกอาหาร ขนม นม และเครื่องดื่มในโรงเรียนได้ถูกต้อง 2. นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารที่มีคุณตค่าทางโภชนาการ

     

    553 425

    2. นักเรียนแปรงฟันวันละ 2ครั้ง,ล้างมือ 7 ขั้นตอน,วิ่งวันละ 2 รอบสนาม/เดินวันละ 2,000 ก้าว จัดหาแปรงสีฟัน/ยาสีฟัน/แก้วน้ำ/น้ำยาล้างมือและสื่อวัสดุในการจัดกิจกรรมให้กับนักเรียน นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพ ฟัน จากบุคลากกรจาก โรงพยาบาลชำนิ และ รพ.สต.หนองตาเปล่ง

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ครูอนามัย/ครูประจำชั้น ประเมินสุขบัญญัติพฤติกรรมการกินของนักเรียนทุกระดับชั้นตั้งแต่ อ.1 - ม.3 ปีละ 2 ครั้ง 2.ครูจัดหาอุกปรณ์แปรงฟัน เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน แก้วน้ำ ให้ทุกคน 3.ครูจัดกิจกรรมการแปรงฟันหลังรับประทานอาหารทุกวัน 4.ครูจัดหาน้ำยาล้างมือ และให้นักเรียนล้างมือ 7 ขั้นตอนก่อนรับประทานอาหารกลางวันทุกวัน (ใช้เพลงเป็นสัญญาณแปรงฟันล้างมือ) 5.ครูจัดกิจกรรมวิ่งรอบสนามวันละ 2 รอบ/เดินวันละ 2,000 ก้าวทุกวัน 6.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข/ครูอนามัย ตรวจสุขภาพนักเรียนประจำปี ตรวจ ตา เหา ฟัน ความสะอาดของร่างกาย พบเด็กที่มีปัญหาสุขภาพส่งต่อรพ.สตหนองตาเปล่ง/โรงพยาบาลชำน ึ7.ครูอนามัย/ครูประจำชั้น/นักเรียนแกนนำ ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง นักเรียนทุกระดับชั้นตั้งแต่ อ.1-ม.3 เทอมละ 1 ครั้ง โดยใช้โปรแกรมคิดคำนวณของมหิดล 8.ครูพลศึกษาทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียนทุกชั้นเรียน รายปี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต (Output) 1.นักเรียนโรงเรียนบ้านหัวสะพาน จำนวน 215คน มีสุขนิสัยที่พึงประสงค์ 2. นักเรียนโรงเรียนบ้านหัวสะพาน จำนวน 215คน ได้รับการตรวจฟันจากบุคลากรสาธารณสุข ผลลัพธ์ (Outcome) 1.ร้อยละ80ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหัวสะพานมี สุขนิสัยที่พึงประสงค์ 2.นักเรียนจำนวน 215 คนปลอดเหา 3.นักเรียนจำนวน 215คนมีฟันพุแท้ลดลงไม่น้อยกว่า ร้อยละ 1

     

    236 234

    3. ประชุมครู ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    วันที่ 15 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ผู้รับผิดชอบทำหนังสือเชิญประชุมครู ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อสม.ประจำทุกหมู่บ้าน, เจ้าหน้าที่ รพ.สต.,ผู้นำนักเรียน รับทราบแนวทางปฏิบัติงานของโครงการเด็กทไยแก้มใส

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต(Output) 1.ครู ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงาน รับทราบแนวทางปฏิบัติงานของโครงการเด็กไทยแก้มใส ผลลัพธ์ (Outcome) 1.ครู ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงาน เข้าใจนโยบ่ายแนวทางปฏิบัติงานของโครงการเด็กไทยแก้มใส

     

    445 452

    4. จัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการเด็กไทยแก้มใส

    วันที่ 20 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ระดมความคิดเห็นจากชุมชน ผู้แทนผู้ปกครอง ครู ผู้แทนนักเรียน ผู้นำชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนหาข้อสรุปร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติงานร่วมกันตามกิจกรรมดังนี้ 1. แก้มใสใส่ใจลูกรัก 2. การสร้างเครือข่ายชุมชนแก้มใส 3. การจัดความรู้ด้านสุขภาพ/และการป้องกัน "ลดหวาน มัน เค็ม น้ำอัดลม" 4. การปลูกพืชผักสวนครัว/ชุมชนปลอดขยะ 5. จัดทำเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต(Output) 1.ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานร่วมจัดทำแผนปฏิบัติงาน
    2. หน่วยงานสนับสนุนได้จัดกิจกรรมร่วมกันและวางแนวทางการทำงานสู่ความสำเร็จด้วยกัน ผลลัพธ์ (Outcome) 1.ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงาน ร่วมจัดทำแผนปฏิบัติงาน และสร้างเครือข่ายชุมชนแก้มใส

     

    234 293

    5. จัดอบรมให้กับครู/บุคลากรในโรงเรียน ครูอนามัย/อาหารกลางวัน นักเรียนแกนนำ ตัวแทนผู้ปกครอง ในกลุ่มโรงเรียนอำเภอชำนิ 2 จำนวน 9 โรงเรียน

    วันที่ 9 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เชิญประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษา ตัวแทนผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและนักเรียนเข้าร่วมประชุมชี้แจงนโยบายและวางแผนจัดทำแผนปฎิบัติงานโครงการเด็กไทยแก้มใส 2.ดำเนินการจัดทำแผนปฎิบัติงานโครงการเด็กไทยแก้มใสให้ครอบคลุมทั้ง 8 องค์ประกอบ 3.จัดอบรมขยายเครือข่ายเด็กไทยแก้มใส(ความรู้สู่การปฎิบัติ) โดยเชิญครูและบุคลากรทางการศึกษา ครูอนามัย ครูอาหารกลางวัน  นักเรียนแกนนำ ผู้แทนผู้ปกครองในกลุ่มโรงเรียนอำเภอชำนิ 2 จำนวน 9 โรงเรียน เพื่อร่วมอบรมนำความรู้ไปใช้ในการจัดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ครู ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงาน จำนวน 92 คนเข้าใจนโยบายและร่วมจัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการเด็กไทยแก้มใส 2.ครู ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงาน จำนวน 92 คนเข้าใจนโยบายและร่วมจัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการเด็กไทยแก้มใส 3. ครู/บุคลากรในโรงเรียน ครูอนามัย/อาหารกลางวัน นักเรียนแกนนำ ตัวแทนผู้ปกครอง ในกลุ่มโรงเรียนอำเภอชำนิ 2 จำนวน 9 โรงเรียนจำนวน 131 คน รับรู้เข้าใจสามารถปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติโครงการเด็กไทยแก้มใส

     

    445 445

    6. ประชุมติดตามการจัดทำรายงานศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส งวดที่ 1

    วันที่ 25 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เรียนรู้ทำความเข้าใจที่ถูกต้องจากวิทยากรด้านการเงิน เจ้าหน้าการเงิน และเจ้าหน้าที่จัดทำรายงานระบบออนไลน์ 2.ลงมือปฎิบัติจริงในการจัดทำเอกสารการเงินและลงข้อมูลระบบออนไลน์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดทำรายงานศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส งวดที่ 1

     

    2 2

    7. เลี้ยงสุกรขุน

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.จัดซื้อพันธุ์สุกรจำนวน 10 ตัว และหัวอาหาร 2. เลี้ยงสุกรขุนและดูแลให้หัวอาหาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีเนื้อสุกรขุนเพื่อประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียน 

     

    234 0

    8. เลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน เพื่อประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียนและการแปรรูปอาหาร

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.จัดซื้อพันธุ์ปลาดุกและหัวอาหาร 2.เลี้ยงปลาดุกในบ่อดินและการดูแลให้อาหารปลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีปลาดุกเพื่อประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียน

     

    234 234

    9. สหกรณ์การผลิตและ สหกรณ์ร้านค้ารับซื้อพืชผักสวนครัวการเกษตรในโรงเรียนและจำหน่ายเป็นวัตถุดิบประกอบอาหารให้กับโครงการอาหารกลางวันนักเรียนและสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์โครงการเข้าค่ายเยาวชนต้นกล้าสหกรณ์

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดซื้อค่าวัสดุอุปกรณ์ร่วมสนับสนุนโครงการเข้าค่ายเยาวชนต้นกล้าสหกรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียนที่จัดตั้งและดำเนินการโดยนักเรียน
    2. มีระบบรับสมัครสมาชิกด้วยความสมัครใจเปิดกว้างสำหรับนักเรียนทุกคนและมีการเก็บค่าหุ้น
    3. มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีและมีรายงานการประชุม
    4. มีการจัดทำบัญชี รับ-จ่าย ประจ าวันบัญชีสินค้า บัญชีสมาชิกและมีสรุปบัญชีประจำปี 5.มีกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้า, กิจกรรมออมทรัพย์(ธนาคารโรงเรียน)และกิจกรรมสหกรณ์การผลิตที่ดำเนินการโดยนักเรียน
    5. นักเรียนเข้าใจหลักการการดำเนินงานของสหกรณ์ ฝึกความรอบคอบในการจัดทำบัญชีและฝึกอาชีพพื้นฐานการค้าขาย
    6. นักเรียนได้เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม

     

    200 200

    10. คืนดอกเบี้ยปิดโครงการ

    วันที่ 23 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนดอกเบี้ยปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คืนดอกเบี้ยปิดโครงการเรียบร้อย

     

    0 0

    11. ร่วมจัดนิทรรศการในงาน open house โรงเรียนบ้านหัวสะพาน เชิญโรงเรียนเครือข่ายมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สิ้นปีการศึกษา 2559

    วันที่ 28 มีนาคม 2017 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -จัดทำเอกสารแผ่นพับประชาสัมพันธ์ -จัดป้ายนิเทศแสดงผลงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.จัดนิทรรศการในงาน open house โรงเรียนบ้านหัวสะพานเชิญโรงเรียนเครือข่ายมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ้นปีการศึกษา 2559 2.โรงเรียนแสดงผลงานเผยแพร่โครงการให้เป็นที่รู้จักกับสาธารณะชนในกลุ่มโรงเรียนอำเภอชำนิ 2

     

    415 0

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. เพื่อสร้างความตระหนักและภารกิจหน้าที่เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียนชุมชนและหน่วยงานสนับสนุนโครงการเด็กไทยแก้มใสทั้งระบบ
    ตัวชี้วัด : 1. ครู ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงาน จำนวน 92 คนเข้าใจนโยบายและร่วมจัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการเด็กไทยแก้มใส 2. ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงาน จำนวน 92 คนร่วมจัดทำแผนปฏิบัติงาน และสร้างเครือข่ายชุมชนแก้มใส 3. ครู/บุคลากรในโรงเรียน ครูอนามัย/อาหารกลางวัน นักเรียนแกนนำ ตัวแทนผู้ปกครอง ในกลุ่มโรงเรียนอำเภอชำนิ 2 จำนวน 9 โรงเรียนจำนวน 131 คน รับรู้เข้าใจสามารถปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติโครงการเด็กไทยแก้มใส
    1. ครู ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงาน จำนวน 92 คนเข้าใจนโยบายและจัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการเด็กไทยแก้มใส
    2. ครู ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงาน จำนวน 92 คนเข้าใจนโยบายและจัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการเด็กไทยแก้มใส
    3. ครู/บุคลากรในโรงเรียน ครูอนามัย/อาหารกลางวัน นักเรียนแกนนำ ตัวแทนผู้ปกครอง ในกลุ่มโรงเรียนอำเภอชำนิ 2 จำนวน 9 โรงเรียนจำนวน 131 คน เข้าใจสามารถปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติโครงการเด็กไทยแก้มใส
    2 2. เพื่อส่งเสริมปัจจัยในการผลิตทางด้านการเกษตร เลี้ยงสัตว์ ประมง ทั้งในและนอกโรงเรียน
    ตัวชี้วัด : 1. นักเรียนจำนวน 215 คน ได้รับอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอต่อความต้องการ
    1. เพียงพอต่อความต้องการทุกคน
    3 3. เพื่อปรับปรุงพัฒนาต่อยอดกิจกรรมสหกรณ์การผลิต สหกรณ์ร้านค้าดูแลเรื่องอาหารหวาน มัน เค็ม และปลอดน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ
    ตัวชี้วัด : 1. มีกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้า, กิจกรรมออมทรัพย์(ธนาคารโรงเรียน)และกิจกรรมสหกรณ์การผลิตที่ดำเนินการโดยนักเรียน 2. นักเรียนเข้าใจหลักการการดำเนินงานของสหกรณ์ ฝึกความรอบคอบในการจัดทำบัญชี และฝึกอาชีพพื้นฐานการค้าขาย 3. นักเรียนได้เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม
    1. มีกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้า, กิจกรรมออมทรัพย์(ธนาคารโรงเรียน)และกิจกรรมสหกรณ์การผลิตที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียน
    2. นักเรียนเข้าใจหลักการการดำเนินงานของสหกรณ์ ในการจัดทำบัญชี และฝึกอาชีพพื้นฐานการค้าขาย
    3. นักเรียนได้เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม
    4 4. เพื่อพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ80ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหัวสะพานมี สุขนิสัยที่พึงประสงค์ 2. นักเรียนจำนวน 215 คนปลอดเหา 3. นักเรียนจำนวน 215คนมีฟันพุแท้ลดลงไม่น้อยกว่า ร้อยละ 1
    1. ร้อยละ80ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหัวสะพานมี สุขนิสัยที่พึงประสงค์
    2. นักเรียนจำนวน 215 คนปลอดเหา
    3. นักเรียนจำนวน 215คนมีฟันพุแท้ลดลงไม่น้อยกว่า ร้อยละ 1
    5 5. เพื่อพัฒนาต่อยอดการจัดอาหารกลางวันที่มีคุณภาพโดยใช้ โปรแกรม Thai School Lunch
    ตัวชี้วัด : 1. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการบริการอาหารของโรงเรียนนำมาตรฐานโภชนาการ ไปจำแนกอาหาร ขนม นม และเครื่องดื่มในโรงเรียนได้ถูกต้อง 2. นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารที่มีคุณตค่าทางโภชนาการ
    1. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการบริการอาหารของโรงเรียนนำมาตรฐานโภชนาการ ไปจำแนกอาหาร ขนม นม และเครื่องดื่มในโรงเรียนได้ถูกต้อง
    2. นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อสร้างความตระหนักและภารกิจหน้าที่เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียนชุมชนและหน่วยงานสนับสนุนโครงการเด็กไทยแก้มใสทั้งระบบ (2) 2. เพื่อส่งเสริมปัจจัยในการผลิตทางด้านการเกษตร เลี้ยงสัตว์ ประมง ทั้งในและนอกโรงเรียน (3) 3. เพื่อปรับปรุงพัฒนาต่อยอดกิจกรรมสหกรณ์การผลิต สหกรณ์ร้านค้าดูแลเรื่องอาหารหวาน มัน เค็ม และปลอดน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ (4) 4. เพื่อพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน (5) 5. เพื่อพัฒนาต่อยอดการจัดอาหารกลางวันที่มีคุณภาพโดยใช้ โปรแกรม Thai School Lunch

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

    ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนบ้านหัวสะพาน

    รหัสโครงการ ศรร.1312-069 รหัสสัญญา 58-00-2265-อ.23 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

    วันที่เริ่มประเมิน

    1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    (ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    1. การเกษตรในโรงเรียน

    1.รูปแบบการผลิตทางการเกษตรแบบผสมผสานสอดคล้องกบวิถีชีวิตกับชุมชน

    1.มีการกำหนดเป้าหมายและวางแผนการผลิตการเกษตรชัดเจนในด้านปริมาณการผลิต การดูแลบำรุงรักษาโดยเน้นการใช้วิธีทางธรรมชาติ มีการจดบันทึกผลจากการทำ ผลผลิตทางการเกษตรนำมาขายผ่านร้านสหกรณ์ในโรงเรียน สหกรณ์การผลิตให้แก่โรงครัวเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ส่งผลให้นักเรียนมีโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง

    จัดกิจกรรมดำเนินอย่างต่อเนื่องในปีต่อๆไป

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    2. สหกรณ์นักเรียน

    1.จัดตั้งสหกรณ์นักเรียน

    1.ดำเนินการโดยนักเรียนและมีนักเรียนเป็นสมาชิกมีครูที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์เพื่อช่วยเหลือให้คำแนะนำในการดำเนินงานตามขั้นตอนผลการจัดตั่งสหกรณ์นักเรียน นักเรียนมีความรู้และทักษะในการทำงานสหกรณ์ เช่น การทำงานร่วมกัน การประชุม การจดบันทึกบัญชี ค้าขาย รายรับ-รายจ่าย

    จัดกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นต่อไป

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

    1.กิจกรรมโครงการอาหารกลางวันนักเรียน

    การจัดบริการอาหารของนักเรียนโดยจะจัดบริการ 1 มื่้อ อาหารหลักคือ อาหารกลางวัน และอาหารเสริมนม 1 มื้อ (ว่างเช้าหรือบ่าย)เป็นการจัดบริการฟรีให้แก่เด็กทุกคนตั้งแต่ระดับปฐมวัยถึงระดับประถมศึกษา ผลจากการจัดบริการอาหารกลางวันนักเรียนมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาด ปลอดภัย บริโภคทุกวันตลอดปีการศึกษา

    จัดกิจกรรมอาหารกลางวันนักเรียนอย่างต่อเนื่องทุกวันโดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

    กิจกรรมการติดตามภาวะโภชนาการนักเรียน

    โดยครูอนามัยโรงเรียน ครูประจำชั้น และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ ด้วยวิธีการ สำรวจชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูงทุกชั้นเรียน ภาคเรียนละ 2 ครั้ง เพื่อติดตามและแก้ไขเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและเฝ้าระวังเป็นรายบุคคลอย่างต่อเนื่อง

    จัดระบบติดตามภาวะโภชนาการและแก้ไขเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง โดยร่วมมือกับผู้ปกครอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

    กิจกรรมกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ 7 ขั้นตอน

    จัดกิจกรรมพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียนเพื่อให้นักเรียนสร้างสุขนิสัยที่ดีด้วยตนเอง ได้แก่ การล้างมือ 7 ขั้นตอน การใช้ช้อนรับประทานอาหาร การใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารร่วมผู้อื่น การแปรงฟันหลังรับประทานอาหารรวมทั้งฝึกมารยาท ฝึกปฎิบัติในช่วงเวลารับประทานอาหารกลางวันก่อน-หลังรับประทานอาหาร ผลจากการจัดกิจกรรมเด็กมีสุขนิสัยที่ดีมากขึ้น

    จัดกิจกรรมพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียนทุกวันอย่างต่อเนื่อง

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

    อนามัยสิ่งแวดล้อมโรงเรียนสวยด้วยมือเรา

    โดยครูทำหน้าที่กำกับดูแล วิธีการดูแลทำความสะอาดที่ถูกต้อง มีการจัดแบ่งกลุ่มตามชั้นเรียนเป็นกลุ่มๆ เพื่อดูแลรักษาความสะอาด โรงครัว โรงอาหาร ห้องส้วม การเก็บขยะรอบอาคารเรียน การแยกประเภทขยะ ให้ถูกสุขลักษณะ จะใช้เวลาช่วงเช้าก่อนเข้าแถวเคารพธงชาติ จัดทำความสะอาดในห้องเรียนและภายในโรงเรียน ผลจากการปฎิบัติ ภาพสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนสะอาดถูกสุขลักษณะ น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน

    จัดกิจกรรมพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะทุกวันอย่างต่อเนื่อง

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

    การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

    โดยครูอนามัยโรงเรียนและเจ้าหน้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เจ้าหน้าที่ทันตแพทย์ โรงพยาลประจำอำเภอเป็นผู้ดำเนินการ เช่น การปฐมพยาบาลเบื่องต้น การจัดห้องพยาบาล การตรวจเหา การตรวจสุขภาพในช่องปาก(ฟัน)และการตรวจความสะอาดของร่างกายนักเรียนเพื่อช่วยเหลือแก้ไข การเจ็บป่วยในเบื้องต้นอย่างเหมาะสม เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายร้ายแรงจนถึงเสียชีวิต ผลจากการจัดกิจกรรมทำให้นักเรียนได้รับความช่วยเหลือแก้ไข

    จัดกิจกรรมบริการสุขภาพนักเรียนอย่างต่อเนื่องทุกเดือน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

    กิจกรรมเกษตรปลอดสารพิษ

    สหกรณ์นักเรียน สุขบัญญัติ โภชนบัญญัติ สุขาภิบาลอาหารและออกกำลังกาย จัดกิจกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมการเรียนรู้ ทุกชั้นเรียนโดยเน้นกิจกรรมด้านการเกษตรปลอดสารพิษ สหกรณ์นักเรียน โภชนาการและสุขภาพโดยบูรณาการจากภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการจัดทำ จัดซื้อ จัดหา และพัฒนาสื่อ กระบวนการ นวัตกรรม ในการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฎิบัติจริงทุกกิจกรรม

    จัดกิจกรรมบูรณาการการเรียนรู้ เกษตร สหกรณ์ โภชนาการ และสุขภาพทุกชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการลงมือปฎิบัติจริง

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    9. อื่น ๆ

     

     

     

    2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

    1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

    โรงพยาบาลชำนิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองตาเปล่ง องค์การบริหารส่วนตำบลช่อผกา โรงเรียนบ้านช่อผกา โรงเรียนบ้านบุ-หนองเทา โรงเรียนบ้านสำโรงโคกเพชร กองทุนหมู่บ้านหมู่ที่ 4,ุ6,11,13 ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4,ุ6,11,13 กองทุนพึ่งพาตนเองหมู่ที่ 4,ุ6,11,13 กองทุนสตรีหมู่ที่ 4,ุ6,11,13 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านหัวสะพาน

    2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

    โรงเรียนมีสภาพพื้นที่เหมาะกับการทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ประมง ส่งผลให้เด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อการเรียนรู้และฝึกทักษะอาชีพสามารถนำไปใช้ในการชีพได้

    3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

    • โรงเรียนได้กำหนดหลักการดำเนินงานตามรอยพระยุคบาทฯ เพื่อประยุกต์ใช้ตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โดยมีเกิดจากความร่วมมือจากชุมชน โรงเรียนเป็นฐานของการพัฒนาสู่ผู้เรียนลงมือปฎิบัติจริงตามกิจกรรมและมีองค์กรภาคีเครือข่ายให้การสนับสนุน ส่งผลให้ผู้เรียนมีโภชนาการสมวัย สุขภาพดี เรียนดี มีจิตสาธารณะและขยายผลสู่ชุมชนต่อไป

    4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

    1. เกษตรในโรงเรียน เด็กและครูร่วมกันเตรียมแปลงเกษตรขุดลอกบ่อเลี้ยงปลา สร้างโรงเรือนเลี้ยงสุกรเพื่อลงมือปฎิบัติกิจกรรมดังนี้

    - เลี้ยงสุกรขุน เลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ และบ่อดิน ปลูกถั่วงอก ปลูกมะละกอ เพาะเห็ดนางฟ้า ปลูกพื้ชตระกูลร้าน ปลูกกล้วย ปลูกผักเครื่องปรุง เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ ทำปุ๋ยหมัก โดยรับผิดชอบเป็นระดับชั้น ตั้งแต่เริ่มต้น การดูแล การเก็บผลผลิตและจำหน่ายผลผลิต จำหน่ายผ่านระบบสหกรณ์นักเรียน ส่งต่อไปยังอาหารกลางวันนักเรียน 2. สหกรณ์นักเรียนมี 3 รูปแบบ สหกรณ์การผลิต ,สหกรณ์การค้า, และโรงเรียนธนาคาร โดยมีนักเรียนดำเนินกิจกรรมเป็นคณะกรรมการในการทำงานอย่างเป็นระบบโดยมีครูคอยกำกับให้คำแนะนำปรึกษา 3. การจัดบริการอาหารในโรงเรียน ครูรับผิดชอบอาหารกลางวันร่วมกับเด็กนักเรียนในการกำหนดเมนูอาหารกลางวันร่วมกันวางแผนจัดเมนูอาหารกลางวัน ตามมาตรฐานโภชนาการอาหารหมุนเวียนจากผลผลิตที่ได้จากการเกษตรในโรงเรียน 4. การติดตามภาวะโภชนาการ สมรรถภาพทางกายนักเรียนและสุขภาพ โดยครูและผู้นำนักเรียนแต่ละระดับชั้น ชั่งน้ำหนัก- วัดส่วนสูง ทุกๆเดือน เพื่อทราบข้อมูลนำไปเฝ้าระวังและติดตามสิ้นปีการศึกษาเด็กได้ทดสอบ สมรรถภาพทางกายโดยครูพลศึกษา 5. การพัฒนาสุขนิสัยและส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน โดยนักเรียนได้แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง, ล้างมือ 7 ขั้นตอน, วิ่งวันละ 2 รอบสนาม, เดินวันละ 2,000 ก้าว/วัน เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี ที่แข็งแรง 6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะโดยเด็กและครูร่วมกันลงมือปฎิบัติกิจกรรมส้วมสุขสันต์, อย.น้อย ทำให้สิ่งแวดล้อมน่าดู น่าอยู่ น่าเรียน 7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียนโดยผู้นำนักเรียนและครู ตรวจความสะอาดของนักเรียน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง, ตรวจเหา 1 ครั้ง/เดือน , ชั่งน้ำหนัก 1 ครั้ง/เดือน ตลอดจนจัดหาจัดทำสื่อวัสดุอุปกรณ์มาใช้ในการจัดกิจกรรม 8. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านเกษตร โภชนาการ และสุขภาพโดยครูจัดประสบการณ์ให้กับนักเรียนในห้องเรียนทุกระดับชั้น เรื่องเกษตรปลอดสารพิษ , สหกรณ์ ,สุขาภิบาลอาหาร, สุขบัญญัติ, การออกกำลังกาย

    5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

    • ผู้ปกครองเข้าร่วมประชุมและส่งเสริมสนับสนุนให้ความร่วมือในเรื่องการเกษตรในโรงเรียน การเลี้ยงสัตว์ ประมง ในการจัดกิจกรรมของนักเรียน ตลอดจนสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผัก ฯลฯ และร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การปลูกข้าวในนาโรงเรียน
    • ชุมชนช่วยส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมของโรงเรียน ประชาสัมพันธ์ เฝ้าระวังดูแล สนับสนุนงบประมาณการจัดกิจกรรมเพื่อสุขภาพ สนับสนุนทรัพยากรตามความเหมาะสม
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

    1.จัดซื้อเพิ่มเติมจากชุมชน ผู้ปกครอง

    1. บันทึกการซื้อวัตถุดิบจากชุมชนโดยครูเวรอาหารกลางวันประจำวัน

    1.กำหนดวางแผนการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ประมงหมุนเวียน ระยะยาว เพื่อจะได้เพียงพอในการจัดทำเมนูอาหารกลางวันให้เพียงพอกับนักเรียนตามฤดูกาล

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

    1.เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ โดยนักเรียนรับผิดชอบ ดูแล ตั้งแต่เริ่มจนเก็บผลผลิต 2.เลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อ โดยนักเรียนรับผิดชอบ ดูแล ตั้งแต่เริ่มจนเก็บผลผลิต 3.เลี้ยงเป็ด โดยนักเรียนรับผิดชอบ ดูแล ตั้งแต่เริ่มจนเก็บผลผลิต 4.เลี้ยงหมู โดยนักเรียนรับผิดชอบ ดูแล ตั้งแต่เริ่มจนเก็บผลผลิต

    1.บันทึกการเลี้ยงและดูแล แต่ละวัน ,การให้อาหารสัตว์
    2.บันทึกการขายส่งต่อสหกรณ์นักเรียน อาหารกลางวันนักเรียน

    ดำเนินกิจกรรมทุกกิจกรรม มีการวางแผน มีระบบการทำงาน ติดตาม ประเมินผลการทำงานอย่างต่อเนื่องโดยคณะทำงานของนักเรียนที่รับผิดชอบเกษตรในโรงเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)
    1. นักเรียนเลี้ยงปลาดุกในบ่อปูนซีเมนต์และบ่อดิน โดยนักเรียนรับผิดชอบ ดูแล ตั้งแต่เริ่มจนเก็บผลผลิต
    2. นักเรียนเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์ โดยนักเรียนรับผิดชอบ ดูแล ตั้งแต่เริ่มจนเก็บผลผลิต

    1.บันทึกการเลี้ยงและดูแล แต่ละวัน ,การให้อาหารสัตว์
    2.บันทึกการขายส่งต่อสหกรณ์นักเรียน อาหารกลางวันนักเรียน

    ดำเนินกิจกรรมทุกกิจกรรม มีการวางแผน มีระบบการทำงาน ติดตาม ประเมินผลการทำงานอย่างต่อเนื่องโดยคณะทำงานของนักเรียนที่รับผิดชอบเกษตรในโรงเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

    เด็กนำห่อข้าวและอาหารมารับประทานอาหารเช้าที่โรงเรียน

    ห่อข้าวนักเรียน

    โรงเรียนจะดำเนินจัดทำอาหารเช้าให้กับนักเรียนที่ไม่ได้ทานข้าวมาจากบ้านนักเรียนที่ยากจน ขาดแคลนและนักเรียนที่ภาวะทุพโภชนาการ

    5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

    ได้จัดทำเมนูอาหารให้กับนักเรียน มีผัก ผลไม้ ทุกวันตามหลักโภชนาการอาหาร

    เมนู Thai school lunchตลอดปีการศึกษา

    จัดกิจกรรมการเกษตรในโรงเรียนเพื่อผลิตให้สอดคล้องกับเมนูThai school lunch ตลอดปีการศึกษา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    ได้จัดทำเมนูอาหารให้กับนักเรียน มีผัก ผลไม้ ทุกวันตามหลักโภชนาการอาหาร

    เมนู Thai school lunchตลอดปีการศึกษา

    จัดกิจกรรมการเกษตรในโรงเรียนเพื่อผลิตให้สอดคล้องกับเมนูThai school lunch ตลอดปีการศึกษา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    ได้จัดทำเมนูอาหารให้กับนักเรียน มีผัก ผลไม้ ทุกวันตามหลักโภชนาการอาหาร

    เมนู Thai school lunchตลอดปีการศึกษา

    จัดกิจกรรมการเกษตรในโรงเรียนเพื่อผลิตให้สอดคล้องกับเมนูThai school lunch ตลอดปีการศึกษา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

    1.ผู้ปกครองนักเรียนมาให้ความรู้ สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผักในการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ 2.เกษตรอำเภอชำนิ สนับสนุนต้นกล้าผักต่างๆ และมีการทำปุ๋ยอินทรีย์เพื่อนำมาใช้ในการดูแลรักษาให้ปลอดสารพิษ 3.ผลผลิตที่เหลือรับประทานในครอบครัวมาจำหน่ายให้กับอาหารกลางวันนักเรียนเป็นบางครั้ง

    1. บันทึกการซื้อวัตถุดิบจากชุมชนโดยครูเวรอาหารกลางวันประจำวัน
    2. บันทึกการให้การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชผักต่างๆ
    1. ให้ภาคีเครือข่ายเข้ามามีบทบาทหน้าที่ในการวางแผน จัดการมากยิ่งขึ้นอย่างหลากหลาย
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

    1.จัดทำเมนูอาหารแยกระดับชั้น อนุบาล ประถม มัธยม 2.จัดทำเมนู Thai school lunch ล่วงหน้า 1 เดือน

    โปรแกรมเมนู Thai school lunch

    ใช้โปรแกรมเมนู Thai school lunch ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเกษตรในโรงเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

    1.มีการชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูง ทุกเดือนเพื่อหาจัดทำฐานข้อมูลในการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการและสุขภาพ

    1.สมุดบันทึกการชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูง ทุกชั้น 2.ใช้โปรแกรมเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการสมรรถภาพนักเรียนและสุขภาพ ของมหาวิทยาลัยมหิดล

    ทำเป็นประจำ ต่อเนื่อง และยั่งยีน

    3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

    สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

    ภาวะ2558 1/12558 1/22558 2/12558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/12560 1/22560 2/22561 1/12561 1/22561 2/12561 2/22562 1/12562 1/2
    เตี้ย 4.90 4.90% 1.94 1.94% 1.51 1.51% 1.94 1.94% 2.53 2.53% 3.96 3.96% 2.48 2.48% 1.98 1.98% 9.35 9.35% 10.24 10.24% 6.10 6.10% 8.76 8.76% 5.29 5.29% 7.49 7.49% 5.73 5.73% 5.29 5.29% 4.31 4.31%
    เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 11.76 11.76% 7.77 7.77% 8.04 8.04% 7.77 7.77% 5.56 5.56% 6.44 6.44% 6.44 6.44% 7.92 7.92% 9.35 9.35% 10.24 10.24% 8.45 8.45% 8.76 8.76% 8.37 8.37% 8.37 8.37% 6.17 6.17% 7.94 7.94% 6.70 6.70%
    ผอม 10.89 10.89% 6.34 6.34% 7.04 7.04% 5.88 5.88% 7.04 7.04% 5.47 5.47% 7.46 7.46% 6.44 6.44% 13.02 13.02% 11.16 11.16% 7.51 7.51% 14.10 14.10% 13.72 13.72% 8.00 8.00% 8.81 8.81% 9.43 9.43% 14.29 14.29%
    ผอม+ค่อนข้างผอม 16.83 16.83% 14.15 14.15% 15.58 15.58% 13.73 13.73% 16.08 16.08% 13.93 13.93% 15.92 15.92% 16.34 16.34% 13.02 13.02% 15.35 15.35% 10.33 10.33% 14.10 14.10% 13.72 13.72% 8.00 8.00% 8.81 8.81% 16.98 16.98% 16.19 16.19%
    อ้วน 2.97 2.97% 4.39 4.39% 5.03 5.03% 3.92 3.92% 5.03 5.03% 4.98 4.98% 5.47 5.47% 4.46 4.46% 13.49 13.49% 6.05 6.05% 8.45 8.45% 0.00 0.00% 8.85 8.85% 10.00 10.00% 0.00 0.00% 8.02 8.02% 12.38 12.38%
    เริ่มอ้วน+อ้วน 7.43% 7.43% 7.32% 7.32% 9.05% 9.05% 6.37% 6.37% 8.54% 8.54% 7.46% 7.46% 8.96% 8.96% 7.92% 7.92% 13.49% 13.49% 9.30% 9.30% 13.62% 13.62% 13.22% 13.22% 11.95% 11.95% 10.00% 10.00% 10.57% 10.57% 16.04% 16.04% 17.14% 17.14%
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

    1.จัดสำรับอาหารให้สอดคล้องให้ตรงตามมาตรฐานอาหาร 2.ออกกำลังกายทุกวัน 3.ให้ความรู้ แนะนำ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ

    สถิติข้อมูลชั่งน้ำหนัก- วัดส่วนสูง ภาวะโภชนาการ ลดลง

    • ควบคุมพฤติกรรมการกินทั้งที่บ้านและโรงเรียน
    • พฤติกรรมการออกกำลังกาย
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

    1.จัดสำรับอาหารให้สอดคล้องให้ตรงตามมาตรฐานอาหาร 2.ออกกำลังกายทุกวัน 3.ให้ความรู้ แนะนำ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

    สถิติข้อมูลชั่งน้ำหนัก- วัดส่วนสูง ภาวะโภชนาการ ลดลง

    • ควบคุมพฤติกรรมการกินทั้งที่บ้านและโรงเรียน
    • พฤติกรรมการออกกำลังกาย
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

    1.จัดสำรับอาหารให้สอดคล้องให้ตรงตามมาตรฐานอาหาร 2.ออกกำลังกายทุกวัน 3.ให้ความรู้ แนะนำ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

    สถิติข้อมูลชั่งน้ำหนัก- วัดส่วนสูง ภาวะโภชนาการ ลดลง

    • ควบคุมพฤติกรรมการกินทั้งที่บ้านและโรงเรียน
    • พฤติกรรมการออกกำลังกาย
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

    1.อาหารเสริมนม 2.เสริมธาตุเหล็ก 3.อาหาร ผัก ผลไม้ ที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้น

    1.บันทึกการดื่มนม แต่ละชั้น 2.บันทึกการรับธาตุเหล็ก 1 ครั้ง/เดือน

    1.นำข้อมูลไปหาแนวทางแก้ไขต่อไปอย่างเป็นระบบหรือส่งต่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเข้ามาดูแล

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

    1.แนะนำผู้ปกครองเกี่ยวกับภาวะโภชนาการ 2.จัดเสริม นม อาหาร ที่บ้าน 3.กินอาหารให้ครบ 5 หมู่

    1.สมุดบันทึกสุขภาพ 2.สมุดบันทึกให้การช่วยเหลือและส่งต่อ

    1.นำข้อมูลไปหาแนวทางแก้ไขต่อไปอย่างเป็นระบบหรือส่งต่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเข้ามาดูแล

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

    โรงพยาบาลชำนิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองตาเปล่ง องค์การบริหารส่วนตำบลช่อผกา โรงเรียนบ้านช่อผกา โรงเรียนบ้านบุ-หนองเทา โรงเรียนบ้านสำโรงโคกเพชร กองทุนหมู่บ้านหมู่ที่ 4,ุ6,11,13 ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4,ุ6,11,13 กองทุนพึ่งพาตนเองหมู่ที่ 4,ุ6,11,13 กองทุนสตรีหมู่ที่ 4,ุ6,11,13 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านหัวสะพาน

    หมายเหตุ *

    • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    โรงเรียนบ้านหัวสะพาน จังหวัด บุรีรัมย์

    รหัสโครงการ ศรร.1312-069

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายสุรศักดิ์ ปิ่นเพชร )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด