ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนบ้านน้ำขวบ-โนนดู่(กองทัพบกอุปถัมภ์) | ||||||||||||||||||||||||||||||
สังกัด | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ศรีสะเกษ เขต 4 | ||||||||||||||||||||||||||||||
โรงเรียนเครือข่าย | view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย | ||||||||||||||||||||||||||||||
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) | 100,000.00 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||
งบประมาณสมทบจากราชการ | 0.00 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น | 0.00 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||
งบประมาณสมทบจากเอกชน | 0.00 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||
งบประมาณสมทบจากชุมชน | 0.00 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||
รวมงบประมาณทั้งหมด | 100,000.00 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายบรรจง นวลแย้ม | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 | นายตฤณ ทีงาม | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 | นางกรวิกา ศิริบูรณ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 | |||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ปรึกษาโครงการ 1 | ร้อยโทรัฐชานนท์ ประโยชน์มี | ||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ปรึกษาโครงการ 2 | นายณราวุฒิกุนรา | ||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ปรึกษาโครงการ 3 | นายไมตรียศวิจิตร | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ประสานงานภาค | นายธนา เวชากุล,นายสุชิน คเณสุข | ||||||||||||||||||||||||||||||
หลักการและเหตุผล | โรงเรียนบ้านน้ำขวบ-โนนดู่(กองทัพบกอุปถัมภ์) จึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่1โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน ตามผลที่คาดหวังของโครงการคือ1) เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำขวบ-โนนดู่(กองทัพบกอุปถัมภ์)มีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัยมีอารมณ์และสติปัญญาที่ดีขึ้น รวมทั้งมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง 2) โรงเรียนบ้านน้ำขวบ-โนนดู่(กองทัพบกอุปถัมภ์) มีรูปแบบลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพของเด็กนักเรียนลงได้ มีความรู้และแนวทางในการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็กนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ3)พ่อแม่ผู้ปกครองและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาเด็กนักเรียนในด้านต่างๆ ช่วยสร้างเสริมความอบอุ่นและความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชน ตลอดจนเกิดความยั่งยืนในการดำเนินงาน 4) ชุมชนมีความตระหนักรู้และตื่นตัวในการจัดการด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของเด็กนักเรียน |
||||||||||||||||||||||||||||||
กรอบแนวคิด | โรงเรียนบ้านน้ำขวบ-โนนดู่(กองทัพบกอุปถัมภ์) มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนให้เกิดความต่อเนื่องอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่โรงเรียนอื่นๆโดยดำเนินงานดังนี้
1. ผู้บริหารโรงเรียนประกาศนโยบาย ภารกิจ และตัวชี้วัด ในการพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้โรงเรียนเด็กไทยแก้มใส ในที่เปิดเผยแก่คณะครู บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน ทราบโดยทั่วกัน
2.โรงเรียนมีการพัฒนาต่อยอด การดำเนินกิจกรรมใน 8 องค์ประกอบตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีได้แก่
1) กิจกรรมการเกษตรในโรงเรียน
- มีการผลิตทางการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ การประมง โดยการมีส่วนร่วม ของนักเรียน ชุมชนและเครือข่าย
- มีการนำผลผลิตทางการเกษตร ปศุสัตว์และประมงไปใช้ในกิจกรรมอาหารกลางวัน
2) สหกรณ์นักเรียน
- มีกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนที่มีนักเรียนเป็นสมาชิก และดำเนินการโดยนักเรียน มีการรับซื้อผลผลิตจากกิจกรรมเกษตรในโรงเรียนเพื่อขายให้กิจกรรมอาหารกลางวัน
3) การจัดบริการอาหารกลางวัน
- มีรายการอาหารหมุนเวียนราย 1 เดือน ตามมาตรฐานโภชนาการ(ใช้ Thai School Lunch Program)
- ปรุง ประกอบอาหารถูกหลักโภชนาการ สุขาภิบาล และอาหารปลอดภัย
- นักเรียนได้รับประทานอาหารตามปริมาณและสัดส่วนของมาตรฐานโภชนาการในทุกมื้อ
- ร้านจำหน่ายอาหารว่างและเครื่องดื่มได้มาตรฐานโภชนาการ
4) การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการและสมรรถภาพทางกายนักเรียน
- มีรายงานเฝ้าระวังการเจริญเติบโตและสมรรถภาพทางกายของนักเรียนทุกคน เทอมละ 1 ครั้ง
5) การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน
- มีการบันทึกสุขภาพนักเรียนรายบุคคลและแบบประเมินพฤติกรรมสุขบัญญัติแห่งชาติ
- มีการฝึกปฏิบัติในช่วงเวลาการรับประทานอาหาร
6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
- โรงเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและมาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในโรงเรียน
7) การจัดบริการสุขภาพในโรงเรียน
- นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพเทอมละ 1 ครั้งทุกคน และได้รับการดูแลช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างเหมาะสม
- มีระบบการดูแลช่วยเหลือการเจ็บป่วยเบื้องต้นอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันอันตรายร้ายแรงจนถึงเสียชีวิต
8) การจัดการเรียนรู้: เกษตร โภชนาการและสุขภาพอนามัย
- มีแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการและกิจกรรมที่สอดคล้องกับโครงการเด็กไทยแก้มใส
- มีกิจกรรมเรียนรู้ด้านเกษตร สหกรณ์ โภชนาการและสุขภาพ ที่บูรณาการจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
- มีสื่อและนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย
3. มีคณะทำงานและการทำงานที่ชัดเจนประกอบด้วยครูทุกกลุ่มสาระ ร่วมจัดกระบวนการร่วมจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เชื่อมโยงเกษตร-อาหาร-โภชนาการ-สุขภาพ และจัดให้มีการพัฒนาทักษะชีวิต ทั้งในและนอกห้องเรียนโดยการมีส่วนร่วมจากผู้ปกครองและบุคลากรในชุมชน
4.มีระบบการตรวจสอบ คัดกรอง ด้านคุณภาพของอาหารหลัก ขนม นมโรงเรียน และเครื่องดื่มที่ให้บริการในโรงเรียน และบริเวณโรงเรียน
5.มีการจัดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาพฤติกรรมโภชนาการที่พึงประสงค์ ควบคู่กับการออกกำลังกายที่เหมาะสมตามวัย และการลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง
6.ผู้รับผิดชอบอาหารกลางวัน เข้ารับการอบรม และสามารถใช้โปรแกรม Thai School Lunchเพื่อจัดอาหารกลางวันให้เป็นไปตามข้อแนะนำได้
7.ส่งเสริมให้นักเรียนและผู้ปกครองจัดทำกิจกรรม เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน และนำไปประยุกต์ใช้ในครอบครัว |
||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
|
||||||||||||||||||||||||||||||
เป้าหมายภาวะโภชนาการ | นักเรียนเจริญเติบโตสมวัยโดยมี ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกิน 2.00 % ภาวะผอม ไม่เกิน 2.00 % ภาวะเตี้ย ไม่เกิน 2.00 % ดูส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ(กรณีที่ภาวะโภชนาการไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดให้ลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่า 0.5 ต่อปี) นักเรียนได้กินผัก – ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวัน เฉลี่ยผัก วันละประมาณ30 กรัมอนุบาล 3 ช้อน (30 กรัม) ประถม 6 ช้อน (60 กรัม)ผลไม้ (อนุบาล1/2 ส่วนประถม 1 ส่วน) ต่อมื้อต่อคน |
||||||||||||||||||||||||||||||
ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล | วิธีการขยายผลจากการดำเนินโครงการ และชุมชน หรือผู้อื่นจะใช้ประโยชน์จากผลของโครงการนี้คือ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
พื้นที่ตั้งโรงเรียน | หมู่ 2 ตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ | ||||||||||||||||||||||||||||||
ละติจูด-ลองจิจูด | 14.522158466356,104.69256162668place |
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อพัฒนา “การจัดการอาหาร โภชนาการและสุขภาพนักเรียนอย่างครบวงจรตามโครงการพระราชดำริ”เป็นโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใส 1.โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการสุขภาวะ |
||
2 | เพื่อส่งเสริม และพัฒนาการจัดการผลิตทางด้านการเกษตรทั้งในและนอกโรงเรียน 1.นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติงานด้านการเกษตรร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมด 2.มีการผลิตทางการเกษตรเพื่อส่งต่อโครงการอาหารกลางวันไม่ตำกว่าร้อยละ 30 ของผลผลิต ตลอดทั้งปี |
||
3 | เพื่อพัฒนาระบบการจัดการสุขภาวะ 1.นักเรียนทุกคนได้ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงและทดสอบสมรรถภาพทางกาย |
กิจกรรมหลัก
กิจกรรมหลัก
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | พ.ค. 59 | มิ.ย. 59 | ก.ค. 59 | ส.ค. 59 | ก.ย. 59 | ต.ค. 59 | พ.ย. 59 | ธ.ค. 59 | ม.ค. 60 | ก.พ. 60 | มี.ค. 60 | เม.ย. 60 | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การพัฒนาบุคลากร | 20,000.00 | more_vert |
||||||||||||
2 | การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ | 10,000.00 | more_vert |
||||||||||||
3 | พัฒนาระบบการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน | 50,000.00 | more_vert |
||||||||||||
4 | พัฒนาระบบดูแลสุขภาวะ | 0.00 | more_vert |
||||||||||||
5 | พัฒนาแหล่งเรียนรู้ | 20,000.00 | more_vert |
||||||||||||
6 | การบริหารจัดการ | 0.00 | more_vert |
||||||||||||
รวม | 100,000.00 |
กิจกรรมย่อย
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 พ.ค. 59-1 ก.พ. 60 | กิจกรรม 1 ครัว 1 สวนผักปลอดสารพิษ | 305 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
16 พ.ค. 59-1 ก.พ. 60 | กิจกรรมการเตรียมการดำเนินงานด้านการเกษตรด้วยระบบสหกรณ์ | 305 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
16 พ.ค. 59 | ประชุมประกาศนโยบาย และความร่วมมือ | 305 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
1-3 มิ.ย. 59 | การอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากร นักเรียนและชุมชน | 305 | 20,000.00 | ✔ | 20,000.00 | |
1 มิ.ย. 59-1 ก.พ. 60 | กิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายภายในโรงเรียน | 305 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
1 มิ.ย. 59-1 ก.พ. 60 | การฝึกปฏิบัติตนในช่วงเวลาการรับประทานอาหาร | 305 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
16 มิ.ย. 59-1 ก.พ. 60 | กิจกรรมฐานข้อมูลและสารสนเทศด้านการเกษตร | 305 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
20 มิ.ย. 59-1 ก.พ. 60 | การจัดบริการในห้องพยาบาล การให้บริการสุขภาพนักเรียน | 305 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
31 ส.ค. 59 | อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมอาชีพการเกษตร การปรับปรุงดินด้วยการปลูกพืชตระกูลถั่ว | 65 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
1 ก.ย. 59-1 ก.พ. 60 | กิจกรรมเฝ้าระวังสุขภาวะ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและทดสอบสมรรถภาพทางกายในนักเรียน | 305 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
20 ก.ย. 59 | การประชุมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสุขภาวะ | 25 | 5,000.00 | ✔ | 5,000.00 | |
1 พ.ย. 59-16 ก.ค. 60 | การจัดทำแผนการเรียนรู้ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ | 25 | 5,000.00 | ✔ | 5,000.00 | |
1-15 พ.ย. 59 | กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การดำเนินการพัฒนาและเพิ่มปริมาณการผลิตด้านการเกษตร | 414 | 50,000.00 | ✔ | 50,000.00 | |
1 ก.พ. 60 | การจัดนิทรรศการ และประมวลผลการจัดการโครงการตลอดปี | 305 | 20,000.00 | ✔ | 20,000.00 | |
23 มี.ค. 60 | คืนเงินเปิดบัญชีและดอกเบี้ยปิดบัญชีโครงการ | 0 | 0.00 | ✔ | 569.61 | |
รวม | 1,525 | 100,000.00 | 15 | 100,569.61 |
ไฟล์เอกสาร
โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2559 13:41 น.