แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านดอนข่า

ชุมชน หมู่ที่ 5 ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

รหัสโครงการ ศรร.1311-086 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-อ.40

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2559 ถึง 30 เมษายน 2560

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน พฤษภาคม 2559 ถึงเดือน กันยายน 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกาย

วันที่ 2 พฤษภาคม 2559 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมตามแผน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการดำเนินโครงการนักเรียนทุกคนได้รับการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง และทดสอบสมรรถภาพกายทั้ง 3 ด้านได้แก่การไหลเวียนโลหิตความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความอ่อนตัวมีการบันทึกข้อมูลน้ำหนักส่วนสูง และสมรรถภาพทางกายทั้ง 3 ด้านมีการแปลผลภาวะโภชนาการจากโปรแกรม Thai Growth และสมรรถภาพทางกายที่ถูกต้องตามเกณฑ์ชี้วัดเป็นปัจจุบัน ทำให้นักเรียนมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง โดยการสังเกตนักเรียนเป็นรายบุคคลและนำข้อมูลที่จัดกิจกรรมไปใช้ในการคำนวณ นักเรียนที่มีภาวะต่างๆ ดีขึ้นจะได้เข้ากับกลุ่มที่สมส่วน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-กำหนดวันจัดกิจกรรมสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง

-จัดกิจกรรมตามแผน ได้แก่ กิจกรรมแอโรบิก กิจกรรมฮูลาฮูพ

-กิจกรรมชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดรอบเอว

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ ช่วงเช้าก่อนทำกิจกรรมหน้าเสาธงทางโรงเรียนให้นักเรียนออกกำลังกายในสนาม BBL
  • ทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี จัดกิจกรรมโยคะให้แก่นักเรียน
  • จัดกิจกรรมแอโรบิก กิจกรรมฮูลาฮูพในทุกวันอังคารหลังเลิกเรียน
  • กิจกรรมชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดรอบเอว จัดกิจกรรมภาคเรียนละ 2 ครั้ง

 

82 82

2. ประชุมแต่งตั้งมอบหมายหน้าที่คณะทำงาน

วันที่ 28 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีผู้รับผิดชอบงานตามภาระหน้าที่ 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการจัดกิจกรรมทางโรงเรียน มีผู้รับผิดชอบงานตามภาระหน้าที่อย่างเป็นระบบ ได้แก่

1.1 การเกษตรในโรงเรียน ผู้รับผิดชอบ นายพันไลย ระงับภัย

1.2 สหกรณ์นักเรียน ผู้รับผิดชอบ นางสาวนพมณี ชูเชื้อ และนายประโยชน์ ดวงพล

1.3 การจัดบริการอาหารของโรงเรียน ผู้รับผิดชอบ นางประยงค์ ร่วมจิตร และนางสาวภัทรวดี บุญทอง

1.4 การติดตามภาวะโภชนาการ ผู้รับผิดชอบ นางอาภรณ์ จันทร์สว่าง และนางสาวภัทรวดี บุญทอง

1.5 การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน ผู้รับผิดชอบ นางอาภรณ์ จันทร์สว่าง และนางสาวปวินันท์ ปานทอง

1.6 การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ ผู้รับผิดชอบ นางวิชุดา ชัยชาญนางอาภรณ์ จันทร์สว่าง และนายพันไลย ระงับภัย

1.7 การจัดบริการสุขภาพ ผู้รับผิดชอบ นายธนาสันต์ จำนงค์ และนายประโยชน์ ดวงพล

1.8 การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย ผู้รับผิดชอบ นางประยงค์ ร่วมจิตร

1.9 ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รพ.สต. บ้านดอนข่าประมงอำเภอขุนหาญเกษตรอำเภอขุนหาญองค์การบริหารส่วนตำบลพรานสาธารณสุขอำเภอขุนหาญ และกศน. อำเภอขุนหาญ

1.10 ฝ่ายการเงิน-การบัญชี ผู้รับผิดชอบ นางสาวปวินันท์ ปานทอง

ทางโรงเรียนมีการจัดทำแผนกิจกรรมการพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนที่ครอบคลุมสุขนิสัยในด้านต่างๆ นักเรียนมีการปฏิบัติตามแผนกิจกรรมที่วางไว้ครอบคลุมทุกกิจกรรม ทำให้นักเรียนแกนนำสามารถจัดกิจกรรมพัฒนาสุขนิสัยมีการติดตามประเมินผลด้วยตนเอง และขยายผลให้นักเรียนทุกคนในโรงเรียน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. เชิญประชุม ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ
  2. กำหนดภาระงาน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบการทำงานตามโครงการ
  3. นัดหมาย กำหนด วางแผน กรอบการปฏิบัติงานจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้

3.1 ประชุม แต่งตั้งคณะกรรมการแกนนำในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา

3.2 กำหนดสาระการเรียนรู้

3.3 กำหนดสื่อ/นวัตกรรม

3.4 ออกคำสั่ง

3.5 ดำเนินงานจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
3.6 ประเมินสื่อ/นวัตกรรม

3.7 หาคุณภาพของสื่อ/นวัตกรรม

3.8 นำสื่อ/นวัตกรรมไปใช้จริงตามกิจกรรมที่จัดทำ

3.9 วัดผลประเมินผล

กิจกรรมที่ทำจริง

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

กิจกรรมที่ 1 ประชุมแต่งตั้งมอบหมายหน้าที่คณะทำงานซึ่งผู้ประชุม ประกอบไปด้วย แกนนำกลุ่ม ครู ผู้ปกครอง นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน
เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและอ.ส.ม หมู่บ้าน

ตามกำหนดการ ดังนี้

08.30-09.00น.ผู้เข้าร่วมประชุมเริ่มลงทะเบียน

09.00-09.30 น.ผู้อำนวยการโรงเรียนทำพิธีเปิดการประชุม ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการศูนย์ การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส

09.30-10. 30 น.กำหนดภาระงาน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ

10.30-11.45 น. แต่งตั้งคณะกรรมการแกนนำในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา

11.45-12.00 น.สรุปความรู้จากการประชุม


หมายเหตุ รับอาหารว่าง เวลา 10.00-10.45

 

82 161

3. อบรมให้ความรู้เรื่องอาหารที่ปลอดภัยไร้สารพิษ

วันที่ 11 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

นักเรียนและผู้ปกครองเข้า รับการอบรมได้รับความรู้ตาม หลักโภชนาการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • นักเรียนและผู้ปกครองเข้ารับการอบรมได้รับความรู้ตามหลักโภชนาการ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
  • นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ในเรื่อง โทษของการดื่มน้ำอัดลม ลูกอมและขนทกรุบกรอบ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดการการบริโภคอาหารที่บ้าน
  • ผู้เข้าร่วมรับการอบรมสามารถขยายผลให้แก่ชุมชนของตนเองและชุมชนใกล้เคียงเกี่ยวกับโทษของการดื่มน้ำอัดลม ลูกอมและขนมกรุบกรอบ และสามารถผลิตอาหารที่ไร้สารพิษไว้บริโภคในครอบครัวได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. อาหารถูกหลักโภชนาการ
  • กำหนดผู้เข้ารับการอบรม โดยมีผู้ปกครอง ครู นักเรียน

  • ผู้ให้ความรู้ ในเรื่องโทษของการดื่มน้ำอัดลม ลูกอมและขนมกรุบกรอบต่างๆ

  • กำหนดเรื่อง เนื้อหาความรู้ของการอบรม

  • ระยะเวลาในการอบรม

  • กิจกรรมการปฺฏิบัติร่วมกับการอบรมให้ความรู้ และ เดินรณรงค์ลดดื่มน้ำอัดลม รับประทานลูกอม และขนมกรุบกรอบ ติดป้ายนิเทศ แจกแผ่นพับ

  1. การเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัยไร้สารพิษ

  2. การผลิตอาหารปลอดภัยไร้สารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องอาหารที่ปลอดภัยไร้สารพิษ ซึ่งผู้ประชุม ประกอบไปด้วย แกนนำกลุ่ม ครู ผู้ปกครอง นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน

เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและอ.ส.ม หมู่บ้าน

ตามกำหนดการ ดังนี้

08.30-09.00น.ผู้เข้าร่วมประชุมเริ่มลงทะเบียน

09.00-09.30 น.ประธานในพิธี (นายสมบัติ ระงับภัย) ทำพิธีเปิดการประชุม

09.30-10. 30 น.นายธนาสันต์ จำนงค์ ให้ความรู้ เรื่อง โทษของการดื่มน้ำอัดลม ลูกอม ขนมกรุบกรอบ

10.30-12.00 น. กิจกรรมการปฺฏิบัติร่วมกับการอบรมให้ความรู้ การลดดื่มน้ำอัดลม รับประทานลูกอม และขนมกรุบกรอบ

11.30-12.30 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.30-15.30 น.นางอาภรณ์ จันทร์สว่าง ให้ความรู้ เรื่อง การเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัยไร้สารพิษ

15.30-16.00 น.สรุปความรู้จากการประชุม

16.00 น.พิธีปิด


หมายเหตุ รับอาหารว่าง เวลา 10.00-10.45

 

207 163

4. อบรมให้ความรู้เรื่อง อย. น้อย

วันที่ 23 กันยายน 2559 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • นักเรียนและผู้ปกครองได้รับความรู้เกี่ยวกับการหาสารปนเปื้อนในอาหาร โดยวิธีการต่างๆ จากการลงมือปฏิบัติสุ่มตรวจอาหารในโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนและในร้านค้าของหมู่บ้าน นอกจากนี้นักเรียน และร่วมกันรณรงค์ เรื่อง  อาหารปลอดภัยไร้สารพิษ การลดดื่มน้ำอัดลม รับประทานลูกอม และขนมกรุบกรอบติดป้ายนิเทศ แจกแผ่นพับให้แก่นักเรียนในโรงเรียนและหมู่บ้านอย่างทั่วถึง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผู้เข้าร่วมการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ สารปนเปื้อนในอาหาร โทษของสารต้องห้ามในเครื่องสำอาง ความรู้เรื่องยา โทษและพิษภัยของยาชุด ยาปฏิชีวนะที่จำหน่ายในร้านชำ วัตถุอันตราย ฉลากอาหาร ร่วมกันจัดทำป้ายและเดินรณรงค์การลดดื่มน้ำอัดลม รับประทานลูกอม
  • นักเรียนและผู้ปกครองสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ให้ครอบครัวของตนและบ้านใกล้เคียงมีความตระหนักถึงผลเสียที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีสารพิษ ได้เรียนรู้กรรมวิธีกาการควบคุมคุณภาพอาหารจากของจริง และยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิตเกิดความตระหนักและพัฒนาปรับปรุงสถานที่ของตน และจะพัฒนาศักยภาพของ อย.น้อย ให้สามารถตรวจประเมินโรงอาหารเพื่อพัฒนาโรงอาหารภายในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะและจำหน่ายอาหารที่มีความปลอดภัย เพื่อลดการเกิดโรคอาหารเป็นพิษภายในโรงเรียน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คัดเลือกนักเรียน ผู้ปกครอง แม่ครัว (ระบุจำนวน)           -  แกนนำกลุ่ม ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมจำนวน ๖๗ คน           -  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖  จำนวน ๓๑ คน ครู จำนวน ๓ คน           -  วิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนข่า จำนวน ๓ คน           -  แม่ครัวในโรงเรียน จำนวน ๑ คน

กิจกรรมที่ทำจริง

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เรื่อง อย. น้อย ซึ่งผู้ประชุม ประกอบไปด้วย แกนนำกลุ่ม ครู ผู้ปกครอง นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน

เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและอ.ส.ม หมู่บ้าน

ตามกำหนดการ ดังนี้

08.30-09.00น.ผู้เข้าร่วมประชุมเริ่มลงทะเบียน

09.00-09.30 น.ประธานในพิธี (นายสมบัติ ระงับภัย) ทำพิธีเปิดการประชุม

09.30-12.00 น.นายพิศิษฐ์ สุภาพ ให้ความรู้ เรื่อง สารปนเปื้อนในอาหาร

11.30-12.30 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.30-15.30 น.นายเลียง อุปมัย ให้ความรู้ เรื่อง -โทษของสารต้องห้ามในเครื่องสำอาง ความรู้เรื่องยา
โทษและพิษภัยของยาชุด ยาปฏิชีวนะที่จำหน่ายในร้านชำ วัตถุอันตราย ฉลากอาหาร

15.30-16.00 น.สรุปความรู้จากการประชุม

16.00 น.พิธีปิด

หมายเหตุ รับอาหารว่าง เวลา 10.00-10.45

 

105 75

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 13 4                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 80,000.00 26,549.00                  
คุณภาพกิจกรรม 16 16                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน
  1. งบประมาณไม่เพียงพอต่อการดำเนินกิจกรรม

2.ในการดำเนินการจัดบริการอาหารตามโปรแกรม Thai School Lunch ตามมาตรฐานโภชนาการ ปริมาณเนื้อสัตว์/ผัก มีปริมาณที่น้อย

  1. จากการดำเนินกิจกรรมงบไม่เพียงพอ เพราะทางโรงเรียนยังขาดการปรับปรุงซ่อมแซมสถานที่ในการเป็นแหล่งที่เอื้อต่อการเรียนรู้
  2. เนื่องจากทางโรงเรียนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน นักเรียนบางคนได้รับประทานเฉพาะอาหารเที่ยงในการจัดบริการอาหารตามโปรแกรม โปรแกรม Thai School Lunch ในปริมาณของเนื้อสัตว์หรือผัก ควรมีปริมาณเพิ่มขึ้น
  1. จัดทำโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การจัดการเรียนรู้เป็นไปอย่างยั่งยืน
  2. คำนวณสารอาหารในแต่ละวัน

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมจัดทำรายงานงวดที่ 1 ( 24 ต.ค. 2559 )
  2. ส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัย (การปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้และการเลี้ยงหมูหลุม) ( 21 พ.ย. 2559 - 20 ก.พ. 2560 )
  3. ส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัย (การเลี้ยงปลาดุก ) ( 22 พ.ย. 2559 - 20 ก.พ. 2560 )
  4. ส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัย (การเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นบ้าน ) ( 25 พ.ย. 2559 - 20 ก.พ. 2560 )
  5. การแปรรูปอาหารและการถนอมอาหาร ( 21 ธ.ค. 2559 - 24 ม.ค. 2560 )
  6. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนที่ร่วมโครงการ ( 10 ม.ค. 2560 - 28 ก.พ. 2560 )
  7. ประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ ( 28 ก.พ. 2560 )
  8. คืนดอกเบี้ย เพื่อปิดโครงการ ( 24 มี.ค. 2560 )

(................................)
นางวิชุดา ชัยชาญ
ผู้รับผิดชอบโครงการ