ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

โรงเรียนบ้านจอมพระ

กิจกรรมธนาคารขยะ7 มีนาคม 2560
7
มีนาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย มานะ เงางาม
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นตอนที่ 1 คณะทำงาน หน้าที่ของคณะทำงาน •    ผู้จัดการธนาคาร รับผิดชอบดำเนินงาน ในภาพรวมของธนาคาร •    เจ้าหน้าที่จดบันทึก รับ ผิดชอบการจดบันทึกรายละเอียด เกี่ยวกับสมาชิก ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล เลขที่ ประเภท และปริมาณวัสดุรีไซเคิล เพื่อส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ •    เจ้าหน้าที่คัดแยก รับผิดชอบการคัดแยกขยะ และชั่งน้ำหนัก เพื่อจัดเก็บในสถานที่เก็บ •    เจ้าหน้าที่คิดเงิน รับผิดชอบการเทียบกับราคาที่กำหนด และคิดจำนวนเงินของสินค้า ที่สมาชิกนำมาฝาก พร้อมทั้งรับผิดชอบการฝาก - ถอนเงินของสมาชิก

ขั้นตอนที่ 2 คณะทำงานมีการประชุม การสำรวจร้านรับซื้อของเก่าที่มีอยู่ในชุมชน ราคา ประเภทของขยะรีไซเคิลที่รับซื้อ - การประสานงานร้านรับซื้อของเก่า ให้เข้าร่วมโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล
- กำหนดระยะเวลาที่จะเข้ามารับซื้อ - การวางแผนกำหนดวัน เวลา เปิด ธนาคารขยะ

ขั้นตอนที่ 3 การจัดเตรียมสถานที่เก็บรวมรวบ

  • ยึดหลักง่ายๆ โดยสามารถเก็บรวบรวมขยะได้ ป้องกันฝน
  • มีการคัดแยกขยะอย่างชัดเจน
  • แบ่งเป็น 4 ช่อง สำหรับจัดเก็บ กระดาษ โลหะ อโลหะ และพลาสติก
  • มีการติดป้ายราคาของขยะที่รับซื้อ
  • กรณีไม่มีสถานที่จัดเก็บรวบรวม ก็สามารถใช้วิธีการซื้อตอนเช้า และให้ร้านของเก่ามารับซื้อตอนเย็นได้

ขั้นตอนที่ 4 การประชาสัมพันธ์ - การเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในโรงเรียน สามารถทำได้โดย - การประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ของโรงเรียน - การประชาสัมพันธ์ ช่วงหลังเข้าแถวเคารพธงชาติ - การจักบอร์ดนิทรรศการ - การเดินบอกในแต่ละห้องเรียน - การแทรกในกิจกรรมของแต่ละรายวิชา เช่น วิชาการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต สิ่งแวดล้อมศึกษา เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 5

การเปิดธนาคารขยะรีไซเคิล รับสมัครสมาชิกของธนาคาร โดยให้ผู้ที่สนใจกรอกรายละเอียดใบสมัคร - เจ้าหน้าที่ธนาคารให้เลขที่สมาชิก พร้อมสมุดคู่ฝาก โดยธนาคารจะเป็นผู้เก็บรวบรวมสมุดคู่ฝากไว้ สมาชิกสามารถขอดูได้ในวันที่ธนาคารเปิดทำการ - เจ้าหน้าที่ธนาคารลงรายละเอียด สมาชิกในทะเบียนลูกค้า - เมื่อสมาชิกนำขยะรีไซเคิลมาฝาก ที่ธนาคาร เจ้าหน้าที่จะทำการคัดแยกประเภทและช่างน้ำหนัก - คิดเป็นจำนวนเงิน โดยเทียบกับใบราคาที่ได้มาจากร้านรับซื้อของเก่า ลงบันทึกในใบนำฝาก - เจ้าหน้าที่บันทึกรายละเอียด เลขที่สมาชิก ประเภทขยะรีไซเคิล จำนวนเงิน ลงในเอกสารใบสรุปการนำฝาก - บันทึกลงในสมุดคู่ฝาก เพื่อเก็บเป็นหลักฐานการฝากถอนของสมาชิก - ถ้าสมาชิกต้องการถอนเงิน ให้เขียนรายละเอียด ใบถอนเงินแล้วให้กับเจ้าหน้าที่ - ภายหลังเปิดธนาคารเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่ต้องทำการรวบรวมรายรับ รายจ่าย และทะเบียนคุมเจ้าหนี้ของธนาคารในแต่ละวัน เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ การลงค่าใช้จ่าย การซื้อ ขายขยะรีไซเคิล ลงในสมุดเงินสด เพื่อสามารถตรวจสอบการขาดทุน กำไร - ควรมีการสรุปการดำเนินงาน ในแต่ละเดือน และแจ้งแก่สมาชิกของธนาคาร โดยการจัดบอร์ดนิทรรศการ บริเวณที่ทำการ

ขั้นตอนที่ 6 การติดตามประเมินผล - พิจารณาจากปริมาณขยะรีไซเคิลที่รวบรวมได้ - จำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรม - กำไรจากการซื้อขาย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต (Output) - นักเรียนมีการคัดแยกก่อนทิ้ง
- โรงเรียนมีวิธีกำจัดขยะได้ถูกวิธี - นักเรียนนำวิธีการคัดแยกขยะไปใช้ในชุมชน
ผลลัพธ์ (Outcome)
- ลดมลภาวะในโรงเรียน- นักเรียนเห็นคุณค่าของขยะ - โรงเรียน และชุมชนปลอดขยะ

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 549 คน จากที่ตั้งไว้ 549 คน
ประกอบด้วย