ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนบ้านจอมพระ |
สังกัด | ?? |
หน่วยงานต้นสังกัด | สพป.สุรินทร์ เขต 1 |
ที่อยู่โรงเรียน | 615 หมู่ที่ 4 ตำบลจอมพระ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ 32180 |
จำนวนนักเรียน | 650 คน |
ช่วงชั้น | อนุบาล,ประถม |
ผู้อำนวยการ | นายสมชาย จารุวงศ์ |
ครูผู้รับผิดชอบ | นางสาวกมลรัตน์ นามคำ |
-
-
-
-
ผลผลิต ( Output )
- ครัวโรงเรียนที่เป็นศูนย์เรียนรู้และโรงเรียนในเครือข่ายได้รับการเยี่ยมเพื่อพัฒนา จำนวน
ผลลัพธ์ (Outcome)
- ครัวโรงเรียนสามารถจัดเมนูอาหารกลางวันได้ตาม TSL
- มีแบบแผนการบริโภคอาหารที่พึงประสงค์ตามหลักโภชนาการและสุขนิสัยที่พึงปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร
-
Output
- จัดนิทรรศการแสดงผลงานในโรงเรียน
- จัดแหล่งเรียนรู้ย่อย ไว้ตามจุดต่างๆ ในโรงเรียน
- จัดแสดงผลงานเมื่อสิ้นปีการศึกษา
-โรงเรียนจัดทำเอกสารเผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มให้กับโรงเรียนในเครือข่าย
Outcome
- ผู้ปกครองและชุมชน ทราบถึงผลการดำเนินโครงการเด็กไทยแก้มใส
- ครู นักเรียนที่มาศึกษาดูงาน รับรู้ เข้าใจการปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติโครงการเด็กไทยแก้มใส
- โรงเรียนในเครือข่ายได้รับความรู้จากคู่มือการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใส
๑ แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินตนเอง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู เจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลหมู่บ้าน/ตำบล ผู้แทนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือตามความเหมาะสม
๒ คณะกรรมการประเมินมาตรฐาน และเลือกมาตรฐานที่อยู่ในระดับที่ต้องการปรับปรุงมาวิเคราะห์สภาพปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ไข
ผลผลิต (Output) -ปรับปรุงคุณภาพน้ำดื่มให้สะอาดและเพียงพอกับนักเรียน
ผลลัพธ์ (Outcome) - นักเรียนและบุคลากรมีน้ำดื่มสะอาดไว้บริโภค
- ได้มะนาวเพื่อประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียนและการแปรรูปอาหาร
- นักเรียนจัดทำการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตด้านการเกษตร และส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งสร้างนิสัยในการเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
- นักเรียนได้รับอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอต่อความต้องการ
- นักเรียนได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ฝึกทักษะอาชีพและส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งสร้างนิสัยในการเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
0
-
-
-
- กิจกรรมการปลูกผักสวนครัว,เลี้ยงไก่,เลี้ยงกบเลี้ยงปลาดุก ปลูกมะนาว,ปลูกกล้วย จัดทำแบบทดสอบความรู้ของนักเรียน
- จัดซื้อเมล็ดพันธุ์ผัก/ปุ๋ย/ดิน
- ดินผสม
- ปุ๋ยขี้วัว
- เมล็ดพันธุ์ผัก - ปุ๋ยยูเรีย - จัดโปรแกรมอาหารหมุนเวียนรายเดือนด้วยโปรแกรม Thai School Lunch โดยนักเรียนมีส่วนร่วมในการคิดรายการอาหาร
- จัดให้มีการปรุง ประกอบอาหารถูกหลักโภชนาการ สุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัยโดยมีการจัดซื้อวัตถุดิบจากสหกรณ์โรงเรียนและภายในท้องถิ่นที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน มีการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร
- จัดกิจกรรมรู้ประมาณ รับประทานพออิ่ม มีการบริการตักเสิร์ฟอาหารให้นักเรียนในเวลา 11.30 – 12.45 น. โดยมีการตักในสัดส่วนที่เหมาะสมกับความต้องการและช่วงวัยของนักเรียน
- จัดอาหารว่างประเภทขนมที่มีส่วนประกอบจากอาหารอย่างน้อย 5 หมู่อาหาร และอาหารเสริมประเภทผลไม้ที่มีรสหวานตามเกณฑ์มาตรฐานโภชนาการ
- ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพทุกวันพุธ
- แยกเด้กอ้วนและเด็กผอม - จัดทำบาร์คู่ ,บาร์เดี่ยว
Output
- โรงเรียนจัดทำเอกสารประกอบการเรียนรู้ สำหรับให้นักเรียนได้เรียนรู้ เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย ได้ด้วยตนเอง
- โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ด้าน เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย
Outcome - นักเรียนมีความรู้ เจตคติ ทักษะ พฤติกรรมทางด้านการเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการ และสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ที่พึงประสงค์ ในเรื่อง การปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ เพื่อการบริโภคและหรือขาย
ผลผลิต (Output)
- สหกรณ์นักเรียนที่จัดจำหน่ายอุปกรณ์การเรียน อาหารว่าง และเครื่องดื่มมีคุณภาพได้มาตรฐานตามหลักโภชนาการ
- นักเรียนดำเนินกิจกรรมและจัดทำบัญชีต่างๆของ กิจกรรมสหกรณ์ได้
ผลลัพธ์ (Outcome)
- นักเรียนได้รับประทาน อาหารว่าง และเครื่องดื่มที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตามหลักโภชนาการ
- นักเรียนเข้าใจหลักการดำเนินงานของสหกรณ์ ฝึกความรอบคอบในการจัดทำบัญชี และฝึกอาชีพพื้นฐานการค้าขาย
- นักเรียนได้เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม
ขั้นตอนที่ 1 คณะทำงาน หน้าที่ของคณะทำงาน • ผู้จัดการธนาคาร รับผิดชอบดำเนินงาน ในภาพรวมของธนาคาร • เจ้าหน้าที่จดบันทึก รับ ผิดชอบการจดบันทึกรายละเอียด เกี่ยวกับสมาชิก ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล เลขที่ ประเภท และปริมาณวัสดุรีไซเคิล เพื่อส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ • เจ้าหน้าที่คัดแยก รับผิดชอบการคัดแยกขยะ และชั่งน้ำหนัก เพื่อจัดเก็บในสถานที่เก็บ • เจ้าหน้าที่คิดเงิน รับผิดชอบการเทียบกับราคาที่กำหนด และคิดจำนวนเงินของสินค้า ที่สมาชิกนำมาฝาก พร้อมทั้งรับผิดชอบการฝาก - ถอนเงินของสมาชิก
ขั้นตอนที่ 2
คณะทำงานมีการประชุม
การสำรวจร้านรับซื้อของเก่าที่มีอยู่ในชุมชน ราคา ประเภทของขยะรีไซเคิลที่รับซื้อ
- การประสานงานร้านรับซื้อของเก่า ให้เข้าร่วมโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล
- กำหนดระยะเวลาที่จะเข้ามารับซื้อ
- การวางแผนกำหนดวัน เวลา เปิด ธนาคารขยะ
ขั้นตอนที่ 3 การจัดเตรียมสถานที่เก็บรวมรวบ
- ยึดหลักง่ายๆ โดยสามารถเก็บรวบรวมขยะได้ ป้องกันฝน
- มีการคัดแยกขยะอย่างชัดเจน
- แบ่งเป็น 4 ช่อง สำหรับจัดเก็บ กระดาษ โลหะ อโลหะ และพลาสติก
- มีการติดป้ายราคาของขยะที่รับซื้อ
- กรณีไม่มีสถานที่จัดเก็บรวบรวม ก็สามารถใช้วิธีการซื้อตอนเช้า และให้ร้านของเก่ามารับซื้อตอนเย็นได้
ขั้นตอนที่ 4 การประชาสัมพันธ์ - การเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในโรงเรียน สามารถทำได้โดย - การประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ของโรงเรียน - การประชาสัมพันธ์ ช่วงหลังเข้าแถวเคารพธงชาติ - การจักบอร์ดนิทรรศการ - การเดินบอกในแต่ละห้องเรียน - การแทรกในกิจกรรมของแต่ละรายวิชา เช่น วิชาการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต สิ่งแวดล้อมศึกษา เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 5
การเปิดธนาคารขยะรีไซเคิล รับสมัครสมาชิกของธนาคาร โดยให้ผู้ที่สนใจกรอกรายละเอียดใบสมัคร - เจ้าหน้าที่ธนาคารให้เลขที่สมาชิก พร้อมสมุดคู่ฝาก โดยธนาคารจะเป็นผู้เก็บรวบรวมสมุดคู่ฝากไว้ สมาชิกสามารถขอดูได้ในวันที่ธนาคารเปิดทำการ - เจ้าหน้าที่ธนาคารลงรายละเอียด สมาชิกในทะเบียนลูกค้า - เมื่อสมาชิกนำขยะรีไซเคิลมาฝาก ที่ธนาคาร เจ้าหน้าที่จะทำการคัดแยกประเภทและช่างน้ำหนัก - คิดเป็นจำนวนเงิน โดยเทียบกับใบราคาที่ได้มาจากร้านรับซื้อของเก่า ลงบันทึกในใบนำฝาก - เจ้าหน้าที่บันทึกรายละเอียด เลขที่สมาชิก ประเภทขยะรีไซเคิล จำนวนเงิน ลงในเอกสารใบสรุปการนำฝาก - บันทึกลงในสมุดคู่ฝาก เพื่อเก็บเป็นหลักฐานการฝากถอนของสมาชิก - ถ้าสมาชิกต้องการถอนเงิน ให้เขียนรายละเอียด ใบถอนเงินแล้วให้กับเจ้าหน้าที่ - ภายหลังเปิดธนาคารเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่ต้องทำการรวบรวมรายรับ รายจ่าย และทะเบียนคุมเจ้าหนี้ของธนาคารในแต่ละวัน เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ การลงค่าใช้จ่าย การซื้อ ขายขยะรีไซเคิล ลงในสมุดเงินสด เพื่อสามารถตรวจสอบการขาดทุน กำไร - ควรมีการสรุปการดำเนินงาน ในแต่ละเดือน และแจ้งแก่สมาชิกของธนาคาร โดยการจัดบอร์ดนิทรรศการ บริเวณที่ทำการ
ขั้นตอนที่ 6 การติดตามประเมินผล - พิจารณาจากปริมาณขยะรีไซเคิลที่รวบรวมได้ - จำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรม - กำไรจากการซื้อขาย
ผลผลิต (Output)
- นักเรียนมีการคัดแยกก่อนทิ้ง
- โรงเรียนมีวิธีกำจัดขยะได้ถูกวิธี
- นักเรียนนำวิธีการคัดแยกขยะไปใช้ในชุมชน
ผลลัพธ์ (Outcome)
- ลดมลภาวะในโรงเรียน- นักเรียนเห็นคุณค่าของขยะ
- โรงเรียน และชุมชนปลอดขยะ
- จัดประชุมฝึกอบรม แม่ครัว ผู้ปกครอง และแกนนำนักเรียน ด้านอาหารและโภชนาการ
- อบรม แม่ครัว ผู้ปกครอง และแกนนำนักเรียน มีความรู้ด้านอาหารและโภชนาการที่ถูกต้อง
- แม่ครัว ผู้ปกครอง และแกนนำนักเรียน ปฏิบัติขั้นตอนการเลือกซื้อวัสดุดิบในการปรุงอาหารท่ีถูกสุขลักษณะลักษณ์ได้ถูกต้อง
output - แม่ครัว ผู้ปกครอง แกนนำนักเรียน และโรงเรียนในเครือข่ายจำนวน 120 คน มีความรู้ด้านอาหารและโภชนาการที่ถูกต้อง
outcome - นักเรียนได้บริโภคอาหารตามมาตรฐานโภชนาการ ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน
1.คณะกรรมการสหกรณ์ดำเนินกิจกรรมของกลุ่มต่อเนื่องตลอดปีการศึกษา 2.มีสมาชิกซึ่งประกอบด้วยนักเรียน และครู บุคลากรในโรงเรียน
- มีคณะกรรมการสหกรณ์ดำเนินกิจกรรมของกลุ่มต่อเนื่องตลอดปีการศึกษา
- มีสมาชิกซึ่งประกอบด้วยนักเรียนและครูบุคลากรในโรงเรียน
- มีการประชุมคณะกรรมการเพื่อปรับปรุงพัฒนาสหกรณ์นักเรียน
1.โรงเรียนจัดพื้นที่เลี้ยงไก่ไข่สำหรับนักเรียน 2.โรงเรียนจัดหาพันธุ์ไก่สำหรับให้นักเรียนดูแล จำนวน 24 ตัว และรวมกับไก่ชุดเดิม รวม 150 ตัว 3.โรงเรือนจัดทำโรงเรือนสำหรับเลี้ยงไก่ไข่
- นักเรียนมีไข่ไก่เพื่อประกอบอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน
- ผลผลิตสามารถเข้าสู่ชุมชนโดยผ่านสหกรณ์
- นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอต่อความต้องการ
- มีรายได้หมุนเวียนในโรงเรียน
- นักเรียนมีความรู้และได้ฝึกทักษะอาชีพด้านการเลี้ยงไก่ไข่
1.โรงเรียนจัดพื้นที่ปลูกผักสวนครัวสำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง 2.โรงเรียนจัดหาเมล็ดพันธุ์ผัก เช่น แตงกวา บวบ ถั่ว ฟักทอง สำหรับให้นักเรียนปลูก 3.โรงเรียนจัดทำระบบน้ำ อำนวยความสะดวกแก่นักเรียนในการรดน้ำ ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้ 1.นักเรียน มีทักษะในการปลูกและดูแลผักสวนครัว 2.ผักสวนครัวเพื่อประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียนหมุนเวียน 1 สัปดาห์ 3.มีผลผลิต หมุนเวียนสลับกัน เพื่อประกอบอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน
- นักเรียนมีทักษะในการปลูกผักและดูแลผักสวนครัว
- โรงเรียนมีผักสวนครัวเพื่อประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียน
- โรงเรียนมีแผนการผลิตพืชผักที่สอดคล้องกับรายการอาหารกลางวันนนักเรียน
- นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอต่อความต้องการ
1.โรงเรียนจัดพื้นที่สำหรับเลี้ยงกบในกระชัง จำนวน 2,000 ตัว 2.โรงเรียนจัดหาพันธุ์กบสำหรับให้นักเรียนได้ดูแลและสามารถเพาะพันธุ์กบได้ 3.โรงเรียนจัดทำกระชังในการเลี้ยงกบ
- นักเรียนมีความรู้และมีทักษะในการเลี้ยงกบในกระชังเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและถ่ายทอดให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน เข้าใจได้
- โรงเรียนมีพันธุ์กบในการเลี้ยงและเพื่อประกอบอาหารกลางวันให้นักเรียน
- นักเรียนรู้จักการจัดทำกระชังใช้ในการเลี้ยงกบเองได้
- ประชุมครูอาหารกลางวันและครูอนามัยในเครือข่ายจอมพระ 2
- จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มเครือข่ายของการดำเนินโครงการศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใส
- ตัวแทนครูที่รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวัน เข้าใจการดำเนินกิจกรรมในโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส
- ครูอนามัยในเครือข่ายจอมพระ 2 เข้าใจการดำเนินกิจกรรมและสามารถเผยแพร่ให้กับ ครู นักเรียน ชุมชน เข้าใจถึงการดำเนินงานตามกิจกรรมเด็กไทยแก้มใสได้
- จัดกิจกรรมประชุมครูผู้ปกครองนักเรียนร่วมประกาศนโยบายศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส โดยผู้อำนวยการชี้แจงรายละเอียด ถึงหลักการ ในการจัดทำแผนปฏิบัติงาน
- ที่รับผิดชอบโครงการเป็นวิทยากรร่วมให้ความรู้กับคณะครู นักเรียน ที่เป็นโรงเรียนในเครือข่าย
- คณะครูที่เข้าร่วมอบรบจัดทำแผนปฏิบัติงานร่วมกันอภิปราย วิพากษ์ ถึงกิจกรรมที่อยู่ในแผน
- ครูผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนมีความเข้าใจในนโยบายและแนวปฏิบัติการดำเนินโครงการศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสมากขึ้น
- ครูที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจในแผนปฏิบัติงานตามโครงการเด็กไทยแก้มใส
- คณะครูที่เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจและสามารถจัดทำแผนปฏิบัติงานตามโครงการเด็กไทยแก้มใส