ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนบ้านไร่นาดี

รหัสโครงการ ศรร.1312-057 รหัสสัญญา 58-00-2265-อ.11 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

วันที่เริ่มประเมิน

1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
1. การเกษตรในโรงเรียน

ระบบน้ำหมุนเวียนจากบ่อเลี้ยงกบและเลี้ยงปลาดุก ช่วยในการประหยัดน้ำได้ถึงร้อยละ 50 อีกทั้งน้ำที่ถูกปล่อยจากบ่อเลี้ยงสัตว์ ยังมีคุณสมบัติของปุ๋ยที่เกิดจากมูลกบ มูลปลา ทำให้ผักสวนครัวมีการเจริญเติบโต สมบูรณ์แข็งแรง นักเรียนได้บริโภคผักที่ปลอดภัย

ลักษณะของบ่อเลี้ยงกบซึ่งเป็นบ่อดินจำนวน 3 บ่อ และบ่อซีเมนต์ จำนวน 1 บ่อ และบ่อเลี้ยงปลาดุกแบบบ่อซีเมนต์ 1 บ่อ และโอ่งแดง 4 โอ่ง โดยบ่อเลี้ยงสัตว์ตั้งอยู่ในพื้นที่สูงกว่า โดยจัดระบบท่อน้ำลงสู่แปลงผักของโรงเรียนบ้านนาดี จำนวน 100 แปลง ระบบหมุนเวียนการเปลี่ยนถ่ายน้ำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ทำให้ลดการใช้น้ำดิบในโรงเรียน น้ำที่ปล่อยออกจากบ่อเลี้ยงปลา และกบ ถูกปล่อยลงมาตามท่อ pvc ลงสู่แปลงผักสวนครัวของโรงเรียน จำนวน 100 แปลง ช่วยในการประหยัดน้ำได้ถึงร้อยละ 50 อีกทั้งน้ำที่ถูกปล่อยจากบ่อเลี้ยงสัตว์ ยังมีคุณสมบัติของปุ๋ยจากมูลกบ มูลปลา ทำให้ผักสวนครัวมีการเจริญเติบโต สมบูรณ์แข็งแรง นักเรียนได้บริโภคผักที่ปลอดภัย

มีการวางระบบท่อส่งน้ำให้ครอบคลุมไปยังแปลงเกษตรชนิดอื่นที่อยู่ใกล้เคียง เช่น มะนาว และสวนกล้วย

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
2. สหกรณ์นักเรียน

1.สหกรณ์อ่อนหวาน หรือลดหวานควบคุมปริมาณน้ำตาลตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข (5%) มีการจัดรูปแบบบริการของสหกรณ์ ดังนี้ ไม่ขายน้ำอัดลม ไอศกรีม ขนมกรุบกรอบสหกรณ์มีการจำหน่ายน้ำผลไม้และขนม จากผลผลิตการเกษตรของโรงเรียน เช่น น้ำกระเจี๊ยบ น้ำเสาวรส และขนม เช่น แซนวิช ขนมปังไส้กรอก กะหรีปั๊บ กล้วยฉาบฯลฯ วันต่อวัน สด ใหม่

โรงเรียนมีการส่งเสริมให้มีการการปลูกกระเจี๊ยบและเสาวรสในแปลงเกษตรของโรงเรียน อีกทั้งในชั่วโมงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ครูและนักเรียนมีการฝึกทำน้ำผลไม้และขนม และส่งเข้าขายในร้านค้าสหกรณ์โรงเรียนบ้านนาดี เพื่อไม่ให้นักเรียนดื่มน้ำอัดลมและ สามารถเรียนรู้การบริหารจัดการผลผลิตทางการเกษตร ในลักษณะการแปรรูป และการคิดต้นทุนกำไร จากการจำหน่ายผลผลิต

  1. เพิ่มปริมาณการผลิตและพัฒนาการบรรจุขวด
  2. ค้นคว้าสูตรการทำน้ำสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นให้หลากหลายมากขึ้น
แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

1.นักโภชนาการน้อย โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดทำอาหารร่วมกับแม่ครัวและการบริการอาหาร (เสริ์ฟ) อาหารให้กับนักเรียนแต่ละชั้น ซึ่งปริมาณอาหารที่จะได้รับใช้เกณฑ์มาตรฐานอาหารกลางวัน

1.จัดเวรประจำวันผู้รับผิดชอบทำอาหารช่วยแม่ครัวในแต่ละวัน วันละ 2 คน และให้นักเรียนช่วยตักอาหารบริการเพื่อนๆโดยได้เรียนรู้การตักอาหารที่เหมาะสมถูกต้องของแต่ละช่วงวัย

1.ใช้โปรแกรม Thai school lunch ในการจัดอาหารให้สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซนต์และให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเลือกเมนูอาหาร

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

1.กิจกรรมเชิงปฏิบัติการและดูแลนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ โดยการอบรมให้ความรู้ การออกกำลังกาย เช่น เต้นแอโรบิค และมีการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านโดยครูประจำชั้นเป็นรายบุคคล มีการนำผลข้อมูลที่ได้มาประชุมครู ผู้ปกครอง ให้รับรู้เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่ามกัน

1.ให้ความรู้และแนะนำการดูแลสุขภาพของตนเองให้เติบโตสมวัย ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงอย่างสม่ำเสมอภาคเรียนละ 2 ครั้ง เพื่อให้ทราบข้อมูลและดูแลนักเรียนที่มีปัญหาน้ำหนัก/ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ โดยการเสริมอาหารสำหรับนักเรียนค่อนข้างผอมและผอม เพิ่มนมสำหรับนักเรียนค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย เน้นอาหารประเภทผักสำหรับนักเรียนที่อ้วน

1.จัดอาหารให้เหมาะสมกับนักเรียนรายบุคคล/รายกลุ่ม

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

1.หนูน้อยฟันสวย มีการใช้บทเพลงประกอบในการแปรงฟันของนักเรียน

1.เชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาให้ความรู้เรื่องการล้างมือและวิธีแปรงฟันที่ถูกต้อง

2.นักเรียนฝึกแปรงฟันและล้างมือตามขั้นตอน

3.เปิดเพลงแปรงฟันในเวลา 12.20 น.ทุกวันเพื่อให้นักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันเพื่อฝึกให้นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมแปรงฟันอย่างสมำ่เสมอ

1.ให้นักเรียนปฏิบัติทุกวันและพัฒนาจนเป็นนิสัย

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

1.ใช้เพลงประกอบการทำกิจกรรมทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนในตอนเช้า เพื่อกระตุ้นให้เด็กนักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา และทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน

2.การคัดแยกขยะ แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างเหมาะสม เช่น ถุงนม นำมาทำผ้ากันเปื้อน ขยะแฟนตาซีเพื่อนำมาเป็นชิ้นงานของนักเรียน และมีการจัดประกวดในกิจกรรมของโรงเรียน เช่น งานวันเด็ก ฯ

1.ในตอนเช้าก่อนเข้าแถวเคารพธงชาตินักเรียนจะปฏิบัติกิจกรรมทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน ห้องน้ำห้องส้วม ห้องเรียนตามเขตรับผิดชอบ

2.นักเรียนแยกขยะตามถังแยก เมื่อนำขยะมาคัดแยกอีกครั้งส่นที่ขายได้ก็จะประสานอบต.แมดนาท่มมารับซื้อ

1.ประสานความร่วมมือกับทางหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลขับเคลื่อนร่วมกัน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

1.เบรนด์ยิ้ม พัฒนาสมอง 15 นาที

หลังจากปฏิบัติกิจกรรมเคารพธงชาติเสร็จแล้วนักเรียนทุกชั้นจะมีการปฏิบัติกิจกรรมเบรนด์ยิมเป็นการเปิดสมองก่อนเข้าห้องเรียน ใช้เวลา 15 นาที โดยการวิ่ง หรือเดิน ตามตัวอักษร หรือตัวเลข ตามพื้นอาคารเรียน และล้อยาง

มีเสริมท่าทางการเคลื่อนไหวร่างกายเพิ่มขึ้น เช่น การกระโดด ห้อยโหน หรือมีการเพิ่มเวลาจากช่วงเช้า เป็นช่วงบ่าย หรือก่อนเลิกเรียน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

1.กิจกรรมสรุปบทเรียนโดยใช้การ์ตูนแอนิเมชั่น โดยกลุ่มนักเรียนที่มีทักษะด้านคอมพิวเตอร์

ี1.นักเรียนไปศึกษาเรียนรู้กิจกรรมต่างๆ จากฐานการเรียนรู้ทั้ง 8 องค์ประกอบ นักเรียน ครู ผู้ปกครองมีการสรุปบทเรียน

2.นักเรียนในกลุ่มคอมพิวเตอร์มีการฝึกการทำการ์ตูนแอนิเมชั่นในชั่วโมงเรียนคอมพิวเตอร์ และได้นำสื่อประเภทการ์ตูนใช้เป็นสื่อเรียนรู้ข้อมูลในด้านการเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

1.พัฒนาทักษะการจัดทำการร์ตูนแอนิเมชั่นในกลุ่มนักเรียนให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อเป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอน โดยสื่อดังกล่าวมีรูปแบบที่น่าสนใจ

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
9. อื่น ๆ

-

 

 

2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ดังนี้ 1.องค์การบริหารส่วนตำบลแมดนาท่ม จัดสรรงบประมาณโครงการอาหารกลางวัน อาหารเสริมนม และกำลังพิจารณาโครงการขยะ 2.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกนาดีให้บริการตรวจสุขภาพนักเรียนให้ความรู้ในเรื่องการรักษาสุขภาพ 3.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโพนทองดูแลและให้บริการตรวจรักษาโรคฟันผุให้วิทยากรมาให้ความรู้ในเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพฟัน การแปรงฟันที่ถูกวิธีและการล้างมือ7ขั้นตอน 4.ผู้นำหมู่บ้าน ชุมชน ผู้ปกครองนักเรียนให้ความร่วมมือเข้าร่วมประชุมที่โรงเรียนจัดขึ้น เช่น ช่วงเปิดเทอม ฯผู้ปกครองที่มีความรู้ในการปลูกผักเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเกษตร เช่น การให้ความรู้โรค และแมลง การดูแลรักษา และมีการเข้ามาทำอาหารกลางวันให้กับบุตรหลาน

2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

1.โรงเรียนมีพื้นที่ทำการเกษตรที่เพียงพอ เนื่องจากโรงเรียนมีพื้นที่ 2 แปลง ซึ่งมีเนื้อที่ 20 ไร่ 2 งาน และ 32 ไร่ ทำให้มีพื้นที่ที่เพียงพอในการปลูกผักสวนครัว ไม้ยืนต้น และผลไม้ เช่น กล้วย มะละกอ ทำให้มีผลผลิตส่งเข้าสหกรณ์ของโรงเรียนและโครงการอาหารกลางวัน

2.มีน้ำประปาซึ่งสูบมาจากน้ำบาดาล และมีการบริหารจัดการน้ำมาใช้อย่างคุ้มค่าโดยเปลี่ยนถ่ายน้ำจากบ่อเลี้ยงกบ บ่อเลี้ยงปลาไปใช้รดพืชผักสวนครัว ทำให้สามารถประหยัดน้ำได้ถึง 50%

3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

1.ผู้บริหารมีความเข้าใจในโครงการ สามารถบริหารจัดการโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการนิเทศติดตามผลการดำเนินงานอย่างสมำ่เสมอ

2.ครูและบุคลากรมีจำนวนเพียงพอในการดำเนินงานทุกองค์ประกอบมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

3.นักเรียนมีความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมโดยเฉพาะกิจกรรมด้านการเกษตร เช่น การเลี้ยงปลาดุก การเลี้ยงกบ การเลี้ยงไก่ไข่ การเพาะเห็ด มีความกระตือรือร้นที่จะทำและมีความรับผิดชอบในการทำงาน

4.โรงเรียนได้รับงบประมาณในการจัดกิจกรรม จึงทำให้สามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

1.ครูได้รับความรู้จากการไปศึกษาดูงานด้านการเกษตรจากศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่จังหวัดชลบุรี ศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพาน จังหวัดสกลนคร โรงเรียนบ้านห้วยยาง อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร และได้นำความรู้มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน

2.ครูและนักเรียนที่รับผิดชอบงานสหกรณ์นักเรียนไปศึกษาดูงานการจัดการสหกรณ์ที่โรงเรียน ตชด.ค็อกนิสไทย บ้านพรหมศรีธาตุและได้นำความรู้มาปฏิบัติที่โรงเรียน

3.การจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียนมีการบูรณาการให้สอดคล้องกับองค์ประกอบทั้ง 8 องค์ประกอบของโครงการ นักเรียนมีการถอดบทเรียนทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม โดยเฉพาะวิชาคอมพิวเตอร์นักเรียนถอดบทเรียนโดยใช้การ์ตูนแอนิเมชั่น

4.แม่ครัว มีความตระหนักและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการจัดอาหารที่มีคุณภาพ มีประโยชน์และดูแลสุขภาพของตนเอง รักษาความสะอาด สวมผ้ากันเปื้อน สวมหมวกคลุมผมเวลาประกอบอาหาร

5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

1.ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมประชุมผู้ปกครองนักเรียน ทำให้ทราบรายละเอียดการดำเนินงานโครงการ การดูแลในเรื่องสุขภาพ และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

2.ชุมชนให้ความร่วมมือเป็นภาคีเครือข่ายการเลี้ยงกบ โดยโรงเรียนแจกลูกอ๊อดให้ไปเลี้ยง ทำให้ได้อาหารประเภทโปรตีนไว้รับประทานในครอบครัว นอกจากนั้นโรงเรียนยังส่งเสริมให้ชุมชนปลูกพืชผักปลอดสารพิษไว้รับประทาน ที่เหลือก็สามารถนำมาจำหน่ายให้โรงเรียนเพื่อประกอบอาหารกลางวัน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

ผลผลิตทางการเกษตรของโรงเรียนที่นำมาประกอบอาหารกลางวันให้นักเรียนมีประมาณร้อยละ70 อีกร้อยละ 30 เป็นผลิตของชุมชนที่ปลอดสารพิษและท้องตลาด

ทะเบียนผลผลิตการเกษตรในโรงเรียน 1. ไข่ไก่ 2. ปลาดุก 3. กบ 4.ผักบุ้งคะน้ามะเขือพริกใบแมงลักตะไคร้ใบมะกรูด 5. มะนาวเสาวรส 6. มะละกอ ึ7. บวบ 8. เห็ดนางฟ้า 9. กล้วยน้ำว้า 10. กระเจี๊ยบ 11. หน่อไม้ 12. ถั่วฝักยาว

โรงเรียนปลูกผักที่มีหลากหลายชนิดและเพิ่มปริมาณของผักผลไม้ให้เพียงพอกับความต้องการของนักเรียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

มีการเลี้ยงอาหารโปรตีน ปะเภท ไก่ไข่เพื่อเป็นผลผลิตในโครงการอาหารกลางวัน

ทะเบียนผลผลิตการเกษตรในโรงเรียน

การเลี้ยงไก่ โดยการทำโรงเรีอนเลี้ยงแบบปิด

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

1) การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์เลี้ยงปลาดุกพันธุ์รัสเซีย ซึ่งเป็นพันธุ์ที่เลี้ยงง่ายโตเร็ว จำนวน 6,000 ตัว ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4 เดือนก็สามารถจำหน่ายได้ ให้สหกรณ์และขายต่อให้อาหารกลางวันนำไปประกอบอาหารให้นักเรียนรับประทานปัจจุบันโรงเรียนมีอาหารประเภทปลาเพียงพอที่จะทำอาหารให้นักเรียนรับประทาน (2) การเลี้ยงกบในบ่อดิน ได้ขุนกบเพื่อนำมาเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ในการเพาะเลี้ยงลูกอ๊อด ซึ่งในปีนี้ได้เพาะลูกอ๊อดแจกให้กับชุมชนนำไปเลี้ยงจำนวนประมาณ 12,000 ตัว เป็นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์จากโครงการเด็กไทยแก้มใสปีที่ 1

-เมนูอาหารกลางวันนักเรียน

-เว้ปไซต์ ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

มีการทำบ่อเลี้ยงกบให้มีมาตรฐาน ครบวงจร เช่น บ่อแม่พันธ์ พ่อพันธ์ุ บ่ออบุบาลลูกอ๊อด

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

โรงเรียนมีการจำหน่ายอาหารเช้า ประเภท
แซนวิช ขนมปัง ในราคาถูกให้กับนักเรียน

สหกรณ์โรงเรียนบ้านไร่นาดี

-เสนอในที่ประชุมผู้ปกครองให้มีการจัดอาหารเช้าให้นักเรียนโดยผู้ปกครองต้องอาสาสมัครหมุนเวียนกันรับผิดชอบมาทำอาหารเช้าให้นักเรียนที่โรงเรียน

5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

นักเรียนมีการบริโภคผักและผลไม้ ร้อยละ 90 ซึ่งทางโรงเรียนมีการใช้เมนูอาหารโดยใช้โปรแกรมThai School Lunchและครูมีการควบคุมการบริการอาหาร (ตักอาหาร ) ในมื้อกลางวันให้กับนักเรียน

เมนูอาหารหมุนเวียนรายเดือนจากโปรแกรม TSL

นำเมนูอาหารที่จัดทำไว้มาใช้ในการจัดทำอาหารให้นักเรียนให้เกิดประโยชน์100%

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

มีนักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่ทานผัก ผลไม้ ร้อยละ 5 เนื่องจากครอบครัวขาดการสนับสนุน แต่ทางโรงเรียนได้มีการใช้เมนูอาหารโดยใช้โปรแกรมThai School Lunchและครูมีการควบคุมการบริการอาหาร (ตักอาหาร ) ในมื้อกลางวันให้กับนักเรียน

เมนูอาหารหมุนเวียนรายเดือนจากโปรแกรม TSL

นำเมนูอาหารที่จัดทำไว้มาใช้ในการจัดทำอาหารให้นักเรียนให้เกิดประโยชน์100%

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

นักเรียนทานผัก ผลไม้ ร้อยละ 100 ซึ่งทางโรงเรียนได้มีการใช้เมนูอาหารโดยใช้โปรแกรมThai School Lunchและครูมีการควบคุมการบริการอาหาร (ตักอาหาร ) ในมื้อกลางวันให้กับนักเรียน

เมนูอาหารหมุนเวียนรายเดือนจากโปรแกรม TSL

นำเมนูอาหารที่จัดทำไว้มาใช้ในการจัดทำอาหารให้นักเรียนให้เกิดประโยชน์100%

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

โรงเรียนได้จัดทำทะเบียนแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน เมื่อมีผลผลิตที่ไม่เพียงพอ โรงเรียนมีการเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรที่ส่งผลผลิตมายังโรงเรียน จำนวน 8 เครือข่าย

-ทะเบียนแหล่งผลิตอาหารในชุมชน ชื่อ : หมู่บ้าน : ผลผลิต 1.นางจุรีรัตน์ ตั้งเจริญสกุล : บ้านโคกนาดี : ถั่วฝักยาวมะเขือผักกาดขาวผักบุ้ง 2. นางกองทรัพย์ไกยะฝ่าย : บ้านโคกนาดี : ผักกาดหอมคะน้าผักบุ้ง 3. นายมะโนวงศ์ละคร : บ้านโคกนาดี : พริก ผักหวานมะนาวมะละกอแก้วมังกรลิ้นจี่ 4. นางบุญปันพรมเมือง : บ้านโคกนาดี : ข้าวโพดมะเขือเทศ 5. นายกิตติพลลีนาลาด : บ้านโคกนาดี : ไก่เนื้อ ไข่ไก่กบมะนาวปลานิลปลาตะเพียน 6. นายมั่นพรหมสาขา ฯ : บ้านโคกนาดี : ปลานิลปลาตะเพียน 7. นายธงชัยลูกกุลา: บ้านโคกนาดี : ปลานิลปลาตะเพียน 8. นายภูมิพลธิราช : บ้านโคกนาดี : กล้วยน้ำว้า 9. นางสาววงศ์ศรีสำรองพันธ์ :บ้านโคกนาดี : เสาวรส 10. นางละไมกวานสุพรรณ : บ้านโคกนาดี : กระเจี๊ยบเสาวรส 11. นางจิ้มทิพย์สิงห์ :บ้านโคกนาดี : กล้วยน้ำว้า

ขยายเครือข่ายในการช่วยผลิตแหล่งอาหารปลอดภัยในชุมชนให้หลากหลายชนิดและมีปริมาณมากขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

จัดทำได้ในบางวันที่มีวัถุดิบใกล้เคียงกับวัตถุดิบของโปรแกรมเนื่องจากขาดการวางแผนล่วงหน้าที่ไม่ต่อเนื่อง

  1. แฟ้มประเมินคุณค่าอาหาร
  2. แฟ้มรายงานวัตถุดิบ

จัดทำเมนูอาหารโดยใช้โปรแกรมTSLล่วงหน้าอย่างน้อย1เดือนเพื่อจะได้วางแผนการผลิตอาหารได้เพียงพอ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

โรงเรียนได้ติดตามภาวะโภชนาการนักเรียนทุกเดือน และมีทะเบียนรายชื่อ แปลผลออกมาแบ่งกลุ่มเด็กเป็นกลุ่ม เตี้ย ผอม อ้วน

แฟ้มข้อมูลภาวะโภชนาการของนักเรียนทุกชั้นเรียน

ใช้อุปกรณ์วัดที่เที่ยงตรงได้มาตรฐานและลดการติดตามภาวะโภชนาการลงเหลือภาคเรียนละ2ครั้ง

3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

ภาวะ2558 1/12558 1/22558 2/12558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/12560 1/22560 2/12560 2/22561 1/12561 1/22561 2/12561 2/22562 1/12562 1/22562 2/12562 2/2
เตี้ย 6.06 6.06% 4.55 4.55% 3.79 3.79% 3.85 3.85% 3.82 3.82% 4.58 4.58% 3.82 3.82% 3.79 3.79% 3.33 3.33% 3.20 3.20% 2.38 2.38% 4.80 4.80% 2.46 2.46% 2.46 2.46% 1.72 1.72% 1.65 1.65% 0.00 0.00% 2.36 2.36% 0.79 0.79% 0.79 0.79%
เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 12.88 12.88% 11.36 11.36% 9.09 9.09% 9.23 9.23% 9.92 9.92% 9.16 9.16% 10.69 10.69% 12.88 12.88% 10.83 10.83% 13.60 13.60% 15.08 15.08% 12.80 12.80% 9.84 9.84% 13.93 13.93% 13.79 13.79% 13.22 13.22% 4.03 4.03% 9.45 9.45% 7.87 7.87% 4.72 4.72%
ผอม 8.33 8.33% 5.30 5.30% 6.11 6.11% 9.23 9.23% 12.98 12.98% 14.50 14.50% 6.11 6.11% 6.11 6.11% 5.60 5.60% 8.00 8.00% 6.35 6.35% 6.40 6.40% 7.38 7.38% 7.38 7.38% 3.28 3.28% 3.31 3.31% 4.03 4.03% 4.72 4.72% 5.51 5.51% 7.09 7.09%
ผอม+ค่อนข้างผอม 15.15 15.15% 15.15 15.15% 12.21 12.21% 16.92 16.92% 24.43 24.43% 24.43 24.43% 11.45 11.45% 13.74 13.74% 16.80 16.80% 14.40 14.40% 13.49 13.49% 12.80 12.80% 19.67 19.67% 18.85 18.85% 9.02 9.02% 8.26 8.26% 16.13 16.13% 13.39 13.39% 13.39 13.39% 14.96 14.96%
อ้วน 3.03 3.03% 1.52 1.52% 0.76 0.76% 2.31 2.31% 3.05 3.05% 1.53 1.53% 3.05 3.05% 2.29 2.29% 2.40 2.40% 4.00 4.00% 4.76 4.76% 5.60 5.60% 2.46 2.46% 3.28 3.28% 3.28 3.28% 3.31 3.31% 4.03 4.03% 4.72 4.72% 5.51 5.51% 5.51 5.51%
เริ่มอ้วน+อ้วน 6.82% 6.82% 4.55% 4.55% 3.82% 3.82% 5.38% 5.38% 6.11% 6.11% 5.34% 5.34% 7.63% 7.63% 6.87% 6.87% 6.40% 6.40% 6.40% 6.40% 5.56% 5.56% 6.40% 6.40% 4.92% 4.92% 5.74% 5.74% 6.56% 6.56% 6.61% 6.61% 8.87% 8.87% 10.24% 10.24% 7.87% 7.87% 7.09% 7.09%
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

1.ภาวะเริ่มอ้วนเพิ่มขึ้น 0.80 2.ภาวะอ้วนเพืิ่มขึ้น0.03

สรุปผลภาวะโภชนาการ

เพิ่มเมนูผักผลไม้ ลดความถี่ในการจำหน่ายน้ำผลไม้และขนมที่มให้พลังงานมาก นำผลไม้สดมาจำหน่ายในสหกรณ์

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

1.ภาวะค่อนข้างผอมลดลง ร้อยละ 1.46 2.ภาวะผอมลดลง ร้อยละ11.42

สรุปผลภาวะโภชนาการ

จัดอาหารเช้าให้นักเรียนที่ผอมและค่อนข้างผอม

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

1.ภาวะค่อนข้างเตี้ย ร้อยละ 3.12 2.ภาวะเตี้ยเพิ่มขึ้น ร้อยละ0.03

สรุปผลภาวะโภชนาการ

เสริมอาหารประเภทแคลเซียมและให้ออกกำลังกายโดยการกระโดดเชือกอย่างสมำ่เสมอ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

1เด็กผอมเพิ่มไข่ต้มวันละฟองจากเด็กปกติ

2.เด็กเตี้ยเพิ่มนมสดวันละ1กล่องและให้ออกกำลังกายโดยการกระโดดเชือก

3.เด็กอ้วนเพิ่มอาหารเมนูผัก

รูปภาพกิจกรรม บันทึกการช่วยเหลือติดตามเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

ให้การติดตามช่วยเหลือจนเด็กมีโภชนาการที่ดีหรือใกล้เคียงที่สุด

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

มีการประชุมผู้ปกครองนักเรียน ประชุมกรรมการสถานศึกษา ประชุมเครือข่าย ชี้แจงหาแนวทางในการช่วยเหลือเด็ก

บันทึกการประชุม

สร้างความตระหนักในเรื่องการจัดอาหารทุกมื้อที่มีคุณภาพกับผู้ปกครองไม่ใช่เฉพาะที่โรงเรียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ดังนี้ 1.องค์การบริหารส่วนตำบลแมดนาท่ม จัดสรรงบประมาณโครงการอาหารกลางวัน อาหารเสริมนม และกำลังพิจารณาโครงการขยะ 2.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกนาดีให้บริการตรวจสุขภาพนักเรียนให้ความรู้ในเรื่องการรักษาสุขภาพ 3.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโพนทองดูแลและให้บริการตรวจรักษาโรคฟันผุให้วิทยากรมาให้ความรู้ในเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพฟัน การแปรงฟันที่ถูกวิธีและการล้างมือ7ขั้นตอน 4.ผู้นำหมู่บ้าน ชุมชน ผู้ปกครองนักเรียนให้ความร่วมมือเข้าร่วมประชุมที่โรงเรียนจัดขึ้น เช่น ช่วงเปิดเทอม ฯผู้ปกครองที่มีความรู้ในการปลูกผักเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเกษตร เช่น การให้ความรู้โรค และแมลง การดูแลรักษา และมีการเข้ามาทำอาหารกลางวันให้กับบุตรหลาน

หมายเหตุ *

  • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh