แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านโนนสูง

ชุมชน โรงเรียนบ้านโนนสูง หมู่ 9 ตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

รหัสโครงการ ศรร.1312-078 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-อ.32

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2559 ถึง 30 เมษายน 2560

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน พฤษภาคม 2559 ถึงเดือน กันยายน 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่

วันที่ 2 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต -นักเรียนเก็บไข่ไก่ได้เฉลี่ยวันละ 35-40 ฟอง ผลลัพธ์ -นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง -นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น -นักเรียนได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย
-นักเรียนมีจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม รู้จักรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ซื้อไก่สาวพันธุ์ไข่ จำนวน 20 ตัว ตัวละ 230 บาท เป็นเงิน 4600 บาท ซื้อไก่สาวพร้อมไข่ จำนวน 40 ตัว ตัวละ 260 บาท เป็นเงิน 10,400 บาท ซื้ออาหารไก่พันธุ์ไข่ จำนวน 25 กระสอบ กระสอบละ 500 บาท เป็นเงิน 12,500 บาท (ซื้อหลายงวด) ซื้อรางน้ำใส่น้ำไก่ จำนวน 4 อัน อันละ 70 บาท เป็นเงิน 280 บาท ซื้อรางอาหารไก่ จำนวน 2 อัน อันละ 160 บาท เป็นเงิน 320 บาท

กิจกรรมที่ทำจริง

-ซ่อมแซมโรงเรือนเพื่อใช้ในการเลี้ยงไก่สาวพันธ์ุไข่ (อายุ 16 สัปดาห์) จำนวน 20 ตัว
-ปรับปรุงซ่อมแซมเล้าไก่เพื่อรองรับไก่สาวพร้อมไข่ จำนวน 40 ตัว - แบ่งเวรนักเรียนชั้นป.4-6 รับผิดชอบให้อาหาร ให้น้ำไก่ในแต่ละวัน ไข่ไก่ที่นักเรียนเก็บได้ในแต่ละวันเฉลี่ยที่ 35-40 ฟอง นำไข่ที่ได้ไปเป็นประกอบอาหารกลางวันให้นักเรียนได้รับประทานโดยการจำหน่ายไข่ไก่ ผ่านกระบวนการสหกรณ์ของโรงเรียน

 

46 51

2. กิจกรรมเลี้ยงสุกรพื้นเมือง

วันที่ 2 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้รับลูกสุกรจาก ร้อยตำรวจโทประหยัด มงคลศรีวิทยา จำนวน 2 ตัว นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 รับผิดชอบให้อาหาร และดูแล สุกรคลอดลูกครอกแรกจำนวน 3 ตัว และครอกที่ 2 จำนวน 10 ตัว ตาย 1 ตัว จำหน่ายเป็นลูกสุกรชุดแรกจำนวน 8 ตัว ตัวละ 750 บาท เป็นเงิน 6000 บาท ขายชุดที่ 2 สุกรขุน จำนวน 2 ตัว ตัวละ 95 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 50 บาท เป็นเงิน 9500 บาท 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และครูเวรรับผิดชอบกิจกรรมเลี้ยงสุกร ให้อาหาร ในวัน จันทร์-ศุกร์ ครูเวรรับผิดชอบให้อาหารในวันเสาร์และอาทิตย์โดยให้อาหารจากเศษอาหารจากทางโรงเรียน

กิจกรรมที่ทำจริง

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 รับผิดชอบให้อาหารในวันราชการปกติ และครูเวรรับผิดชอบในวันเสาร์และอาทิตย์ โดยให้อาหารจากเศษอาหารจากอาหารกลางวัน เช่น เศษผัก เศษอาหาร รวมทั้ง เศษผักหญ้าจากแปลง สวนผักสวนครัว ผสมกับ ปลายข้่าวและรำเพื่อเพิ่มจำนวนอาหารเนื่องจากสุกรมีจำนวนมากขึ้นอายุมากขึ้นทำให้สุกรกินอาหารมากขึ้น

 

46 50

3. เลี้ยงปลาดุก

วันที่ 16 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • นักเรียนแกนนำมีความรู้การปรับ กรด-ด่าง ในบ่อเลี้ยง การปล่อยปลาโดยต้องแช่ปลาในน้ำก่อนที่จะเปิดถุง การให้อาหารปลาตามขนาดอายุ การเปลี่ยนน้ำและรักษาน้ำให้มีคุณภาพดี
  • นักเรียนรู้จักการคัดเลือกปลาดุกเป็นรุ่นๆ เพื่อจำหน่าย
  • นักเรียนได้เรียนรู้การใช้ตาชั่ง
  • นักเรียนได้ลงมือจับปลาดุกเเละเทคนิคการเลือกปลาที่มีขนาดพอดี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ดำเนินการซื้อลูกปลาดุกจำนวน 1000 ตัว ราคาตัวละ 1 บาท รวมเป็นเงิน 1000 บาท และอาหาร ปลาดุกเล็กจำนวน  กระสอบ 1 กระสอบละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท  อาหารปลาใหญ่จำนวน 5 กระสอบ กระสอบละ 500 บาทเป็นเงิน 2500 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4000 บาท โดยให้นักเรียนชั้น ป.4-6 เป็นผู้รับผิดชอบ แบ่งเวรให้นักเรียนรับผิดชอบ วันจันทร์-ศุกร์ และครูเวรในวัน เสาร์-อาทิตย์ 

กิจกรรมที่ทำจริง

ดำเนินการซื้อลูกปลาดุกจำนวน 1000 ตัว ราคาตัวละ 1 บาท รวมเป็นเงิน 1000 บาท และอาหาร ปลาดุกเล็กจำนวน 12 ก.ก. กิโลกรัมละ 30 บาท เป็นเงิน 360 บาทอาหารปลาใหญ่จำนวน 1 กระสอบ กระสอบละ 440 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1800 บาท โดยให้นักเรียนชั้น ป.4-6 แบ่งเวรให้นักเรียนรับผิดชอบ วันจันทร์-ศุกร์ และครูเวรในวัน เสาร์-อาทิตย์
2 คัดเลือกปลาดุกที่ได้ขนาด นำมาประกอบอาหาร และตัวที่ มีไม่ได้ขนาดก็ต้องเลี้ยงเป็นรุ่นๆต่อไป หากไม่นำปลาทีมีขนาดใหญ่ ออกก่อนก็จะทำให้ปลาดุกใหญ่เกินขนาดไม่น่ารับประทาน
3.นำปลาดุกรุ่นต่อไปลงในบ่อที่ 2 จำนวน 700 ตัว ตัวละ 1 บาท และซื้ออาหารปลาดุก จำนวน 3 กระสอบ กระสอบละ 500 บาท เป็นเงิน 1500 บาท รวมเงินทั้งสิ้น 2200 บาทซึ้งรวมเงินทั้งหมดตลอดโครงการ 4000 บาท ซึ้งเงินที่ได้จากการขายปลาดุก ก็จะไว้เป็นทุนหมุนเวียนในรอบการผลิดต่อไป

 

47 45

4. ตรวจสุขภาพนักเรียน

วันที่ 24 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

พบนักเรียนเกิด ฝันผุ โรคผิวหนัง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมตรวจสุขภาพ โดย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบัว และส่งต่อนักเรียนที่มีปัญหาด้านสุขภาพให้โรงพยาบาลอำเภอขุนหาญ

กิจกรรมที่ทำจริง

เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบัวตรวจสุขภาพนักเรียน ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.30 น. และได้ทำใบส่งตัวนักเรียนที่มีปัญหาด้านสุขภาพส่งต่อทางโรงพยาบาลขุนหาญรักษาสุขภาพนักเรียนต่อไป

 

123 120

5. การเพาะเห็ด

วันที่ 13 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี มีความรู้ในการดูแลเห็ดจากการค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตและปรับใช้ในการทำกิจกรรมของตนเองได้ นักเรียนรู้จักแบ่งหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมกับความสามารถส่วนบุคคล และรู้จักคิดคำนวณน้ำหนัก ราคา จำนวนผลผลลิตที่ได้ ประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์กับกิจกรรมของตนเองได้อย่างสมเหตุสมผล มีการแบ่งหน้าที่ไปจำหน่ายเห็ดแก่ชุมชนในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดในช่วงปิดเทอม และยังเป็นกันใช้เวลาว่างของนักเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ดำเนินการปรับปรุงโรงเห็ดให้เหมาะสมและสะอาด ซื้ดก้อนเห็ด จำนวน 1,000 ก้อน ราคา ก้อนละ 10 บาท รวมเป็นเงิน 10,000 บาท 

กิจกรรมที่ทำจริง

นักเรียน ชั้น ป.4-6 เป็นผู้รับผิดชอบ เเบ่งเวรรับผิดชอบนักเรียนและครูเวรประจำวัน ในวันราชการปกติ วันหยุดราชการ ผู้รับผิดชอบครูเวรและพนักงานจ้างทั่วไป โดยมีหน้าที่รดน้ำในตอนเช้าและเย็น เมื่อเห็ดพร้อมที่จะเก็บได้ต้องเก็บดอกเห็ดก่อนที่จะรดเพื่อป้องกันเห็ดฉ่ำน้ำเพื่อที่จะเก็บรักษาให้เห็ดอยู่ได้นาน 

 

46 51

6. ศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบ (โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์)

วันที่ 30 กันยายน 2559 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กลุ่มแกนนำคณะกรรมการสถานศึกษาได้เรียนรู้โรงเรียนต้นแบบที่สำคัญ
- กองทุนข้าวจากชุมชน - การจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานโรงเรียน - การส่งเสริมกิจกรรมสันทนาการในเวลากลางวัน เพื่อให้ง่ายต่อการดูเเลนักเรียน - ผู้นำชุมชนมองเห็นความสำคัญกับโรงเรียนมากขึ้นและให้คำมั่นสัญญากับทางโรงเรียนว่าจะให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น กองทุนข้าว การดูเเลความสะอาด เป็นต้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ดูงานการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ได้แก่ การปลูกผักโดยใช้การจัดการน้ำด้วยแผงโซลาเซลล์ ฐานเรียนรู้ การเลี้ยงปลาดุกปลานิลในบ่อดิน เลี้ยงหมูป่า ปลูกผักกางมุ้ง การใช้พื้นหน้าอาคารเรียนปลุกผักสวนครัวแทนการปลูกไม้ประดับในพื้นที่จำกัด
  • การบูรณาการกิจกรรมเกษตรกับการออกกำลังกายเช่น การสูบน้ำโดยใช้มือโยกเพื่อรดเเปลงผัก
  • การนำระบบ ไอซีที มาใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน การส่งการบ้านของนักเรียนเพื่อลดภาระงานกระดาษ ซิ่งเป็นจุดเด่นของโรงเรียนนี้
  • กองทุนข้าวเปลือกจากชุมชน 

กิจกรรมที่ทำจริง

เดินทางจากโรงเรียนบ้านโนนสูง เวลา 05.30 น. ถึงโรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง 8.30 น.
- ดูงานการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ได้แก่ การปลูกผักโดยใช้การจัดการน้ำด้วยแผงโซลาเซลล์ ฐานเรียนรู้ การเลี้ยงปลาดุกปลานิลในบ่อดิน เลี้ยงหมูป่า ปลูกผักกางมุ้ง การใช้พื้นหน้าอาคารเรียนปลุกผักสวนครัวแทนการปลูกไม้ประดับในพื้นที่จำกัด - การบูรณาการกิจกรรมเกษตรกับการออกกำลังกายเช่น การสูบน้ำโดยใช้มือโยกเพื่อรดเเปลงผัก - การนำระบบ ไอซีที มาใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน การส่งการบ้านของนักเรียนเพื่อลดภาระงานกระดาษ ซิ่งเป็นจุดเด่นของโรงเรียนนี้
- กองทุนข้าวเปลือกจากชุมชน 

 

32 11

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 16 6                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 100,000.00 40,000.00                  
คุณภาพกิจกรรม 24 16                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. การปลูกพืชปลอดสารพิษ ( 2 พ.ย. 2559 )
  2. การอบรมผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชนครูและนักเรียน เพื่อจัดกิจกรรมโรงเรียนประเมินตนเอง ( 8 พ.ย. 2559 )
  3. การจัดการเรียนรู้บูรณาการเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย ( 15 พ.ย. 2559 )
  4. การอบรมบุคลากรในการจัดจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ( 19 ธ.ค. 2559 )
  5. การพัฒนาอนามัยและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ ( 13 ก.พ. 2560 )

(................................)
นางสาวดนตรี บุญลี
ผู้รับผิดชอบโครงการ