ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนบ้านโนนสูง

รหัสโครงการ ศรร.1312-078 รหัสสัญญา 58-00-2265-อ.32 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

วันที่เริ่มประเมิน

1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
1. การเกษตรในโรงเรียน

กิจกรรม"เกษตรคิดสนุก"

จัดทำแปลงผักเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าสามเหลี่ยมมุมฉาก สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้าและรูปวงกลมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้บูรณาการกิจกรรมเกษตรกับคณิตศาสตร์ในเรื่องการวัดความยาวการหาเส้นรอบรูปการคำนวณบวกลบคูณหารการหาพื้นที่การหาปริมาตรนอกจากนี้ยังได้บูรณาการเรียนรู้ในเรื่องการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย การคำนวณกำไรขาดทุนอีกด้วยซึ่งครูแต่ละชั้นสามารถนำไปสอนได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาตัวชี้วัดของแต่ละชั้นได้

กิจกรรมเกษตรในโรงเรียนเป็นกิจกรรมที่ฝึกการทำงานจากประสบการณ์ตรง เป็นประโยชน์สำหรับผู้เรียนอย่างมากเพราะ ได้ฝึกทักษะกระบวนการทำงานสร้างคุณธรรมในเรื่องความขยัน ประหยัด อดทน กระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม โรงเรียนได้จัดทำแปลงสาธิตการเรียนรู้แบบถาวรโรงเรียนจะนำไปเป็นสื่อการเรียนการสอน บูรณาการในวิชาคณิตศาสตร์และวิชาอื่นๆในปีต่อไปได้

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
2. สหกรณ์นักเรียน

กิจกรรม "ร้านค้าพาเด็กทำดี"

โรงเรียนได้จัดกิจกรรมบูรณาการเกษตร สหกรณ์และโภชนาการโดยการจัดตั้งสหกรณ์ร้านค้าเพื่อรับซื้อผลผลิตเกษตรจากนักเรียนแล้วนำไปจำหน่ายที่ร้านสหกรณ์นักเรียนเช่น กล้วยผักบุ้งผักกาด บวบและผักอื่นๆ นอกจากนี้โรงเรียนยังได้บูรณาการการเรียนการสอนงานอาชีพการทำขนมไทยเพื่อส่งขายให้ร้านค้าสหกรณ์ แล้วนำไปจำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวัน ได้แก่ ขนมเทียนข้าวต้มผัด กล้วยบวชชีถั่วเขียวต้มน้ำตาลกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในการทำงานเป็นทีมได้เป็นอย่างดีที่สำคัญนักเรียนได้ฝึกทำบัญชีรายรับรายจ่ายการคำนวณกำไรขาดทุนการส่งเสริมคุณธรรมในด้านความขยันความประหยัดอดออมได้เป็นอย่างดี

การปลูกฝังคุณธรรมต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ และต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลการในโรงเรียนทุกฝ่ายทุกคน ถ้าจะให้ได้ผลดียิ่งขึ้นการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

กิจกรรม "แก้มใสใส่ใจคุณธรรม นำสุขภาพเด็ก"

โรงเรียนมีความพยายามจัดอาหารกลางวันให้ได้ตามโปรแกรมเมนูอาหารแต่ด้วยข้อจำกัดของชุมชนและท้องถิ่นในบางวันไม่สามารถจัดได้เนื่องจากวัสดุที่นำมาประกอบอาหารขาดตลาดทางโรงเรียนจึงได้จัดหาวัตถุดิบจากแหล่งที่ปลอดภัยมาใช้ในการปรุงอาหารให้นักเรียนรับประทานโดยมีนโยบายคือ งดหวาน มันเค็ม ส่งเสริมให้นักเรียนรับประทานผักและผลไม้ที่มีในท้องถิ่นเช่นกล้วยส้ม เงาะลำใยและมะละกอ เพราะในท้องถิ่นเป็นแหล่งที่มีการผลิตผลไม้ตามฤดูกาลส่งออกจำหน่ายไปยังจังหวัดใกล้เคียงอยู่แล้ว - การจัดอาหารกลางวันจัดทำโดยจ้างแม่ครัวและครูเวรประจำวันเป็นคนจัดซื้ออาหารที่สามารถเลือกวัสดุที่สดใหม่มาประกอบอาหารมีการให้ความรู้ ปฐมนิเทศแม่ครัวและครูเป็นประจำทุกเดือน หรือมีการเสนอแนะในเรื่องการทำความสะอาดของบริเวณโรงครัวเป็นประจำ -การจัดกิจกรรมสร้างนิสัยให้นักเรียนมีมารยาทในการรับประทานอาหารโดยการให้ผู้นำพาน้องๆนั่งสมาธิก่อนรับประทานอาหารประมาณ 5นาทีแล้วพิจารณาอาหารและนั่งรับประทานอาหารพร้อมกันอย่างเรียบร้อย - ครูเวรประจำวันให้ความรู้เรื่องสุขภาพ ก่อนรับประทานอาหารทุกวัน - จัดเวรนักเรียนช่วยเก็บกวาด ล้างจานวันละ 6 คนเพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานด้วยจิตอาสาช่วยเหลือ ตอบแทนส่วนร่วม

การส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตวัตถุดิบที่ปลอดสารพิษส่งจำหน่ายให้โรงเรียนนำมาประกอบอาหาร กลางวันและการบูรณาการวิชาการงานอาชีพกับอาหารกลางวันจะทำให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการผลิตอาหารที่สดใหม่ สะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภคเช่นการทำขนมไทยกล้วยบวชชีเป็นต้น

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

กิจกรรม "ดูแลใกล้ชิต พิชิตโรค"

โรงเรียนได้เฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการโดยการของนักเรียนโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเดือนละ 1ครั้งนอกจากนี้ยังส่งเสริมให้นักเรียนออกกำลังกายทุกวันๆละ20 -30นาทีหลังเลิกเรียน มีการทดสอบสมรรถภาพทางกายภาคเรียนละ1 ครั้งทีสำคัญโรงเรียนได้ดูแลนักเรียนที่มีปัญหาด้านสุขภาพอย่างใกล้ชิดจัดแบ่งนักเรียนออกเป็น3กลุ่มคือกลุ่มน้ำหนักเกินกลุ่มผอมและกลุ่มปกติ ได้ให้ความรู้และดูแลในเรื่องการจัดอาหารอย่างใกล้ชิดจากการสอบถามนักเรียนอ้วนพบว่านักเรียนทุกคนชอบซื้ออาหารประเภททอดซื้อจากจากรถเร่ในชุมชน ผู้ปกครองไม่ปรุงอาหารรับประทานเอง ทำให้เด็กมักง่าย ซื้ออาหารตามใจชอบส่วนเด็กผอมส่วนใหญ่เป็นกรรมพันธ์รับประทานน้อย และไม่ชอบออกกำลังกายจะชอบเล่นตามใจชอบ

การดูแลภาวโภชนาการอย่างใกล้ชิตเป็นประจำและจัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องโดยการบูรณาการเข้ากับกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้อย่างน้อยสัปดาห์ละ3 วัน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

 

 

 

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

กิจกรรม"ปลอดโรคปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม"

โรงเรียนได้จัดกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งภายในห้องเรียน และนอกห้องเรียนได้แก่การจัดกิจกรรมประกวดห้องเรียนสะอาดโดยให้ครูเวรประจำวันร่วมกันตรวจความสะอาดทุกวันรายงานหน้าเสาธง เสนอแนะ ปรับประและมอบธงห้องที่ผ่านเกณฑ์ - อบรมแม่ครัวในการรักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องประกอบอาหารกลางวันโดยส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการกวาด เช็ดถูและการล้างภาชนะอุปกรณ์การปรุงอาหาร -การจัดกิจกรรมพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมโดยการสอนให้ปิดนำ้ ปิดไฟฟ้าเมื่อให้งานโดยเขียนป้ายประชาสัมพันธ์และปฏิบัติเป็นแบบอย่าง -การจัดกิจกรรมจิตอาสาพาน้องเดินโดยให้นักเรียนรุ่นพี่พาสมาชิกในกลุ่มออกเก็บขยะทุกวันจันทร์ แล้วนำขยะที่ได้มาคัดแยก - กิจกรรมประกวดโครงงานขยะรีไซเคิล - การจัดทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้ไว้ใช้ในการปลูกพืชปลอดสารพิษเป็นการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง - โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนคุณภาพ 5 ดาวด้านสิ่งแวดล้อมและโล่โรงเรียนปลอดขยะระดับดีเด่นจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษเขต4 รางวัลโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทองจากจังหวัดศรีสะเกษและเป็นโรงเรียนต้นแบบSMARTCHILDREN ในวาระ"ขุนหาญเมืองสะอาด SMART CITY" ปี 2560

การสร้างสุขนิสัยในการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านตลอดจนการส่งเสริมให้ผู้ปกครองเข้ามารับรู้และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

กิจกรรม "สวยด้วยมือเรา"

  • ส่งเสริมให้ครูตรวจสุขภาพนักเรียนทุกวันได้แก่ ร่างกายเล็บ ผม ปากและฟันหูตา โดยการตรวจของครูประจำชั้นและมีการเชิญเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบัว ถ้ามีการผิดปกติอย่างรุนแรงจะส่งต่อให้ตรวจรักษาที่โรงพยาบาลต่อไป
  • กิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน
  • การประกวดฟันสวย โรงเรียนจัดกิจกรรมร่วมกับเทศบาลตำบลขุนหาญและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อ.ส.ม.) หมู่ที่ 9 และหมู่ที่1
  • จัดสถานที่ออกกำลังกายไว้บริการนักเรียนให้เหมาะสมกับวัย
  • จัดอบรมผู้นำนักเรียนฝ่ายส่งเสริมสุขภาพเพื่อเป็นผู้นำในการช่วยเหลือครูดูแลน้องๆในด้านสุขภาพ
  • การจัดห้องพยาบาลที่สะอาดถูกสุขลักษณะไว้บริการนักเรียนเวลาเจ็บป่วยเล็กน้อย -จัดสถานที่ล้างมือไว้บริการนักเรียนทุกชั้น
  • จัดห้องน้ำห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะและจัดเวรดูแลความสะอาด มีอุปกรณ์ไว้บริการนักเรียนอย่างครบครัน

การสร้างนิสัยในเรื่องการดูแลพัฒนาสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัวเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องให้เกิดเป็นนิสัย

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

กิจกรรม"รวมพลังสร้างงานสร้างอาชีพและรายได้"

-โรงเรียนส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการเกษตร โดยผ่านกระบวนทำงานเป็นกลุ่ม จัดทำโครงงาน ทำให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ กระบวนการทำงานเป็นกลุ่มฝึกการนำเสนอ ได้แก่การปลูกพืชการเลี้ยงสัตว์ -กิจกรรมบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงกับการเกษตรในโรงเรียน นอกจากจะนำผลผลิตเกษตรสู่สหกรณ์โดยตรงเช่นไข่ไก่ปลากผักสด แล้วยังนำใบตองจากต้นกล้วยมาทำขนมเทียน ข้าวต้มผัดส่งร้านค้าสหกรณ์แล้วจำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวันทำให้นักเรียนได้เรียนรู้งานอาชีพได้รับประทานอาหารสะอาด สดใหม่ และสามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิกในกลุ่มแล้วนำไปฝากออมทรัพย์ รับคืนเมือ่สิ้นปีการศึกษา

การพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมบูรณาการกับทุกกลุ่มสาระวิชาสร้างความตระหนักให้ครูปฏิบัติเป็นแบบอย่างแก่ผู้เรียนและชุมชน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
9. อื่น ๆ

กิจกรรม"ร่วมคิดร่วมทำ และร่วมประเมิน"

การดำเนินงานทุกงานต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายโดยเฉพาะครู นักเรียนและผู้ปกครองผู้นำในระดับท้องที่กิจกรรมการประเมินตนเองเป็นเรื่องที่สำคัญที่โรงเรียนได้จัดให้เพื่อนำข้อมูลจากทุกฝ่ายมาประบปรุงแก้ไขในปีต่อไป สรุปผลการประเมินตนเอง พบข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้ - ด้านเกษตรอยากให้ชุมชนมาช่วยเหลือนักเรียนในด้านการขุดแปลงการจัดหาปุ๋ยส่วนเรื่องอื่นๆให้ครูเป็นผู้ดูแล
- ด้านสิ่งแวดล้อมอยากให้โรงเรียนจัดกิจกรรมให้ผู้ปกครองมาพัฒนาโรงเรียนเดือนละ1ครั้ง
- ด้านการจัดบริการอาหารควรจัดอาหารที่ปลอดสารพิษคือซื้อจากคนในชุมชนที่เชื่อถือได้ -ด้านสหกรณ์นักเรียนควรจัดให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจำหน่ายสินค้าหรือซื้อสินค้าจากร้านสหกรณ์และมีเงินปันผลเฉลี่ยคืนให้เมื่อสิ้นปี

การส่งเสริมให้ทุกฝ่ายให้มีส่วนร่วมตั้งแต่การวางแผนการปฏิบัติและมีส่วนร่วมในการประเมินผลโดยเฉพาะรูปแบบการประเมินตนเอง

2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายได้แก่ บุคลากรครูเทศบาลตำบลขุนหาญสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมธนาคารขยะสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสนับสนุนวิทยากรให้ความรู้เรื่องสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบัวสนับสนุนบุคลาการในการตรวจสุขภาพและเป็นวิทยากรในการอบรมนักเรียนและผู้ปกครองนอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาในด้านการใช้แรงงานในการปรับปรุงพัฒนาอาคารสถานที่ด้วยดีมาตลอดและยังได้รับความร่วมมือจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต4ในการนิเทศติดตามเสนอแนะงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

ผู้บริหารมีความมุ่งมั่นตั้งใจมีความพร้อมในการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีความตระหนักในการพัฒนาอาหารร่วมกันและการได้รับความร่วมมือจากองค์กรเครือข่ายเป็นอย่างดี

3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

ผู้สนับสนุนโครงการที่จัดสรรงบประมาณช่วยเหลือที่สำคัญเป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์ทำให้เิกิดผลโดยตรงต่อผู้เรียนจึงได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ที่สำคัญเป็นความตระหนักที่จะการทำงานเพื่อถวายสมเด็จเจ้าฟ้านักโภชนาการ

4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

ครู้ได้รับการอบรมพัฒนาตนเองในเรื่องการใช้เทคโนโลยีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการทักษะชีวิตกับกลุ่มสาระการเรียนรู้เรียนรู้ต่างๆและเกิดการเรียนรู้ไปพร้อมๆกับนักเรียน ส่วนแม่ครัวได้รับการนิเทศกำกับติดตามจากคณะกรรมการนิเทศภายในทำให้มีการปรับปรุงพัฒนาการทำงานให้เป็นไปตามตัวชี้วัด

5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

ผู้ปกครองมีส่วนร่วมทุกกิจกรรมในหลายช่องทาง ได้แก่การประชาสัมพันธ์จากแผ่นพับของโรงเรียน การประชุมอบรมการร่วมปฏิบัติกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

1.กล้วยน้ำว้าผู้รับผิดชอบชั้นป1ผู้รับผิดชอบชั้นป1 และชั้น ป.5 มีผลผลิตจำนวน128หวี 2.ชะอม ผู้รับผิดชอบชั้นป2 และชั้น ป.6จำนวน10กก. 3.ผักกาดผักบุ้้งชั้น ป.6จำนวน84.1กก. 4.เห็ดนางฟ้าชั้นป.5จำนวน130กก. ุ5.ผักชีชั้นป.1จำนวน3กก. 6.ปลาดุกชั้น ป5120กก. 7.มะนาวชั้นป 2จำนวน178ลูก 8.ผักสลัด ชั้น ป.1จำนวน10กก. 9.บวบชั้น ป.5จำนวน53กก. 10.ไข่ไก่ชั้นป.6 จำนวน 3565ฟอง 11. ถั่วงอกชั้น ป. 1จำนวน45กก.

รูปภาพสมุดบันทึกกิจกรรมสรุปรายได้

ดำเนินการแบบบูรณาการทุกกิจกรรม และเข้ากับทุกสาระการเรียนรู้

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

การเลี้ยงไก่พันธ์ุไข่จัดการโดยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

รูปภาพหรือสมุดบันทึกผลผลิตการเกษตรรายวัน

การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องทำให้มีการลงทุนน้อยประหยัดและส่งเสริมการเรียนรู้สู่อาชีพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อคอนกรีตโดยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 5

รูปภาพบันทึกผลผลิตที่นำสู่โครงการอาหารกลางวัน

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อคอนกรีตมีการเจริญเติบโตช้าแต่ถ้ามีการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ไปสู่อาชีพได้ ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

จัดอาหารเช้าเป็นบางช่วงเนื่องจากมีข้อจำกัดด้านแม่ครัวโรงเรียนจึงเสริมให้นักเรียนดื่มนมถั่วเหลืองในตอนเช้าสำหรับนักเรียนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง

รูปภาพสมุดบันทึก

โรงเรียนมีความพยายามโดยขอความร่วมมือจากผู้ปกครองนักเรียนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรื่องอาหารเช้า

5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

โรงเรียนจัดอาหารที่มีผักทุกวัน และจัดผลไม้เป็นอาหารเสริมให้นักเรียนรับประทานทุกวัน

รูปภาพ บันทึกการจัดซื้ออาหารกลางวัน

การส่งเสริมให้โรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตอาหารที่ปลอดภัยจำหน่ายสู่โครงการอาหารกลางวันเช่น กล้วยมะละกอผักผลไม้ชนิดต่างๆ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

โรงเรียนจัดอาหารที่มีผักทุกวัน และจัดผลไม้เป็นอาหารเสริมให้นักเรียนรับประทานทุกวัน

รูปภาพ บันทึกการจัดซื้ออาหารกลางวัน

การส่งเสริมให้โรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตอาหารที่ปลอดภัยจำหน่ายสู่โครงการอาหารกลางวันเช่น กล้วยมะละกอผักผลไม้ชนิดต่างๆ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

โรงเรียนไม่มีเด็กอายุเกิน 12ป

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

สร้างความรู้ความเข้าใจประชุมขอความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษาผู้ปกครองนักเรียนช่วยกันผลิตผักผลไม้ที่ปลอดสารพิษจำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวัน

รูปภาพ

สร้างความเข้าใจส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามาร่วมดำเนินการต่อเนื่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

ผลที่เกิดจากการดำเนินโครงการทำให้ชุมชนมีความรู้เกิดความตระหนักในเรื่องอาหารมากขึ้นและหันมาร่วมแรงร่วมใจพัฒนาเด็กในวัยเรียนสังเกตจากการรู้จักเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัยให้ให้บุตรหลานรับประทาน

อาหารที่เด็กได้มาจากบ้าน

การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักและการมาร่วมกิจกรรมกับทางโรงเรียน การอบรมเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองยังต้องการให้จัดเพราะเขาได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็ก

4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

โรงเรียนมีความพยายามจัดอาหารกลางวันตามโปรแกรมแต่ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ วัตถุดิบวัฒนธรรมการรับประทานอาหารของของแต่ละท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องปรับอาหารให้เหมาะสมและได้สารอาหารครบห้าหมู่

ตารางการจัดอาหาร

โรงเรียนมีความพยายามศึกษาโปรแกรมแต่ไม่สามารถจัดได้จึงต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถาพของท้องถิ่น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

โรงเรียนได้ชั่งนำ้หนักวัดส่วนสูงเดือนละ1ครั้งเพื่อรายงานผู้หาร

แบบบันทึกนำ้หนักส่วนสูงในชั้นเรียน

การชั่งน้ำหนักวัดส่วนส่วนสูงแล้วนำมาร่วมกันวิเคราะห์ภาวโภชนาการทุกเดือน

3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

ภาวะ2558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/12560 1/22560 2/12560 2/22561 1/12561 1/22561 2/12561 2/22562 1/12562 1/22562 2/12562 2/22563 1/12563 1/22563 2/1
เตี้ย 4.24 4.24% 7.21 7.21% 3.64 3.64% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 3.36 3.36% 0.85 0.85% 0.85 0.85% 1.69 1.69% 0.79 0.79% 0.79 0.79% 3.91 3.91% 0.78 0.78% 2.46 2.46% 2.44 2.44% 1.63 1.63% 0.82 0.82% 1.68 1.68% 2.54 2.54% 1.72 1.72%
เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 10.17 10.17% 14.41 14.41% 16.36 16.36% 0.92 0.92% 0.92 0.92% 10.08 10.08% 6.84 6.84% 6.78 6.78% 12.71 12.71% 7.09 7.09% 7.09 7.09% 7.81 7.81% 5.47 5.47% 9.84 9.84% 8.94 8.94% 9.76 9.76% 9.84 9.84% 8.40 8.40% 8.47 8.47% 6.03 6.03%
ผอม 6.78 6.78% 4.46 4.46% 1.82 1.82% 2.75 2.75% 1.83 1.83% 5.88 5.88% 2.54 2.54% 6.78 6.78% 6.78 6.78% 3.94 3.94% 3.15 3.15% 7.03 7.03% 4.69 4.69% 9.02 9.02% 2.44 2.44% 4.88 4.88% 6.56 6.56% 7.56 7.56% 4.24 4.24% 2.59 2.59%
ผอม+ค่อนข้างผอม 10.17 10.17% 16.96 16.96% 6.36 6.36% 8.26 8.26% 8.26 8.26% 12.61 12.61% 6.78 6.78% 9.32 9.32% 9.32 9.32% 10.24 10.24% 11.02 11.02% 16.41 16.41% 18.75 18.75% 17.21 17.21% 8.13 8.13% 13.01 13.01% 9.84 9.84% 19.33 19.33% 17.80 17.80% 14.66 14.66%
อ้วน 0.00 0.00% 2.68 2.68% 4.55 4.55% 1.83 1.83% 2.75 2.75% 3.36 3.36% 3.39 3.39% 2.54 2.54% 2.54 2.54% 3.15 3.15% 3.15 3.15% 2.34 2.34% 2.34 2.34% 2.46 2.46% 1.63 1.63% 1.63 1.63% 1.64 1.64% 1.68 1.68% 3.39 3.39% 1.72 1.72%
เริ่มอ้วน+อ้วน 0.00% 0.00% 5.36% 5.36% 8.18% 8.18% 6.42% 6.42% 4.59% 4.59% 6.72% 6.72% 5.93% 5.93% 4.24% 4.24% 4.24% 4.24% 7.09% 7.09% 4.72% 4.72% 3.91% 3.91% 5.47% 5.47% 5.74% 5.74% 4.88% 4.88% 5.69% 5.69% 6.56% 6.56% 6.72% 6.72% 7.63% 7.63% 6.90% 6.90%
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

โรงเรียนได้จัดครูดูแลอย่างใกล้ชิดเช่น การรับประทานอาหารกลางวันการออกกำลังกายตลอดจนการทานอาหารที่จุกจิกในระหว่างวัน

รูปภาพ

การควบคุได้ผลดีมดูแลนักเรียนเป็นอย่างดีและการร่วมมือกับผู้ปกครองจะทำให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

โรงเรียนได้จัดครูดูแลนักเรียนที่ผอมผิดปกติแต่ยังไม่สามารถจัดการได้เนื่องจากผอมมาตั้งแต่กำเนิดส่วนใหญ่มาจากกรรมพันธุ์ พ่อแม่ผอมรับประทานอาหารน้อยชอบรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ออกกำลังกายเล็กน้อย เล่นตามใจชอบ

รูปภาพสมุดบันทึก

การควบคุมได้ผลดีมดูแลนักเรียนเป็นอย่างดีและการร่วมมือกับผู้ปกครองจะทำให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

โรงเรียนได้จัดครูดูแลการรับประทานอาหารการออกกำลังกายแต่ไม่บรรลุผลเนื่องจากเป็นกรรมพันธุ์

รูปภาพ

การร่วมมือกับผู้ปกครองให้นักเรียนดื่มนมเป็นประจำและการสร้างความรู้ความเข้าใจกับชุมชนในเรื่องการดื่มนมในแม่ที่ตั้งครรญ์อาจจะช่วยได้บ้าง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

จัดครูดูแลการรับประทานอาหารกลางวันการออกกำลังกายให้ความรู้เรื่องสารอาหารการมีวินัยในเรื่องการรับประทานอาหารทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนรวมถึงการประสานงานกับผู้ปกครอง

รูปภาพบันทึก

การร่วมมือกับผู้ปกครองให้นักเรียนดื่มนมเป็นประจำและการสร้างความรู้ความเข้าใจกับชุมชนในเรื่องการดื่มนมในแม่ที่ตั้งครรญ์อาจจะช่วยได้บ้าง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

มีผู้ปกครองบางคนที่มีความตระหนักให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนเพราะผู้ปกครองส่วนใหญ่ไปขายผักที่ตลาดตั้งแต่เช้าตรู่ไม่มีเวลาจัดอาหารเช้าให้เด็ก

 

การส่งเสริมให้ผู้ปกครองร่วมกันแก้ปัญหารจะทำให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

คณะกรรมการสถานศึกษามีความเข้าใจมีความตระหนักในการพัฒนาอาหารเด็กร่วมกันเช่นการจัดหาเครื่องเล่นออกกำลังกายการพัฒนาสิ่งแวดล้อมตลอดจนการจัดหางบประมาณมาร่วมพัฒนาโรงเรียนมากขึ้น

รูปภาพบันทึกการประชุม

การส่งเสริมความร่วมมือจากองค์กรชุมชนทุกภาคส่วน

5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายได้แก่ บุคลากรครูเทศบาลตำบลขุนหาญสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมธนาคารขยะสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสนับสนุนวิทยากรให้ความรู้เรื่องสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบัวสนับสนุนบุคลาการในการตรวจสุขภาพและเป็นวิทยากรในการอบรมนักเรียนและผู้ปกครองนอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาในด้านการใช้แรงงานในการปรับปรุงพัฒนาอาคารสถานที่ด้วยดีมาตลอดและยังได้รับความร่วมมือจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต4ในการนิเทศติดตามเสนอแนะงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

หมายเหตุ *

  • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh