ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

โรงเรียนบ้านโคกหัวช้าง

ทำนา24 พฤษภาคม 2559
24
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย สมกิจ อาจจุฬา
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. การเลือกพื้นที่ปลูก : เราเลือกพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ติดต่อกัน และมีความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยธรรมชาติค่อนข้างสูง จำนวนพื้นที่ 6 ไร่ ตั้งอยู่ ณ หมู่ 10 ต.เสม็ด อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์
    เป็นโรงเรียนปลอดมลพิษทางอากาศอย่างสิ้นเขิง ทั้งแปลงนาล้อมรอบด้วยพืชกันชนและคลองเก็บน้ำในแปลง เพื่อให้เป็นพื้นที่บริสุทธิ์ในการผลิตข้าวอินทรีย์สมบูรณ์แบบ
  2. การเลือกใช้พันธุ์ข้าว : เราเลือกพันธุ์ข้าวที่ดีที่สุดในโลกพันธุ์หนึ่งก็คือข้าวไรซ์เบอร์รี่ โดยใช้เมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสนเป็นการเฉพาะ
    นำมาปลูกหมุนเวียนตลอดมาโดยไม่ใช้พันธุ์ซ้ำ ช้าวไรซ์เบอร์รี่ จากแปลงของเราจึงสะอาด บริสุทธิ์ ปราศจากพันธุ์ปนอย่างแท้จริง
  3. การเตรียมดิน : การเตรียมดินเพื่อปลูกข้าวอินทรีย์ไรซ์เบอร์รี่ย์ ถือเป็นหัวใจหลักของการผลิต เพราะถ้าเตรียมไม่ดีพอ จะส่งผลเสียมหาศาลในการผลิตคราวนั้นๆและคราวต่อๆไป เราจึงต้องปรับสภาพดินให้เหมาะสมที่สุด ต่อการปลูกและการเจริญเติบโตของข้าว  โดยการหมักดินด้วยจุลินทรีย์ที่เราผลิตเองตามคำแนะนำของกรมการพัฒนาที่ดิน เพื่อให้ช่วยควบคุมวัชพืช โรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าวบางชนิด จากนั้นจึงไถดะ ไถแปร คราด และทำเทือก
  4. วิธีปลูก : การปลูกข้าวอินทรีย์ไรซ์เบอร์รี่ ใช้วิธีปักดำ ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการผลิตข้าวอินทรีย์ เพราะการเตรียมดิน ทำเทือก การควบคุมระดับน้ำในนาจะช่วยลดปริมาณวัชพืชได้  และการปลูกกล้าข้าวลงดิน จะช่วยให้ข้าวสามารถแข่งขันกับวัชพืชได้ ต้นกล้าที่ใช้ปักดำ มีอายุประมาณ 20 วัน เป็นต้นกล้าที่เจริญเติบโตแข็งแรงดี ปราศจากโรคและแมลงทำลาย
  5. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน 1) การจัดการดินเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้เหมาะสมกับการใช้ปลูกข้าวอินทรีย์ไรซ์เบอร์รี่

- เราไม่เผาตอซัง ฟางข้าว และเศษวัสดุอินทรีย์ในแปลงนา เพราะเป็นการทำลายอินทรียวัตถุและ จุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์
- เราเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินโดยการปลูกพืชโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วในที่ว่างในบริเวณพื้นที่นาตามความเหมาะสม แล้วใช้อินทรียวัตถุที่เกิดจากการเลี้ยงไส้เดือน ทั้งมูลและน้ำเลี้ยง บำรุงทั่วแปลงนาอย่างต่อเนื่อง
ทั่วทั้งแปลงจึงอุดมสมบูรณ์ สังเกตได้จากมูลไส้เดือนกระจายตัวอยู่ทั่วไป
2. น้ำหมักชีวภาพ หรือน้ำสกัดชีวภาพ (Bio Extract) เราทำใช้เองจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา ในครัวเรือน นำมาหมักร่วมกับกากน้ำตาล (Mollass) ละลายน้ำ น้ำสกัดจากพืช ผลไม้ได้แก่ผักต่างๆ ใบสะเดา ตะไคร้หอม พืชสมุนไพรต่างๆ มะม่วง สับปะรด กล้วย มะละกอ ฟักทอง  น้ำสกัดจากสัตว์ ได้แก่ ไส้ปลา หอยเชอรี่ เป็นต้น

      วิธีใช้น้ำหมักในนาข้าวอินทรีย์ไรซ์เบอร์รี่ ครั้งที่ 1 หลังทำเทือก ใช้น้ำหมักพืชที่ทำขึ้น อัตรา 5 ลิตรต่อไร่ ผสมน้ำเปล่า 10 เท่า ราดให้ทั่ว ก่อนการปักดำข้าว ครั้งที่ 2 ระยะข้าวแตกกอหรือหลังจากปักดำข้าวไปแล้ว 30 วัน ใช้น้ำหมักจากเนื้อ อัตรา 5 ลิตรต่อไร่ผสมน้ำเปล่าเท่ากันกับครั้งที่ 1 ราดให้ทั่ว ครั้งที่ 3 ระยะข้าวเริ่มตั้งท้องใช้น้ำหมักผลไม้ อัตรา 250 ซีซีต่อไร่ ผสมน้ำเปล่า 50 เท่าพ่นทั่วแปลง ครั้งที่ 4 และ 5 ฉีดพ่นด้วยน้ำหมักจากผลไม้ หลังจากครั้งที่ 3 เป็นเวลา 15 และ 30 วัน 3) การใช้อินทรียวัตถุบางอย่างทดแทนปุ๋ยเคมี  เราใช้แหนแดงหว่านทั่วแปลงเพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดินตลอดเวลา
การกำจัดวัชพืชโดยการถอนด้วยมือ
ระบบน้ำสะอาดภายในแปลงนา
การบรรจุเพื่อการจำหน่าย
    ข้าวอินทรีย์ไรซ์เบอร์รี่บรรจุอยู่ในถุงขนาดเล็กตั้งแต่ 1 กิโลกรัม ถึง 2 กิโลกรัม โดยบรรจุในสภาพสูญญากาศ ไม่มีการเติมแก๊สหรือสารใดๆ เพราะในสภาพสุญญากาศ จะเป็นการหยุดศัตรูเมล็ดข้าวได้ดีที่สุด สนใจเที่ยวชมแปลงนาข้าวอินทรีย์ไรซ์เบอร์รี่ หรือสั่งซื้อสินค้า  โทร. 082-6017807

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นักเรียนได้้เรียนรู้การทำนา และนำประสบการณ์ในการทำนา นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 136 คน จากที่ตั้งไว้ 117 คน
ประกอบด้วย