รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 26 (บ้านหนองหิน)
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 100,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสนอง แก้วอำไพ
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นางวิภาพร เบียดกลาง
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นางกันยารัตน์ เข็มผะกา
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นางแฉล้ม มากพูน
ที่ปรึกษาโครงการ 1 นางสาวศุลีมาศ ราชประโคน
ที่ปรึกษาโครงการ 2 นายทองสุข หล่อแหลม
ที่ปรึกษาโครงการ 3 นายเหลือ แก้วกาญจน์
ผู้ประสานงานภาค นายธนา เวชากุล,นายสุชิน คเณสุข
หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณะสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและมีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544 พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียน ไทยรัฐวิทยา 26 (บ้านหนองหิน) จึงได้เข้าร่วม1 โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

กรอบแนวคิด

1.โรงเรียนจัดการกิจกรรมเกี่ยวกับเกษตรในโรงเรียน เช่น ปลูกผักสวนครัว สวนกล้วยในโรงเรียน ปลูกผลไม้เพื่อเด็กนักเรียน ตลอดจนการปศุสัตว์ ได้แก่ การเลี่ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวัน เลี้ยงปลาเพื่อโครงการอาหารกลางวัน เป็นต้นโดยมอบหมายให้ครูและนักเรียนเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกัน 2. จัดให้มีระบบสหกรณ์ในโรงเรียน โดยมีนักเรียนและคณะครูเป็นสมาชิกสหกรณ์มอบหมายให้นักเรียนเป็นกรรมการสหกรณ์ ทำหน้าที่ในการจัดการเกี่ยวกับระบบสหกรณ์ ได้แก่ การจำหน่ายสินค้า การจัดทำระบบบัญชี การดูแลกิจกรรมต่างๆในเรื่องของสหกรณ์โรงเรียน ทุกคนมีส่วนร่วม 3. จัดระบบสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน ได้แก่ โรงอาหาร โรงครัวประกอบอาหาร ระบบน้ำดีน้ำเสีย ตลอดจนการปรุงอาหารที่ถูกสุขลักษณะและมีคุณค่าอาหารครบตามหลักโภชนาการ มีการนำระบบ School Lunch มาใช้ในการกำหนดเมนูอาหารในแต่ละวัน 4. งานอนามัยโรงเรียนมอบหมายให้ครูอนามัยโรงเรียน และครูที่ปรึกษา ดำเนินการร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บุตาพวง และสาธารณสุขอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ในการดูแลสุขภาพอนามัยนักเรียนชั่งน้ำหนักส่วนสูงตามที่กำหนด และนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกับกรมอนามัยเพื่อดูพัฒนานักเรียนตลอดปีการศึกษา 5. จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและเอื้อต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ดูแลรักษาอุปกรณ์ อาคารสถานที่และบริเวณทั่วไปให้สะอาดอยู่เสมอ 6. จัดให้มีแผนการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมที่กล่าวมาแล้ว เช่น การปลูกพืช การปศุสัตว์ การจัดกิจกรรมสหกรณ์ ตลอดจนการเรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรงเพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้จนเป็นสุขนิสัยที่ดีในการดำรงชีวิต ดังนั้น โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 26(บ้านหนองหิน)จึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่1โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน ตามผลที่คาดหวังของโครงการ สิ่งที่โรงเรียนมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนให้เกิดความต่อเนื่องอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่โรงเรียนอื่นๆมีดังต่อไปนี้
1.จัดระบบต่างๆในโรงเรียนให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง เช่น การดำเนินการเกี่ยวกับอาหารที่ถูกสุขลักษณะโดยมีอาหารที่ปลอดภัย ปลอดสารพิษซึ่งต้องดำเนินการด้วยโรงเรียนเองให้ความรู้และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยสอดแทรกในสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับ อาหารและการดูแลสุขภาพอนามัย ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ครุและผู้เกี่ยวข้องต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการรับประทานอาหาร สอดแทรกให้ความรู้แก่ชุมชน ผู้ปกครองในทุกโอกาส ให้ทุกฝ่ายได้เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืน 2.จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการออกกำลังกาย และส่งเสริมให้นักเรียน ครู ชุมชนผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายเช่นจัดให้มีการเต้นแอโรบิคในเวลาว่าง เชิญชวนชุมชนและผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม โดยประสานแกนนำจากเจ้าหน้าที่ของสาธารณสุขอำเภอเป็นแกนนำ 3.มีการตรวจสอบน้ำหนัก ส่วนสูงนักเรียนตามระยะเวลา นำผลที่ได้มาตรวจสอบภาวะทุพโภชนาการเทียบกับกรมอนามัยเมื่อราบผลของนักเรียนแล้ว ให้มีการควบคุมพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ 4.จัดกิจกรรมประกวดนักเรียนที่มีสุขภาพดีและมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจที่ดี 5.สร้างความตระหนักแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เกี่ยวกับสุขภาพและพลานามัย

(เสนอให้ปรับให้สั้น)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 235
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 20
ผู้ปกครอง 150
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 405405
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 0
อสม. 0
ชุมชน 0
ผู้นำศาสนา 2
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 3
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 15
อื่น ๆ 5
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 25
ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนมีพืชผักสวนครัว ผลไม้ ปลอดสารพิษรับประทานอย่างพอเพียง สะอาด ปลอดภัยตามหลักโภชนาการ 2. โรงเรียนมีระบบสุขาภิบาลอาหารที่ถูกสุขลักษณะและการบริการอาหารกลางวันที่เพียงพอตามหลักโภชนาการ 3. นักเรียนมีสุขภาพกาย ใจ สมบูรณ์แข็งแรง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
4. โรงเรียนเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส

เป้าหมายภาวะโภชนาการ
  1. นักเรียนเจริญเติบโตสมวัยโดยมี 1.1 ภาวะเริ่มอ้วน และอ้วน ไม่เกิน 7 % 1.2 ภาวะค่อนข้างผอม และผอม ไม่เกิน 7 %
    1.3 ภาวะค่อนข้างเตี้ย และเตี้ย ไม่เกิน 7 %
  2. นักเรียนได้กินผัก-ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวันเฉลี่ย 2.1 ผักวันละประมาณ 40 - 100 กรัม -อนุบาล 3 ช้อน (50 กรัม) -ประถม 4 ช้อน (70 กรัม) -มัธยม 5 ช้อน (90 กรัม) 2.2 ผลไม้อนุบาล ส่วนประถมษาศึกษา 1 ส่วน และมัธยม 1 ส่วน
ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล

1.เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จ จะมีการดำเนินการต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร
เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว จะมีการขยายผลไปยังผู้ปกครองนักเรียนเพื่อนำรูปแบบไปดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และจำขยายผลให้แก่โรงเรียนใกล้เคียงได้แก่ 1.1 โรงเรียนบ้าโนนศิลาตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ 1.2 โรงเรียนบ้านโนนทอง ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ 2.ระบุวิธีการขยายผลจากการดำเนินโครงการ และชุมชน หรือผู้อื่นจะใช้ประโยชน์จากผลของโครงการนี้อย่างไร เมื่อดำเนินการสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว จะขยายผลไปยังผู้ปกครองและโรงเรียนเครือข่ายที่มีความสมัครใจดังนี้ 2.1 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีดำเนินการ 2.2 จัดการให้ความรู้โดยการฝึกปฏิบัติจริง 2.3 นำข้อมูลต่างๆที่สำเร็จแล้วขยายผลแก่ผู้สนใจ 2.4 เป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับทุกคน ทุกหน่วยงานที่สนใจ

พื้นที่ตั้งโรงเรียน เลขที่ 100 หมู่ที 4 ตำบลถาวร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
ละติจูด-ลองจิจูด 14.5147447743,102.859997033place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 40,000.00
2 1 ต.ค. 2559 23 มี.ค. 2560 1 ต.ค. 2559 31 มี.ค. 2560 55,000.00
3 24 มี.ค. 2560 30 เม.ย. 2560 5,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียน ชุมชน ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจและปฎิบัติตนตามหลักโภชนาการและสุขาภิบาลได้

นักเรียน ผู้ปกครอง นำความรู้ไปปฏิบัติ และ มีสุขภาพแข็งแรง มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์

2 2. เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ทักษะและทัศนคติที่ดีในการทำเกษตรในโรงเรียน ไว้ใช้สำหรับโครงการอาหารกลางวันหมุนเวียนและเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตในอนาคต

โรงเรียนมีผลผลิตทางการเกษตร ไว้ใช้สำหรับโครงการอาหารกลางวัน

3 3. เพื่อให้โรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้แก่นักเรียนและชุมชนในด้านการเกษตรและโภชนาการ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชมและผู้เกี่ยวข้อง

โรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้แก่นักเรียนและชุมชนในด้านการเกษตรและโภชนาการ

4 4. เพื่อให้นักเรียนทุกคนมีสุขภาพอนามัยแข็งแรงสมบูรณ์ มีภาวะโภชนาการตามวัย สมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์

นักเรียนทุกคนมีสุขภาพอนามัยแข็งแรงสมบูรณ์ มีภาวะโภชนาการตามวัย สมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
1 มิ.ย. 16 - 31 มี.ค. 17 จัดการระบบสหกรณ์นักเรียน 255 1,000.00 1,000.00 more_vert
2 พ.ค. 59 - 31 มี.ค. 60 เฝ้าระวังการเจริญเติบโตและสมรรถภาพทางกายของนักเรียน 240 0.00 0.00 more_vert
10 พ.ค. 59 ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง 50 1,000.00 1,000.00 more_vert
11 พ.ค. 59 ประชุมผู้ปกครอง 200 4,000.00 4,000.00 more_vert
16 พ.ค. 59 - 15 มี.ค. 60 จัดระบบสุขาภิบาลและการบริการอาหารกลางวัน สะอาด ปลอดภัย ถูกหลักโภชนาการ 257 3,000.00 3,000.00 more_vert
16 พ.ค. 59 - 31 มี.ค. 60 จัดบริการสุขภาพแก่นักเรียน 240 3,000.00 3,000.00 more_vert
23 พ.ค. 59 - 22 มี.ค. 60 การเลี้ยงไก่ไข่ 255 21,000.00 21,000.00 more_vert
1 มิ.ย. 59 - 31 มี.ค. 60 การจัดทำเมนูอาหารกลางวัน ด้วยโปรแกรม Thai School Lunch 260 0.00 0.00 more_vert
1 มิ.ย. 59 - 30 เม.ย. 60 การปลูกพืชผักสวนครัว 307 250.00 250.00 more_vert
1 มิ.ย. 59 - 30 เม.ย. 60 การปลูกมะละกอ 260 8,750.00 8,750.00 more_vert
1 มิ.ย. 59 - 30 เม.ย. 60 ป้ายนิเทศให้ความรู้ 265 3,000.00 3,000.00 more_vert
1 มิ.ย. 59 - 31 มี.ค. 60 การเลี้ยงปลาดุก 255 16,000.00 16,000.00 more_vert
31 ส.ค. 59 อบรมเกี่ยวกับโภชนาการและสุขาภิบาล 140 15,000.00 15,000.00 more_vert
28 ก.ย. 59 - 27 ส.ค. 60 การปลูกกล้วย 310 9,000.00 9,000.00 more_vert
30 ก.ย. 59 อบรมเรียนรู้เมนูผัก 150 5,000.00 5,000.00 more_vert
25 ต.ค. 59 การประชุมการจัดทำรายงานศูนย์การเรียนรู้ งวดที่ 1 2 2,000.00 2,000.00 more_vert
25 พ.ย. 59 เรียนรู้ระบบสหกรณ์ 130 1,000.00 1,000.00 more_vert
1 ก.พ. 60 - 31 มี.ค. 60 ตลาดนัดแก้มใส 445 6,000.00 6,000.00 more_vert
1 มี.ค. 60 - 30 เม.ย. 60 จัดทำเอกสาร ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการรายงานและสรุปผลโครงการ 255 1,000.00 1,000.00 more_vert
23 มี.ค. 60 คืนเงินดอกเบี้ยเพื่อปิดโครงการ 2 0.00 29.51 more_vert
รวม 4,278 100,000.00 20 100,029.51

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2559 11:31 น.