ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนบ้านโคกจำเริญ

รหัสโครงการ ศรร.1312-071 รหัสสัญญา 58-00-2265-อ.25 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

วันที่เริ่มประเมิน

1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
1. การเกษตรในโรงเรียน

การปลูกผักสวนครัวในบ่อซีเมนต์

เตรียมพื้นที่สำหรับปลูกผักให้เหมาะสม จัดวางบ่อซีเมนต์ตามระยะที่ต้องการ นำดินผสมกับปุ๋ยคอกเพื่อรองเพื่อบ่อ ให้บริเวณภายในบ่อมีธาตุอาหาร คัดเลือกพันธ์ผักที่จะนำมาปลูก ทางโรงเรียนเลือกฟักทอง และบวบเหลี่ยม รดนำ้ให้ทั่วบ่อเพื่อให้ดินชุ่มชื้น หยอดเมล็ดพันธ์ผักลงในบ่อ ให้ห่างกันพอประมาณ รดนำ้ทุกเช้า และเย็น ดูแลรักษาตลอดการเพาะปลูก เมื่อได้ผลผลิค นำผลผลิตที่ได้ขายให้สหกรณ์นักเรียนเพื่อนำไปประกอบอาหารกลางวัน

โรงเรียนได้กำหนดพื้นที่เพาะปลูกผักสวนครัวในบ่อซีเมนต์เพิ่มเพื่อเป็นการ เพิ่มพื้นที่ในการเพาะปลูกและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเพื่อส่งผลผลิตให้โครงการอาหารกลางวันต่อไป

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
2. สหกรณ์นักเรียน

กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ด้านกิจกรรมส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตร

กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ด้านการส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตร เป็นกิจกรรมที่ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักกระบวนการบริหารรายรับรายจ่ายที่เกิดขึ้น เริ่มจากการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรจากการเกษตรในโรงเรียน แล้วขายต่อให้กับโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน ทำให้นักเรียนมีทักษะที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

นอกจากการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรในโรงเรียนแล้ว ทางกลุ่มสหกรณ์นักเรียนยังได้ขยายตลาดการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรออกไปสู่ชุมชน โดยการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรที่ผู้ปกครองในชุมชนนำมาขายให้กับสหกรณ์นักเรียน เป็นการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนได้อีกทางหนึ่ง

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

การจัดทำรายการอาหารตามโปรแกรมThai school lunch

ทางโรงเรียนมีการประชุมคณะครูและบุคลากร รวมผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเมนูอาหารกลางวันของโรงเรียน เพื่อกำหนดเมนูอาหารกลางวัน ล่วงหน้า 1 เดือน โดยคำนึงถึงวัตถุดิบที่มีอยู่ในกิจกรรมเกษตรในโรงเรียนและผลผลิตที่มีอยู่ในชุมชนเป็นหลัก เมื่อได้รายการอาหารเสร็จแล้ว นำมาคำนวณเข้ากับโปรแกรมThai school lunch เพื่่อให้ได้สารอาหารครบ 5 หมู่

ทางโรงเรียนได้ให้ความสำคัญกับการจัดบริการอาหารของโรงเรียนเป็นอย่างมาก จึงได้ขยายโรงอาหารเพื่อให้ถูกสุขลักษณะ และเหมาะสมกับนักเรียน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

1.กิจกรรมเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียน 2.กิจกรรมการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียน

1.ทำการชั่งนำ้หนักและวัดส่วนสูงของนักเรียนแล้วนำมาคำนวณกับโปรแกรมของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลจากนั้นคัดกรองนักเรียออกเป็นกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอ้วน เตี้ย และผอม ออกจากกลุ่มนักเรียนปกติ ติดตามภาวะการเจริญเติบโตของนักเรียนกลุ่มดังกล่าว โดยแยกตักอาหาร และควบคุมปริมาณอาหารของนักเรียน และจัดตารางการออกกำลังกายในช่วงชั่วโมง ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ และทำการชั่งนำ้หนักและวัดส่วนสูงเป็นระยะ 2.ทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนทุกคน โดยทดสอบภาคเรียนละ 1 ครั้ง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาแปรผล เพื่อหาค่าความแข็งแรงของนักเรียน

1.ติดตามนักเรียนกลุ่มที่มีภาวะทุพโภชนาการแล้วสร้างความเข้าใจกับตัวนักเรียนและผู้ปกครองเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยกัน 2.ทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเน้นสำหรับนักเรียนที่มีสมรรถภาพทางกายที่ไม่ดี พร้อมทั้งหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาของนักเรียนแต่ละคน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

1.โครงงานสุขภาพ ฟันสวย ยิ้มใส ใส่ใจสุขภาพช่องปาก 2.กิจกรรมการแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร 3.ชมรม อย.น้อย

1.โครงงานสุขภาพ ฟันสวยย้ิมใส ใส่ใจสุขภาพช่องปาก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการแปรงฟันของนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกจำเริญ โดยการทดลองให้นักเรียนรู้จักวิธีการแปรงฟันที่ถูกวิธี เพื่อเป็นการดูแลช่องปากของตนเอง 2.หลักฐานเป็นเล่มโครงงานสุขภาพ ฟันสวย ยิ้มใส ใส่ใจสุขภาพช่องปาก 3.กิจกรรมของชมรม อย.น้อย 4.ภาพกิจกรรมการแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน

ทางโรงเรียนได้ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักวิธีการรักษาสุขภาพอนามัยของตนเอง แล้วสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในกิจวัตรประจำวัน สามารถนำไปใช้ในครอบครัวและชุมชนได้

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

โรงเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 28 ข้อ ของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร

-โรงเรียนมีการปรับปรุงพัฒนาบริบทและสภาพแวดล้อมในโรงเรียนทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ สนามและบริเวณ อาคารเรียน ห้องเรียนห้องสมุด ห้องพยาบาล สถานที่แปรงฟัน การกำจัดขยะ นำ้เสียและพาหะนำโรค การป้องกันและความปลอดภัยรวมทั้งกิจกรรมการจัดการส่ิงแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ ส่งผลให้โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมตามเกณฑ์มาตรฐานสุขภาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน -หลัฐาน (ผลการประเมินสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน)

โรงเรียนมีการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะมาอย่างต่อเนื่องโดยได้ปลูกฝังให้นักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนทุกคนตระหนักและเห็นความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และจะขยายต่อไปในชุมชน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

กิจกรรมการตรวจสุขภาพของนักเรียนทุกคน

1.การตรวจสุขภาพฟัน โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตานี 2.การตรวจวัดสายตาโดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตานี 3.การตรวจเลือดเพื่อแก้ปัญหานักเรียนที่มีภาวะโลหิตจาง

โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในการตรวจสุขภาพของนักเรียนในเรื่องต่างๆ ซึ่งทางโรงเรียนจะดำเนินการอย่างนี้ต่อไป

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

1.การปลูกผักสวนครัว การเลี้ยงไก่ไข่และไก่พันธ์ุพื้นเมือง การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน 2.กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน 3.การจัดบริการอาหารกลางวัน ตามโปรแกรม Thai school lunch

1.โรงเรียนแบ่งกิจกรรมด้านเกษตรในโรงเรียนให้นักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล1ถึงป.6 รับผิดชอบ ระดับชั้นละอย่างน้อย 1 กิจกรรม
2.เมื่อได้ผลผลิตจากการจัดกิจกรรมเแล้วนำไปจำหน่ายให้กับสหกรณ์นักเรียน ซึ่งมีนักเรียนเป็นผู้ดำเนินกิจกรรม
3.สหกรณ์นักเรียนนำผลผลิตที่รับซื้อจากกิจกรรมเกษตรโรงเรียนจำหน่ายต่อให้โครงการอาหารกลางวัน 4.โครงการอาหารกลางวันนำผลผลิตที่ได้มาทำเป็นเมนูอาหาร ตามโปรแกรม Thai school lunch
5.จัดบริการอาหารกลางวันให้กับนักเรียนทุกคน โดยแยกปริมาณการตักให้กับนักเรียนแต่ละกลุ่ม

โรงเรียนจะนำหลักการ การดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใส ไปใช้จัดกิจกรรมให้นักเรียนต่อไปเรื่อยๆ

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
9. อื่น ๆ

กิจกรรมการพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียน

1.โรงเรีนยได้รับความร่วมมอือจากผู้ปกครองและผู้นำชุมชน ในการช่วยพัฒนาโรงเรียนในด้านการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้น่าอยู่และปลอดภัย ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากชุมชน 2.หลักฐาน ภาพการพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนของผู้ปกครองและผู้นำชุมชน

โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากชุมชนเป็นอย่างดี ทำให้การดำเนินกิจกรรมด้านต่างๆประสบความสำเร็จ

2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

หน่วยงานภาคีเครือข่าย ประกอบไปด้วย โรงพยบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตานี ให้ความช่วยเหลือและให้คำแนะนำในเรื่องสุขภาพอนามัย โรงพยาบาลปราสาท สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปราสาท สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ ศูนย์อนามัยที่ 9 องค์กรต่างๆ ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ องค์การบริหารส่วนตำบาตานี เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดูแลเด็กนักเรียนโรงเรียนรวมทั้งชุมชน ซึ่งเป็นการบูรณาการ การทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีจุดมุ่งหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 1 มาตรา 6 กล่าวว่ว "การศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญาอารมณ์ สังคม มีความรู้ ควบคู่คุณธรรมและมีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข"

2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

โรงเรียนได้พัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้สะอาด ปลอดภัย และน่าอยู่ ดูแลอาคาร สถานที่ ห้องน้ำ ห้องส้วม ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และสะอาด จัดบริการอนามัยส่ิงแวดล้อมที่เหมาะสมและเพียงพอกับนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา มีบริเวณที่กำจัดขยะ มีการคัดแยกขยะก่อนที้ง มีบริการถังขยะตามจุดต่างๆ ปลูกฝังให้นักเรียนรับผิดชอบและช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดของโรงเรียน รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากชุมชนในการกำจัดขยะและการดูแลความสะอาดของชุมชนด้วย

3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

การสร้างทีมงาน โดยการนำของท่านผู้บริหารโรงเรียนและความร่วมมือร่วมใจกันของคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและมีหน้าที่รับผิดชอบงานและเข้าใจในโครงการเหมือนกันทุกคน จากนั้นนำความรู้ที่ได้มาถ่ายทอดให้กับนักเรียนและผู้ปกครองรวมทั้งชุมชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างเครือข่ายแก่ชุมชนและผู้ปกครอง พร้อมทั้งพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์เรียนรู้ที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ในองค์ประกอบต่างๆ สู่หน่วยงานอื่นได้

4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

ทางโรงเรียนได้มีการจัดประชุมคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้ทราบถึงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการ พร้อมทั้งทำความเข้าใจและถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เด็กนักเรียน โดยให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทั้ง 8 องค์ประกอบ เพื่อให้เกิดทักษะและความรู้ที่แท้จริงกับตัวนักเรียนเอง

5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน ทางโรงเรียนได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้ปกครองและชุมชน รวมถึงองค์การบริการส่วนตำบลตานี โดยเร่ิมจากการจัดประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองและชุมชน และเปิดโอกาสใหู้้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกกรรมของโครงการ เช่น ระดมผู้ปกครองและชุมชนในการเตรียมแปลงผักและร่วมกันปลูกผักสวนครัว รวมทั้งร่วมมือกันในการจัดภูมิทัศน์ของโรงเรียนให้ร่มรื่น น่าอยู่ น่าเรียน ซึ่งกิจกรรมต่างๆท่ี่ทางโรงเรียนนำเสนอได้รับความร่วมมือและได้รับความสนใจจากผู้ปกครองเป็นจำนวนมาก

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

โรงเรียนแบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็นส่วนๆแล้วมอบหมายให้นักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นป.6 รับผิดชอบปลูกผักสวนครัว เมื่อได้ผลผลิตก็นำไปจำหน่ายให้สหกรณ์นักเรียน

-บัญชีรายรับรายจ่ายการปลูกผักของแต่ระดับชั้น -บัญชีรายรับรายจ่ายของสหกรณ์นักเรียน -รูปภาพการดำเนินกิจกรรม

โรงเรียนจะจัดหาพื้นที่เพาะปลูกผักสวนครัวเพิมเพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพียงพอต่อการนำไปประกอบอาหารกลางวัน และจะรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรของผู้ปกครองและคนในชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

1.การเลี้ยงไก่ไข่ จำนวน 40 ตัว ให้ไข่วันละประมาณ 35 ฟอง ในหนึ่งสัปดาห์สามารถนำไปประกอบอาหารกลางวันได้อย่างน้อย 1 มื้อ 2.การเลี้ยงไก่พันธ์ุพ้ืนเมือง จำนวน 100 ตัว เมื่อโตเต็มวัยสามารถนำมาประกอบอาหารกลางวันได้

1.บัญชีการเก็บไข่ในแต่ละวัน 2.บัญชีรายรับรายจ่ายกิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่และการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง 3.บัญชีรายรับรายจ่ายกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน 4.รูปภาพกิจกรรม

1.เนื่องจากปริมาณไข่ไก่ไม่เพียงพอ จึงมีนโยบายที่จะขยายโรงเรือนและเพิ่มจำนวนไก่ไข่เป็น 100 ตัว 2.ขยายโรงเรือนและเพิ่มจำนวนไก่พันธุ์พื้นเมือง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

โรงเรียนดำเนินการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน จำนวน 3 บ่อ เพื่อจำหน่ายผลผลิตให้กับสหกรณ์นักเรียน

1.บัญชีรายรับรายจ่ายกิจกรรมการเลี้ยงปลาดุก 2.บัญชีรายรับรายจ่ายกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน 3.รูปภาพกิจกรรม

1.เนื่องจากปริมาณปลาดุกที่เลี้ยงมีจำนวนน้อยเกินไป จึงมีนโยบายที่จะเพิ่มบ่อเลี้ยงเป็น 4 บ่อ เพื่อเพิ่มปริมาณปลาให้มากขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

เนื่องจากมีเด็กบางคนไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาเรียน ทำให้เด็กขาดสารอาหาและเรียนไม่รู้เรื่องทางโรงเรียนจึงได้มีการสำรวจจำนวนเด็ก และจัดบริการอาหารเช้าให้กับเด็กกลุ่มดังกล่าว ต่อมาได้มีการประชุมผู้ปกครองเรื่องภาวะโภชนาการของนักเรียน และอธิบายถึงความสำคัญของการรับประทานอาหารเช้าทำให้ผู้ปกครองตระหนักและเห็นความสำคัญของอาหารเช้า จึงทำให้จำนวนนักเรียนที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาเรียนลดลงจนเหลือ 0 เปอร์เซนต์

1.รายชื่อนักเรียนที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาเรียน 2.ภาพการให้บริการอาหารเช้าแก่นักเรียน

หากมีนักเรียนที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาเรียนอีก โรงเรียนก็พร้อมที่จะจัดบริการอาหารเช้าให้

5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

ในการจัดบริการอาหารกลางวันตามโปรแกรม Thai school lunch อาหารทุกมื้อที่เด็กรับประทานจะมีปริมาณผักและมีผลไม้อยู่ในสำรับอาหาร และเด็กทุกคนต้องกินให้หมด ทำให้เด็กได้รับประทานผักและผลไม้ในปริมาณที่เพียงพอ

1.กิจกรรมการบริการอาหารตามโปรแกรม Thai school lunch 2.ภาพการจัดกิจกรรมการบริการอาหารกลางวัน 3.รายการอาหารสำหรับเด็กอนุบาล 3-5 ปี

1.โรงเรียนมีนโยบายให้นักเรียนทุกคนรักและชอบรับประทานผักโดยเฉพาะผักที่กนัเรียนปลูกเอง ทำให้เด็กมีนิสัยรักในการบริโภคผัก

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

ในการจัดบริการอาหารกลางวันตามโปรแกรม Thai school lunch อาหารทุกมื้อที่เด็กรับประทานจะมีปริมาณผักและมีผลไม้อยู่ในสำรับอาหาร และเด็กทุกคนต้องกินให้หมด ทำให้เด็กได้รับประทานผักและผลไม้ในปริมาณที่เพียงพอ

1.กิจกรรมการบริการอาหารตามโปรแกรม Thai school lunch 2.ภาพการจัดกิจกรรมการบริการอาหารกลางวัน 3.รายการอาหารสำหรับเด็กประถม 6-12 ปี

โรงเรียนมีนโยบายให้นักเรียนทุกคนรักและชอบรับประทานผักโดยเฉพาะผักที่กนัเรียนปลูกเอง ทำให้เด็กมีนิสัยรักในการบริโภคผัก

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

โรงเรียนได้ประชุมผู้ปกครองและคนในชุมชน เพื่อรับซื้อผลผลิตของคนในชุมชน โดยมีข้อแม้ว่าผลผลิตที่ได้ต้องปลอดสารพิษ เพื่อให้ลูกหลานของคนในชุมชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษอย่างแท้จริง ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีและมีผู้ปกครองนำผลผลิตมาจำหน่ายให้กับโรงเรียนผ่านทางสหกรณ์นักเรียนเป็นประจำ

1.บัญชีรายรับรายจ่ายของกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน 2.รูปภาพการจำหน่ายผลผลิต

โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนใเพื่อให้ความสำคัญกับการผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษเพื่อให้ลูกหลานได้รับอาหารที่มีประโยนชน์

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

โรงเรียนมีการประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อกำหนดรายการอาหาร และจัดทำเมนูอาหารล่วงหน้า 1 เดือน โดยใช้โปรแกรม Thai school lunch ซึ่งอาหารในแต่ละวันจะมีสารอาหารครบ 5 หมู่ และจะมีผักและผลไม้ในสำรับอาหารมื้อนั้นๆด้วย

1.รายการอาหาร 1 เดือน 2.สำรับอาหารในแต่ละมื้อ 3.ภาพกิจกรรมการบริการอาหารกลางวัน

โรงเรียนจะนำความรู้เรื่องการใช้โปรแกรม Thai school lunch ถ่ายทอดให้โรงเรียนต่างๆ ได้นำไปใช้ เพื่อให้ทุกโรงเรียนในเครือข่ายใช้โปรแกรม Thai school lunch จัดบริการอาหารกลางวันให้กับนักเรียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

โรงเรียนทำการชั่งนำ้หนักและวัดส่วนสูงของนักเรียนทุกคน ภาคเรียนละ 2 ครั้ง และทำการแปลผลกับโปรแกรมของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้นคัดกรองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ กลุ่มอ้วน เตี้ย ผอม เพื่อเฝ้าระวังเด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ

1.รายงานภาวะโภชนาการของนักเรียนทุกคน 2.รายงานภาวะโภชนาการของเด็กกลุ่มอ้วน เตี้ย ผอม 3.ภาพการจัดบริการอาหารกลางวันให้กับเด็กกลุ่มอ้วน เตี้ย ผอม

โรงเรียนมีนโยบายที่จะลดจำนวนเด็กกลุ่มอ้วน เตี้ย ผอม ให้น้อยลง โดยการจัดบริการอาหารและจัดตารางการออกกกำลังกายให้กับเด็กกลุ่มดังกล่าว พร้อมทั้งทำความเข้าใจกับผู้ปกครองเพื่อให้ช่วยกันดูแลเอาใจใส่เด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ

3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

ภาวะ2558 1/12558 1/22558 2/12558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/12560 1/22560 2/12560 2/22561 1/12561 1/22561 2/12561 2/22562 1/12562 1/22562 2/1
เตี้ย 6.60 6.60% 6.60 6.60% 6.05 6.05% 6.05 6.05% 6.01 6.01% 6.84 6.84% 5.60 5.60% 6.75 6.75% 3.43 3.43% 5.93 5.93% 3.83 3.83% 5.46 5.46% 3.63 3.63% 4.45 4.45% 4.10 4.10% 4.49 4.49% 2.94 2.94% 2.97 2.97% 3.81 3.81%
เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 14.15 14.15% 13.68 13.68% 11.63 11.63% 11.63 11.63% 11.16 11.16% 14.10 14.10% 11.64 11.64% 12.24 12.24% 10.73 10.73% 14.41 14.41% 12.77 12.77% 12.61 12.61% 9.68 9.68% 9.31 9.31% 8.61 8.61% 8.57 8.57% 5.88 5.88% 5.51 5.51% 5.93 5.93%
ผอม 5.66 5.66% 5.19 5.19% 4.19 4.19% 4.19 4.19% 5.58 5.58% 4.70 4.70% 2.59 2.59% 2.95 2.95% 4.29 4.29% 3.39 3.39% 2.98 2.98% 1.26 1.26% 3.23 3.23% 4.55 4.55% 4.12 4.12% 3.28 3.28% 3.78 3.78% 3.39 3.39% 3.39 3.39%
ผอม+ค่อนข้างผอม 12.74 12.74% 12.26 12.26% 9.30 9.30% 9.30 9.30% 12.88 12.88% 10.68 10.68% 9.05 9.05% 8.02 8.02% 10.30 10.30% 11.44 11.44% 10.21 10.21% 7.98 7.98% 9.27 9.27% 11.57 11.57% 11.11 11.11% 11.07 11.07% 8.40 8.40% 9.32 9.32% 9.75 9.75%
อ้วน 0.94 0.94% 0.94 0.94% 1.86 1.86% 1.86 1.86% 1.29 1.29% 2.14 2.14% 1.72 1.72% 2.53 2.53% 2.15 2.15% 0.42 0.42% 2.98 2.98% 2.52 2.52% 2.82 2.82% 3.31 3.31% 2.06 2.06% 2.46 2.46% 2.52 2.52% 3.39 3.39% 3.39 3.39%
เริ่มอ้วน+อ้วน 4.25% 4.25% 3.30% 3.30% 4.19% 4.19% 4.19% 4.19% 4.29% 4.29% 5.13% 5.13% 4.74% 4.74% 4.64% 4.64% 4.29% 4.29% 2.97% 2.97% 5.96% 5.96% 5.88% 5.88% 6.45% 6.45% 5.79% 5.79% 5.76% 5.76% 6.15% 6.15% 6.30% 6.30% 6.36% 6.36% 6.36% 6.36%
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของนักเรียนทุกคนแล้วแปลผลโดยโปรแกรมของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล แล้วคัดกรองเด็กกลุ่มเร่ิมอ้วนและอ้วน เพื่อทำการจัดบริการอาหารและการออกกำลังกายให้เป็นพิเศษ จาการดำเนินการดังกล่าวพบว่าในภาคเรียนที่1/59 มีนักเรียนเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 4.74ในภาคเรียนท่ี 2/59 มีนักเรียนเริ่มอ้วนและอ้วนจำนวนร้อยละ 4.64 ลดลง ร้อยละ 0.10

1.รายงานภาวะโภชนาการของนักเรียนกลุ่มเริ่มอ้วนและอ้วน 2.การจัดบริการอาหารกลางวันเด็กกลุ่มเริ่มอ้วนและอ้วน 3.ภาพการจัดกิจกรรมให้เด็กกลุ่มเริ่มอ้วนและอ้วน

ทางโรงเรียนมนโยบายที่จะลดจำนวนเด็กกลุ่มเริ่มอ้วนและอ้วนให้น้อยลงโดยการให้ความรู้กับเด็กและผู้ปกครองของเด็กโดยตรงเพื่อให้ช่วยดูและเด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของนักเรียนทุกคนแล้วแปลผลโดยโปรแกรมของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล แล้วคัดกรองเด็กกลุ่มค่อนข้างผอมและผอม เพื่อทำการจัดบริการอาหารและการออกกำลังกายให้เป็นพิเศษ จาการดำเนินการดังกล่าวพบว่า ในภาคเรียนที่1/59มีนักเรียนค่อยข้างผอมและผอม ร้อยละ9.05 และในภาคเรียนท่ี 2/59 มีนักเรียนค่อนข้างผอมและผอม จำนวนร้อยละ8.02 ลดลง ร้อยะล 1.03

1.รายงานภาวะโภชนาการของนักเรียนกลุ่มค่อนข้างผอมและผอม 2.การจัดบริการอาหารกลางวันเด็กกลุ่มค่อนข้างผอมและผอม 3.ภาพการจัดกิจกรรมให้เด็กกลุ่มค่อนข้างผอมและผอม

ทางโรงเรียนมนโยบายที่จะลดจำนวนเด็กกลุ่มค่อนข้างผอมและผอมให้น้อยลงโดยการให้ความรู้กับเด็กและผู้ปกครองของเด็กโดยตรงเพื่อให้ช่วยดูและเด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของนักเรียนทุกคนแล้วแปลผลโดยโปรแกรมของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล แล้วคัดกรองเด็กกลุ่มค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย เพื่อทำการจัดบริการอาหารและการออกกำลังกายให้เป็นพิเศษ จาการดำเนินการดังกล่าวพบว่า ในภาคเรียนที่1/59 มีนักเรียนค่อนข้างผอมแลพผอม ร้อยละ11.64 และในภาคเรียนท่ี 2/59 มีนักเรียนค่อนข้างผอมและผอม จำนวนร้อยละ12.24 เพิ่มขึ้น ร้อยละ0.6 จำนวนร้อยละเพิ่มขึ้นเนื่องจาก มีจำนวนนักเรียนย้ายเข้าเรียนในภาคเรียนที่2/59 เพิ่ม และเป็นนักเรียนที่มีภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย

1.รายงานภาวะโภชนาการของนักเรียนกลุ่มค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย 2.การจัดบริการอาหารกลางวันเด็กกลุ่มค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย 3.ภาพการจัดกิจกรรมให้เด็กกลุ่มค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย

ทางโรงเรียนมนโยบายที่จะลดจำนวนเด็กกลุ่มค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยให้น้อยลงโดยการให้ความรู้กับเด็กและผู้ปกครองของเด็กโดยตรงเพื่อให้ช่วยดูและเด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

1.การคัดกรองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการออกเป็นกลุ่ม คือ กลุ่มเด็กอ้วน เตี้ย และผอม 2.แยกเด็กกลุ่มดังกล่าวเพื่อจัดบริการอาหารกลางวันให้เป็นพิเศษ 3.จัดกิจกรรมการออกกำลังกายเพิ่มจากเด็กปกติ ในชั่วโมง ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ 4.บันทึกผลการชั่งนำ้หนักและวัดส่วนสูงของเด็กกลุ่มดังกล่าวเป็นรายบุคคล

1.รายชื่อนักเรียนกลุ่มอ้วน เตี้ย และผอม 2.รายงานภาวะโภชนาการเด็กกลุ่มอ้วน เตี้ย และผอม 3.ภาพการจัดบริการอาหารกลางวันเด็กกลุ่มอ้วน เตี้ยและผอม 4.ตารางการออกกำลังกายในชั่วโมง ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

ทางโรงเรียนมีรายชื่อนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ทั้ง 3 กลุ่ม และมีนโยบายที่จะลดจำนวนของเด็กกลุ่มดังกล่าวลง โดยการขอความร่วมมือกับนักเรียนและผู้ปกครองให้เอาใจใส่เด็กเป็นพิเศษ สำหรับเด็กที่มีภาวะเตี้ยและผอมทางโรงเรียนได้จัดบริการเพิ่มนมให้เป็นวันละ 2 กล่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

1.มีการจัดประชุมผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มอ้วน เตี้ย ผอม เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับเรื่องภาวะโภชนาการของลูกหลานตนเองมากขึ้น 2.รับฟังปัญหาของผู้ปกครองของนักเรียนโดยคัดแยกเป็นรายกรณี 3.ให้คำแนะนำและช่วยแก้ไขปัญหาของนักเรียนและผู้ปกครองเป็นรายๆไป

1.รายชื่อนักเรียนและผู้ปกครองที่เข้าร่วมการอบรม 2.รายชื่อนักเรียนที่มีปัญหา 3.ภาพการจัดการอบรมผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ 3.ภาพการเยี่ยมบ้านเด็กและผู้ปกครองรายบุคคล

1.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มดังกล่าวตระหนักและให้ความสำคัญกับปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็กและดูแลเอาใจใส่เด็กกลุ่มดังกล่าวเป็นพิเศษ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

การแก้ปัญานักเรียนที่มีภาวะโรคโลหิตจาง

จากปัญหาภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนพบว่าส่วนหนึ่งเกิดจากนักเรียนที่มีภาวะโลหิตจางด้วย ดังนั้นโรงเรียนโดยการช่วยเหลือของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตานี จึงได้ดำเนินการตรวจเลือดเพื่อหานักเรียนที่มีภาวะโหลิตจาง พบว่า มีจำนวน 24 คน มีการแก้ไขโดยการให้ทานยาที่เสริมธาตุเหล็กทุกวันหลังอาหารเที่ยง ส่วนนักเรียนที่ไม่มีภาวะโลหิตจางจะให้ทานสัปดาห์ 1 วัน เพื่อเป็นการป้องกัน

โรงเรียนจะดำเนินการป้องกันนักเรียนที่มีภาวะโลหิตจางต่อไป โดยขอความร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในการตรวจเลือดนักเรียนเป็นระยะ

5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

หน่วยงานภาคีเครือข่าย ประกอบไปด้วย โรงพยบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตานี ให้ความช่วยเหลือและให้คำแนะนำในเรื่องสุขภาพอนามัย โรงพยาบาลปราสาท สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปราสาท สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ ศูนย์อนามัยที่ 9 องค์กรต่างๆ ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ องค์การบริหารส่วนตำบาตานี เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดูแลเด็กนักเรียนโรงเรียนรวมทั้งชุมชน ซึ่งเป็นการบูรณาการ การทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีจุดมุ่งหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 1 มาตรา 6 กล่าวว่ว "การศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญาอารมณ์ สังคม มีความรู้ ควบคู่คุณธรรมและมีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข"

หมายเหตุ *

  • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh