- S__25665563.jpg
- S__25665565.jpg
- S__25665566.jpg
- S__25665567.jpg
- S__25665568.jpg
- S__25665569.jpg
- S__25665570.jpg
- S__25665571.jpg
- S__25665572.jpg
- S__25665573.jpg
- S__25665574.jpg
- S__25665576.jpg
- S__25665577.jpg
- S__25665578.jpg
- S__25665579.jpg
- S__25665580.jpg
- S__25665581.jpg
- S__25665582.jpg
- S__25665583.jpg
- S__25665584.jpg
ความเป็นมา และ หลักการทำงาน เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะเด็กวัยเรียน ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน“โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่าง ๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ฯโดยเฉพาะในเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ในเด็กวัยเรียน เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้านอาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีนภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กโดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม เด็กวัยเรียน เป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุดวัยหนึ่งของชีวิต เพราะเป็นวัยที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาครบทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ไปพร้อมๆ กันโภชนาการเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการพัฒนาของเด็กการรับประทานอาหารของเด็กในแต่ละมื้อจึงมีความสำคัญในการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย ป้องกันโรคดำรงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดีเพื่อให้มีสภาวะร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรงโภชนาการจึงมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อสุขภาพเด็กที่มีการส่งเสริมพัฒนาด้านต่างๆโรงเรียนโนนรังวิทยาคารได้ตระหนึกถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กเพื่อพัฒนาการที่สมวัย ขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหารและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของเด็กในการรับประทานอาหารที่ถูกต้องรวมถึงสัดส่วนของอาหารพอเหมาะกับความต้องการของร่างกาย สามารถนำสารอาหารไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพอนามัยได้อย่างถูกต้องและถูกวิธีซึ่งเรียกว่าภาวะโภชนาการที่ดี
วัตถุประสงค์ 1. เพื่ออบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับด้านอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียน 2. เพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กเรื่องพฤติกรรมด้านบริโภคอาหารในเด็กวัยเรียน 3. เพื่อให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงภาวะโภชนาการที่เหมาะสมในเด็กวัยเรียน 4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจมีทักษะในการปรุงอาหารที่ถูกสุขลักษณะโภชนาการ 5. เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ เป้าหมาย เพื่ออบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับด้านอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียน
มาตรฐานที่ 1 นโยบายและการบริหารจัดการศึกษา สิ่งสำเร็จ การเตรียมความพร้อมต่างๆในด้านการบริหารจัดการศึกษาโครงการส่งเสริมอาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก เพื่อพัฒนาการที่สมวัย ทุกคนที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือกัน
มาตรฐานที่ 2 การจัดการด้านความปลอดภัยอาหาร สุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม สิ่งสำเร็จ อาหารที่เด็กได้รับประทานถูกต้องตามสุขอนามัย สิ่งที่เป็นข้อจำกัด/อุปสรรค มีข้อจำกัดสำหรับวัตถุดิบที่นำมาปรุงอาหาร
มาตรฐานที่ 3 คุณค่าทางโภชนาการ สารอาหารที่เด็กควรได้รับตามวัย
สิ่งสำเร็จ
อาหารกลางวันที่เด็กได้รับประทานส่งเสริมถึงการเจริญเติบโตของเด็กได้ดี
มาตรฐานที่ 4 การบูรณาการจัดการเรียนรู้ และปัจจัยแวดล้อมเชิงสร้างสรรค์ สิ่งสำเร็จ เด็กได้ลงมือปฏิบัติปลูกพืชพรรณที่มีประโยชน์ด้วยตนเอง และนำมาประกอบอาหารได้ จนทำให้เด็กเห็นประโยชน์ของการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
มาตรฐานที่ 5 การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ สิ่งสำเร็จ ในโรงเรียนเด็กมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม