ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

info
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบาเจาะ
สังกัด สำนักงานเขตพิ้นที่การศึกษาประถ
หน่วยงานต้นสังกัด สพป.ยะลา เขต 2
ที่อยู่โรงเรียน 17/2 จังหวัดยะลา 95130
จำนวนนักเรียน 284 คน
ช่วงชั้น อนุบาล,ประถม
ผู้อำนวยการ นายอดินันท์ สำเร
ครูผู้รับผิดชอบ นางอาซีย๊ะ บือซา
stars
ข้อมูลภาวะโภชนาการ
assignment
กิจกรรม
โครงการพัฒนาการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการของเด็กวัยเรียน จัดกิจกรรมอบรมนักเรียน เรื่องการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์โรงเรียนบาเจาะ เมื่อ 15 ก.พ. 65 น. @24 มิ.ย. 65 18:26
  • photo โครงการพัฒนาโภชนาการ_๒๒๐๓๑๓_12.jpgโครงการพัฒนาโภชนาการ_๒๒๐๓๑๓_12.jpg
  • photo โครงการพัฒนาโภชนาการ_๒๒๐๓๑๓_11.jpgโครงการพัฒนาโภชนาการ_๒๒๐๓๑๓_11.jpg
  • photo โครงการพัฒนาโภชนาการ_๒๒๐๓๑๓_13.jpgโครงการพัฒนาโภชนาการ_๒๒๐๓๑๓_13.jpg
  • photo โครงการพัฒนาโภชนาการ_๒๒๐๓๑๓_8.jpgโครงการพัฒนาโภชนาการ_๒๒๐๓๑๓_8.jpg
  • photo โครงการพัฒนาโภชนาการ_๒๒๐๓๑๓_2.jpgโครงการพัฒนาโภชนาการ_๒๒๐๓๑๓_2.jpg
  • photo โครงการพัฒนาโภชนาการ_๒๒๐๓๑๓_3.jpgโครงการพัฒนาโภชนาการ_๒๒๐๓๑๓_3.jpg
  • photo โครงการพัฒนาโภชนาการ_๒๒๐๓๑๓_7.jpgโครงการพัฒนาโภชนาการ_๒๒๐๓๑๓_7.jpg
  • photo โครงการพัฒนาโภชนาการ_๒๒๐๓๑๓_16.jpgโครงการพัฒนาโภชนาการ_๒๒๐๓๑๓_16.jpg
  • photo โครงการพัฒนาโภชนาการ_๒๒๐๓๑๓_6.jpgโครงการพัฒนาโภชนาการ_๒๒๐๓๑๓_6.jpg
  • photo โครงการพัฒนาโภชนาการ_๒๒๐๓๑๓_5.jpgโครงการพัฒนาโภชนาการ_๒๒๐๓๑๓_5.jpg
  • photo โครงการพัฒนาโภชนาการ_๒๒๐๓๑๓.jpgโครงการพัฒนาโภชนาการ_๒๒๐๓๑๓.jpg
  • photo โครงการพัฒนาโภชนาการ_๒๒๐๓๑๓_9.jpgโครงการพัฒนาโภชนาการ_๒๒๐๓๑๓_9.jpg
รายละเอียด:

แบบรายงาน ผลการดำเนินงานของสถานศึกษานำร่องตามมาตรฐานระบบการจัดการอาหารและโภชนาการ ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านบาเจาะ        สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา            จังหวัดยะลา 1.ความเป็นมา และ หลักการทำงาน                   ตามที่ มูลนิธิสร้างเสริมวิถีบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ (มอส.) โดยการสนับสนุนทุนดำเนินงานจาก สสส. ได้      จัดทำโครงการขับเคลื่อนนโยบายอาหารโภชนาการและสุขภาพเด็กวัยเรียนในกลุ่มโรงเรียนแม่ข่ายเด็กไทยแก้มใสและขยายผลสู่โรงเรียนเครือข่ายในแต่ละจังหวัดจากแนวทางที่ดีของโครงการเฉลิมพระเกียรติฯเด็กไทยแก้มใส จนเกิดมีนักเรียนแกนนำเรื่อง Healthy Food Healthy kids, Fit and Fun ในแต่ละโรงเรียนขึ้นแล้ว ซึ่งสรุปผลในช่วงที่ผ่านมาเป็นที่น่าชื่นชม ปัจจัยความสำเร็จของโรงเรียน พบว่า  ได้เกิดจุดเปลี่ยนของโรงเรียน ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู กรรมการสถานศึกษา ผู้ ปกครอง นักเรียน ชุมชน เกษตรกร และภาคีทางวิชาการในพื้นที่ได้มีการทํางานร่วมกัน มีความตระหนักถึงปัญหาของสภาพแวดล้อมทางอาหารที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการของนักเรียน และปัญหาการจัดการอาหารและโภชนาการของโรงเรียน โดยอาศัยกระบวนการบริหารจัดการที่ดีภายในโรงเรียน ได้แก่ การกำหนดนโยบายของผู้บริหารสถานศึกษาและการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน การบรรจุเป็นแผนงานของโรงเรียน
                    ในการนี้โรงเรียนบ้านบาเจาะจัดอาหารและโภชนาการของโรงเรียนที่สอดคล้องกับปัญหาด้านโภชนาการหรือพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน การบริหารทรัพยากรของโรงเรียนด้านบุคคลากร ความรู้และงบประมาณ ทั้งจากภายในและภายนอกที่โรงเรียนได้รับ ซึ่งจากการวิจัยประเมินผลการดำเนินงาน พบว่านักเรียนที่เข้าร่วมในโครงการเด็กไทยแก้มใสอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2558-2563 มีความตระหนักในเรื่องภาวะโภชนาการของนักเรียนดีกว่าโรงเรียนที่ไม่ได้ดำเนินงานตามแนวทางเด็กไทยแก้มใส และได้ส่งผลให้ผู้บริหารและคณะครูจากหลายโรงเรียนเห็นตรงกันว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง จากที่ได้เข้าร่วมโครงการ คือ เกิดความตื่นตัวมากขึ้นในกลุ่มครู นักเรียน ทำให้การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างราบรื่น รวมทั้ง การได้ทำการเกษตรในโรงเรียน และการได้มีทักษะการเรียนรู้การใช้โปรแกรมช่วยจัดเมนูอาหาร Thai School Lunch และ โปรแกรมวิเคราะห์อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง แปรผลเป็นภาวะการเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการ เป็นประโยชน์มาก พฤติกรรมการบริโภคของเด็กนักเรียน ป. 4-6 ร้อยละ 76.1 บริโภคผักเพียงพอ ร้อยละ 83.3 นักเรียนมีความพึงพอใจในการจัดบริการอาหารกลางวันของโรงเรียน รวมทั้ง ความรู้ความตระหนักของผู้ปกครองก็ดีมากขึ้นกว่าเดิม ให้ความสำคัญของการกินอาหารมื้อเช้า และการกินผัก ผลไม้ 2.วัตถุประสงค์ 1.  เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้นักเรียนปฐมวัยและนักเรียนประถมศึกษา  มีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง 2.  เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลนอาหารกลางวัน 3.  เพื่อปลูกฝังระเบียบวินัยและมารยาทที่ดีในการรับประทานอาหาร 4.  เพื่อให้นักเรียนได้รับคุณค่าสารอาหารตามหลักโภชนาการครบ  5  หมู่ 3.เป้าหมาย       เชิงปริมาณ                       นักเรียนก่อนประถมศึกษา จำนวน  100  คน                       นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1-6  จำนวน  184  คน       เชิงคุณภาพ                       1..1 ร้อยละ 100 เพื่อต้องการให้นักเรียนก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษามีอาหารกลางวันที่      มีโภชนาการที่ดีรับประทานทุกวันตลอดปี             1..2 ร้อยละ 100 เพื่อต้องการให้นักเรียนมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์  แข็งแรง 4.ตัวชี้วัด     นักเรียนมีภาวะทุพโภชนาการลดลง 5.ผลการดำเนินงาน/กิจกรรม /อุปสรรค . การประเมินผลการดำเนินงาน ที่ ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีวัดและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ 1. นักเรียน มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ สุขนิสัย และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอร้อยละ 95 นักเรียนได้รับสารอาหารตามหลักโภชนาการครบ  5  หมู่ - สังเกต

-แบบบันทึกการรับประทานอาหารของนักเรียน แบบสังเกตสุขนิสัย

-แบบบันทึกการรับประทานอาหารของนักเรียน 2. นักเรียน มีน้ำหนัก ส่วนสูง และสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 80  - แบบบันทึก - แบบประเมินฯ -แบบบันทึกน้ำหนัก/ส่วนสูง -แบบทดสอบสมรรถภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์:

โรงเรียนบ้านบาเจาะ  ได้กำหนดจัดกิจกรรมตามโครงการพัฒนาการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการของเด็กวัยเรียน การอบรมให้ความรู้กับนักเรียน ส่งเสริมความรอบรู้เรื่องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะแก่นักเรียน โดยมีเป้าหมายในการดำเนินงานเพื่อให้นักเรียนมีความรู้ในเรื่องการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โรงเรียนและผู้ปกครองจัดเมนูอาหารให้นักเรียนได้บริโภคผัก ผลไม้เพียงพอตามข้อแนะนำ ปรับพฤติกรรมการกินและออกกลังกาย เพื่อลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการนักเรียน