ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนบ้านน้ำเกลี้ยง |
สังกัด | สพป.อบ 4 |
หน่วยงานต้นสังกัด | สพป.อุบลราชธานี เขต 4 |
ที่อยู่โรงเรียน | 169 หมู่ที่ 2 ตำบลหนองไฮ อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี 34360 |
จำนวนนักเรียน | 60 คน |
ช่วงชั้น | อนุบาล,ประถม |
ผู้อำนวยการ | นางอัมรินทร์ คำทวี |
ครูผู้รับผิดชอบ | นางสาวสุพัตรา นามศรี |

1) มีการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง ภาคเรียนละ 2 ครั้ง
2) เครื่องมือชั่ง วัด ถูกต้องได้มาตรฐาน
3) มีการจดบันทึกเป็นรายบุคคล/รายห้อง
4) นำข้อมูลไปวิเคราะห์ นำไปแจ้งนักเรียน ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
นักเรียนที่ปฏิบัติได้ตามข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของ เด็กวัยเรียน

- เรียนรู้การปลูกผักอินทรีย์
2.จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการและกิจกรรม ที่สอดคล้องกับเรื่อง เกษตรปลอดภัย โภชนาการ และสุขภาพ บูรณาการ 3 วิชาหลัก กิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมการกิน ลดหวาน มัน เค็ม
- กิจกรรมทางกาย การออกกำลังกาย เต้นบาสโลป กิจกรรมเบรนยิมเพื่อสุขภาพ
นักเรียนมีความรอบรู้ ด้านอาหารปลอดภัย โภชนาการ และสุขภาพอนามัย

1.ประชุมแกนนำนักเรียนด้านการส่งเสริมการบริโภค 2.แกนนำให้ความรู้กับนักเรียน ในช่วงพักเที่ยง
มีคำสั่งแต่งตั้งผู้นำนักเรียนและกำหนดบทบาทหน้าที่ด้านการส่งเสริมอาหารโภชนาการและสุขภาพอย่างชัดเจน อาหารที่จัดบริการนักเรียนมีสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่จำเป็นต่อการพัฒร่างกายตามวัยของนักเรียนในแต่ละวัน และครบสารอาหารเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ตาม Thai School Lunch และ/หรือมาตรฐานอาหารกลางวันโรงเรียนและในช่งพักเที่ยงมีการให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับปริมาณและอาหารที่ควรได้รับ และการลดปัญหาอาหารเหลือทิ้ง

1.ให้ความรู้แม่ครัว การจัดบริการอาหารให้นักเรียน 2.ประชุมเกษตรกร แม่ครัว เพื่อวางแผนผลผลิตผักปลอดภัยสู่โรงครัว 3.จัดทำตารางการรับผัก ผลไม้ปลอดภัยในชุมชนให้สอดคล้องกับเมนู Thai School Lunch อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน 4.จัดสถานที่บริการอาหารให้นักเรียนอย่างถูกสุขลักษณะ 5. แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการปรุงอาหารอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
บริเวณที่บริโภคอาหาร เตรียม ปรุง ประกอบอาหาร ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร ภาชนะ อุปกรณ์ และเครื่องใช้อื่นๆ ในการประกอบอาหารมีความปลอดภัย สภาพการใช้งานดี และ ได้ล้างทำความสะอาดอย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร น้ำที่ใช้สำหรับปรุงประกอบอาหาร หรือ เครื่องดื่ม มีความสะอาด ได้มาตรฐานตามที่หน่วยราชการรับรอง อีกทั้งแม่ครัวมีหลักฐานการตรวจสุขภาพในปีนั้น ๆ ให้ตรวจสอบได้ และมีสุขภาพดี ไม่แสดงอาการเจ็บป่วย ในขณะปฏิบัติงาน แต่งกายสะอาด เรียบร้อย

1.ประชุมคณะทำงาน
2.จัดทำนโยบายอาหารปลอดภัยในโรงเรียน
3.ประกาศนโยบายอาหารปลอดภัยในโรงเรียน ดังนี้
1. ส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณภาพได้มาตรฐานโภชนาการ สุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัย
2. จัดทำข้อมูลสารสนเทศให้ครบถ้วนถูกต้องและเป็นปัจจุบันเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนในการ ดำเนินงานอาหารกลางวัน
3. ส่งเสริมการเฝ้าระวังและการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนให้เป็นไปตามเป้าหมาย ตามที่กรมอนามัยกำหนด
4. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยบูรณาการกับการดำเนินงานอาหารกลางวันใน โรงเรียน
5. ส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพแก่นักเรียนและชุมชนโดยมีโรงเรียนเป็นศูนย์กลาง
6. ส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพนักเรียนตามสุขบัญญัติแห่งชาติ
7. ส่งเสริมภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานอาหารกลางวันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
8. โรงเรียนจัดรายการอาหารกลางวันโดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch
9. โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลการดำเนินงานอาหารกลางวันต่อสาธารณชน
10.น้อมนำศาสตร์พระราชา และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาดำเนินงานอาหารกลางวันเพื่อ
พัฒนาอย่างยั่งยืน
สถานศึกษามีนโยบายและแผนการส่งเสริมด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพนักเรียนอยู่ในแผนปฏิบัติการ ของสถานศึกษาที่ชัดเจนน นำข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบันด้านการจัดบริการอาหาร ภาวะโภชนาการ สภาพแวดล้อมทางสุขอนามัย และสุขภาพนักเรียน มาใช้ในการวิเคราะห์จัดทำแผน มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมด้านอาหารโภชนาการและสุขภาพนักเรียนของสถานศึกษาและมีการประชุมขับเคลื่อนงานตามนโยบายมีกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการในปีปัจจุบันด้านอาหาร โภชนาการ และการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน โดยมีข้อมูลแสดงภาวะโภชนาการของนักเรียนที่เป็นปัจจุบัน

นักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำเกลี้ยง ปลูกพืชผักอินทรีย์ที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยแก่การบริโภค รวมทั้งมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการและบริโภคตลอด โดยใช้ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตขึ้นภายในโรงเรียนมาประกอบอาหารกลางวันในโรงเรียน
ผลลัพธ์ 1. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทาน 2. เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายในครัวเรือน 3. เพื่อให้นักเรียนได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน ผลผลิต 1. เพื่อให้ได้ผักปลอดสารพิษไว้บริโภค 2. เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ความสามารถและทักษะการปลูกพืชผักสวนครัว 3. เพื่อให้นักเรียนได้ร่วมกันทำกิจกรรมกลุ่ม 4. เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการตลาด เรียนรู้วิธีการทำบัญชีรายรับ รายจ่าย

นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านน้ำเกลี้ยง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี ได้เรียนรู้การปลูกถั่วงอกปลอดสารพิษ โดยมีการออกแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการ วิชาคณิตศาสตร์,วิทยาศาสตร์,สุขศึกษาและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักคิด และรับผิดชอบต่อหน้าที่ ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าและประโยชน์ของถั่วงอกพืชเศรษฐกิจ นอกจากนั้นนักเรียนได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์เป็นการฝึกประสบการณ์ตรง ตลอดจนส่งเสริมการค้าขายและนำไปประกอบเป็นอาชีพได้ ทั้งยังสามารถนำเอาความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันอีกทางหนึ่งด้วย
ผลลัพธ์ 1.นักเรียนมีความรู้และทักษะในการเพาะถั่วงอกและส่งเสริมการกินผักปลอดสารเคมี 2.นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน 3.บูรณาการวิชาคณิตศาสตร์,วิทยาศาสตร์,สุขศึกษาและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผลผลิต 1. มีการจำหน่ายถั่วงอกอย่างเป็นระบบ 2. จัดทำบัญชีรายรับ – จ่าย 3. นักเรียนมีทักษะการคิดคำนวณการคาดคะเนและกระบวนการแก้ปัญหา