info
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านท่าช้าง
สังกัด สพป.
หน่วยงานต้นสังกัด สพป.อุบลราชธานี เขต ๓
ที่อยู่โรงเรียน หมู่ที่ 3 ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี 34110
จำนวนนักเรียน 109 คน
ช่วงชั้น อนุบาล,ประถม,มัธยมต้น
ผู้อำนวยการ นางสาวดวงสมพร สำราญเริญ
ครูผู้รับผิดชอบ นางสาวสุขฤทัย ชุ่มเชื้อ
restaurant_menu
ข้อมูลภาวะโภชนาการ
assignment
กิจกรรม
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เพื่อแก้ปัญหาเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการนางสาวสุขฤทัย ชุ่มเชื้อ เมื่อ 1 ก.ค. 67 น. @9 ก.ย. 67 14:38
รายละเอียด:

ชื่อกิจกรรม การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เพื่อแก้ปัญหาเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดการดำเนินกิจกรรม 1) นโยบายและการบริหารจัดการของสถานศึกษา อาหารกลางวัน จัดอาหารตามโปรแกรม Thai School Lunch. 2) การจัดการด้านความปลอดภัยอาหาร สุขาภิบาลอาหารและสิ่งแวดล้อม อาหารดีบ้านเฮา กินผักพิชิตโรค -ใช้วัตถุดิบ/สถานที่ปรุงอาหารที่สะอาด ปลอดภัย รู้แหล่งที่มา จัดทำเมนูอาหารเสริมตอนเช้าทุกวัน -สนับสนุนให้นักเรียนรับประทานผักและผลไม้จากการปลูกในโรงเรียน และมีส่วนร่วมในการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ เช่น แบ่งเวรประจำวัน ในการดูแลผัก  และนำมารับปรทาน 3) การจัดบริการอาหารในโรงเรียนให้มีคุณค่าทางโภชนาการ อาหาร 5 หมู่ การจัดทำเมนูอาหารรายเดือน ผ่านโปรแกรม Thai School Lunch. 4) การบูรณาการจัดการเรียนรู้ และปัจจัยแวดล้อม 1. รู้ทันโรค 2. อาหาร 5 หมู่ 3. ออกกำลังกายหรรษา 4. อาหารเสริมเพื่อน้อง -ให้ความรู้แก่นักเรียนโดยการบูรณาการจัดการเรียนรู้ให้เข้ากับรายวิชาต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ สุขศึกษา พลศึกษา สังคมศึกษา การงานอาชีพ เป็นต้น -อาหาร 5 หมู่ การจัดทำเมนูอาหารรายเดือน ผ่านโปรแกรม Thai School Lunch. และให้เด็กๆได้ลงความคิดเห็นอาหารที่เด็กๆ ชอบรับประทานมากที่สุด1 เมนู -ซึ่งการออกกำลังกายในช่วงเช้ามีประโยชน์จะ ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญของร่างกายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ร่างกายสามารถเผาผลาญแคลอรี่ได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปได้ทั้งวัน -อาหารเสริมเพื่อน้อง จัดทำเมนูอาหารเช้าให้เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ 5) การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียน ชั่ง-วัดทุกเดือน ให้นักเรียนชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงทุกเดือน บันทึกผลก่อนและหลัง 6) Best Practice School ด้านโภชนาการและความปลอดภัยอาหาร การปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ เพื่อแก้ปัญหาเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ การปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์โดยไม่ใช้ดิน มีความปลอดภัย ไร้สารพิษเพื่อแก้ปัญหาเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ จะนำผักที่ปลูกไว้มาทำเมนูอาหารที่หลากหลายให้เด็กได้ทานอาหารเสริมตอนเช้า  เช่น แซนวิท  สลัดผัก  ไข่กระทะหน้าผัก  ยำทูน่า เป็นต้น 5. ต้นทุนเดิม/สื่อ/นวัตกรรมของโรงเรียน/ชุมชนที่มีอยู่ และคาดว่าจะนำมาหนุนเสริม/พัฒนาต่อยอดการดำเนินงาน สู่ความสำเร็จในปีนี้ มีหรือไม่ (ถ้ามีโปรดระบุ)   …………การปรับปรุงพื้นที่การเพาะปลูก การเลือกเมล็ดพันธ์ผักใหม่ๆ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ การให้ความรู้แก่ครูและนักเรียนในการทำกิจกรรม……………….. 6. ภาคีเครือข่ายที่โรงเรียนจะชักชวนมาร่วมขับเคลื่อนงานสู่ความสำเร็จมีภาคีเครือข่ายใดบ้าง และแต่ละภาคี   เครือข่ายมีบทบาท/หน้าที่อย่างไร รายชื่อภาคีเครือข่ายที่ร่วมขับเคลื่อนงาน บทบาท/หน้าที่ ผู้ปกครองนักเรียน สนับสนุน ช่วยเหลือ ให้ความสะดวก ผู้นำท้องถิ่น, อบต, รพ.สต. ให้ความรู้ ติดตาม ให้คำปรึกษา เทศบาล, เกษตรอำเภอ ให้ความรู้ ติดตาม ให้คำปรึกษา สนับสนุน ระยะเวลาที่ดำเนินการ: 1 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม 2567 ปฏิทินกิจกรรม วัน/เดือน/ปี รายการดำเนินการ 1 -5 กรกฎาคม 2567 ศึกษาสภาพปัญหา สภาพปัจจุบัน ความต้องการ 15 กรกฎาคม 2567 วางแผน/จัดทำโครงการ
กรกฎาคม 2567 ขออนุมัติโครงการ 1 สิงหาคม 2567 ดำเนินงานตามโครงการ/ต่อยอดโครงการ ธันวาคม 2567 สรุปผล รายงานผล

ผลผลิต/ผลลัพธ์:

ผลลัพธ์ที่โรงเรียนคาดหวังจากการดำเนินงานในปีนี้มีอะไรบ้าง
  1) นักเรียนที่มีปัญหาทุพโภชนาการมีจำนวนลดลง   2) นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้า สะอาด ปลอดภัย ถูกสุขภาวะตามหลักโภชนาการ   3) เกิดปฏิสัมพันธ์ในชุมชน