ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนบ้านหว้าเหล่าโพนทองประชานุกุล |
สังกัด | สพป. |
หน่วยงานต้นสังกัด | สพป.ขอนแก่น เขต ๑ |
ที่อยู่โรงเรียน | ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000 |
จำนวนนักเรียน | 217 คน |
ช่วงชั้น | ปฐมวัย,อนุบาล,ประถม,มัธยมต้น |
ผู้อำนวยการ | นายบุญหลาย หวานเพราะ |
ครูผู้รับผิดชอบ | นายเกรียงไกร ปั้นจอม |
กิจกรรมเด็กบ้านหว้าเลี้ยงปลา ปลูกผักตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้แผนบูรณาการหลักสูตรวิชาการ วิชาการงานอาชีพ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสุขศึกษาและวิชาพลศึกษา ประจำปีการศึกษา 2567 ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 129 คน นักเรียนมีความรู้ด้านโภชนาการได้ร้อยละ80 เกี่ยวกับการทำแปลงปลูกผัก การปลูกผักสลัด ผักบุ้ง ตะไคร้ การเพาะเห็ดปลอดสารพิษและการเลี้ยงปลาดุก ปลาหมอ นำผลผลิตที่ได้มาจัดทำเมนูอาหารกลางวันตามเมนูที่จัดทำด้วยโปรแกรม Thai school lunch เหลือจากการทำอาหารกลางวันได้นำไปขายให้กับชุมชน
การบรรลุตัวชี้วัดที่กำหนดในโครงการ
หัวข้อรายงาน/ตัวชี้วัดในโครงการ แผนการดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน
• กำหนดการดำเนินงาน ก.ค. 67 – ธ.ค. 67 ก.ค. 67 – ธ.ค. 67
• คุณสมบัติ/กลุ่มเป้าหมายคือใคร นักเรียนชั้นป.4ถึงม.3 นักเรียนชั้นป.4ถึงม.3
• จำนวนกลุ่มเป้าหมาย 100 100
• ระดับความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ 100 100
• การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 80 80
• ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นของผู้ร่วมโครงการ 100 100
• ตัวชี้วัดเฉพาะของโครงการ (ระบุ) 1) ครูมีความรู้ในการจัดการเรียนการสอนด้านโภชนาการและอาหารปลอดภัย (อย่างน้อยมีกิจกรรม 4 กลุ่มสาระวิชา)
2) เด็กนักเรียน ชั้น ป. 4-6 และ ม.1-3 ในโรงเรียน มีความรอบรู้การบริโภคอาหารและโภชนาการที่สมดุล ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
3) โรงเรียนมีและใช้เมนูอาหารกลางวัน ใช้ TSL ประยุกต์กับวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่นและมีการใช้พืชผักชุมชนตามฤดูกาลได้
4) ครูที่รับผิดชอบด้านอนามัยนักเรียน สามารถคัดกรองภาวะทุพโภชนาการนักเรียนได้ถูกต้องและนำข้อมูลเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อร่วมแก้ปัญหา
5) เด็กนักเรียน อายุ 6-14 ปี มีภาวะทุพโภชนาการลดลง จากปีที่ผ่านมา (ภาวะเริ่มอ้วน+อ้วน และภาวะผอม เปรียบเทียบ ปี 2565-2567)
6) โรงเรียนจัดบริการอาหารตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหาร สุขาภิบาล และสิ่งแวดล้อม ผ่านมาตรฐานที่ 2 ในระดับดี-ดีมาก
7.จัดสภาพแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ
-อย่างน้อย 1 กิจกรรม Best Practice เด็กบ้านหว้า เลี้ยงปลา ปลูกผัก ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
• งบประมาณในการดำเนินงาน 10,000 บาท 10,000 บาท
• นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ถึงชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียน มีความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการ • นักเรียนตรวจสุขภาพด้วยตัวเองได้ถูกต้อง • นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน • ชุมชนมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบโครงการกับทางโรงเรียน