ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนวัดท่าชุมนุม

รหัสโครงการ ศรร.1212-119 รหัสสัญญา 58-00-2265-ก.18 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

วันที่เริ่มประเมิน

1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
1. การเกษตรในโรงเรียน

1.กิจกรรมการเลี้ยงไก่ 2.กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุก 3.กิจกรรมการเพาะเห็ดนางฟ้า 4.กิจกรรมการปลูกพืชผักสวนครัว5.การปลูกมะนาวในลองส้วม

โรงเรียน ได้ดำเนินการกิจกรรมการเกษตรภายในโรงเรียนประกอบด้วย 5กิจกรรมคือ 1.กิจกรรมการเลี้ยงไก่ โดยทางโรงเรียนได้รับลูกไก่จากปศุสัตว์จังหวัดใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4-5 เดือนโดยนักเรียนเป็นผู้ดูแลผลผลิตที่ได้ส่งขายยังสหกรณ์โรงเรียนและทางโรงอาหารมารับซื้อเพื่อนำไปประกอบอาหารให้กับเด็กนักเรียน 2.กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุก โดยทางโรงเรียนจะซื้อพันธ์ลูกปลาดุกจากแหล่งจำหน่ายใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 เดือนโดยนักเรียนเป็นผู้ดูแลผลผลิตที่ได้ส่งขายยังสหกรณ์โรงเรียนและทางโรงอาหารมารับซื้อเพื่อนำไปประกอบอาหารให้กับเด็กนักเรียน 3.กิจกรรมการเพาะเห็ดนางฟ้า โดยทางโรงเรียนจะซื้อเชื้อเห็ดนางฟ้าจากแหล่งจำหน่ายโดยนักเรียนเป็นผู้ดูแลผลผลิตที่ได้ส่งขายยังสหกรณ์โรงเรียนและทางโรงอาหารมารับซื้อเพื่อนำไปประกอบอาหารให้กับเด็กนักเรียน 4.กิจกรรมการปลูกพืชผักสวนครัว นักเรียนเป็นผู้ปลูกและดูแลพืชผักสวนครัวเมื่อผลผลิตเจริญเติบโตสามารถเก็บได้นักเรียนจะเก็บผลผลิตและจำหน่ายไปยังสหกรณ์นักเรียนโดยทางโรงอาหารมารับซื้ัอเพื่อนำไปประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียน 5.การปลูกมะนาวในลองครัว นักเรียนเป็นผู้ปลูกและดูแลนักเรียนจะเก็บผลผลิตและจำหน่ายไปยังสหกรณ์นักเรียนโดยทางโรงอาหารมารับซื้ัอเพื่อนำไปประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียนและจำหน่ายให้ผู้ปกครอง

เนื่องจากกิจกรรมทั้ง 5 กิจกรรมผลผลิตที่ได้สามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียนได้ ดังนั้นทางโรงเรียนจะยังคงดำเนินการต่อไปและจะเพิ่มปริมาณให้เพียงพอกับความต้องการของปริมาณเด็กนักเรียนภายในโรงเรียน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
2. สหกรณ์นักเรียน

กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ด้านการส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตเพื่อจำหน่าย

กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ด้านการส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตเพื่อจำหน่าย เป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิต และแก้ปัญหาผลผลิตที่มีอยู่มากเกินไป ได้แก่ ไข่เป็ด โดยนำมาทำเป็นไข่เค็มสมุนไพร ไข่เค็มต้มยำใช้วัตถุดิบที่มีในโรงเรียนและท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ใบเตยหอม ดอกอัญชัน โดย นักเรียนที่เป็นคณะกรรมการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์ นำไข่เป็ดที่รับซื้อจากกลุ่มผู้ผลิตในโรงเรียน มาทำโครงงานไข่เค็มสมุนไพร และไข่เค็มต้มยำ เสร็จแล้วจำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวันนักเรียน นำไปประกอบอาหารกลางวัน ในราคาฟองละ 6 บาท ซึ่งเพิ่มมูลค่าให้กับไข่เป็ด จากเดิมเพิ่มอีกฟองละ 2 บาท นอกจากนี้ ยังเป็นกิจกรรมที่ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน การบันทึกรายรับ-รายจ่าย การคำนวณต้นทุน กำไร ขาดทุน ทำให้นักเรียนมีทักษะที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

การพัฒนาเมนูอาหารจากไข่เค็ม สู่ชุมชน เช่น การทำไข่ดาวเค็ม ซึ่งชุมชนไม่เคยรู้มาก่อน โดยใช้ไข่เค็มที่มีอายุ 7 วัน รสชาติอร่อย นอกจากนี้ ยังขยายสูตรการทำไข่เค็มสู่ชุมชน ทำให้ผู้ปกครองที่สนใจมาอุดหนุนไข่เป็ดที่โรงเรียนเพื่อนำไปทำไข่เค็มที่บ้าน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

การจัดทำรายการอาหารตามโปรแกรมThai school lunch

โรงเรียนมีการประชุมคณะครูและบุคลากร รวมผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเมนูอาหารกลางวันของโรงเรียน เพื่อกำหนดเมนูอาหารกลางวัน ล่วงหน้า 1 เดือน โดยคำนึงถึงวัตถุดิบที่มีอยู่ในกิจกรรมการเกษตร ปศุสัตว์ของโรงเรียนและในชุมชนเป็นหลัก เมื่อได้รายการอาหารเสร็จแล้ว นำมาคำนวณเข้ากับโปรแกรม Thai school lunch เพื่่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน จากนั้น โรงเรียนจัดรับข้าวสาร โดยโรงสีในชุมชนร่วมบริจาคข้าวสารตลอดปีการศึกษา

ทางโรงเรียนได้ให้ความสำคัญกับการจัดบริการอาหารของโรงเรียนเป็นอย่างมาก จึงมีแนวคิดที่จัดอาหารเช้าสำหรับนักเรียนที่มีความขาดแคลน โดยจะสำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองในช่วงประชุมผู้ปกครอง ต้นภาคเรียนที่ 1/2560

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

1.กิจกรรมเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียน 2.กิจกรรมการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียน

แกนนำนักเรียนและครูอนามัย ทำการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของนักเรียนแล้วนำมาคำนวณกับโปรแกรมของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลจากนั้นคัดกรองนักเรียออกเป็นกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอ้วน เตี้ย และผอม ออกจากกลุ่มนักเรียนปกติ ติดตามภาวะการเจริญเติบโตของนักเรียนกลุ่มดังกล่าว โดยจัดรายการอาหารเสริมสำหรับกลุ่มผอมเพิ่มนมเป็นวัน 2 กล่อง สำหรับกลุ่มเตี้ย ส่วนกลุ่มอ้วนก็ควบคุมปริมาณอาหารของนักเรียน และจัดตารางการออกกำลังกายในช่วงชั่วโมง ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ และทำการชั่งนำ้หนักและวัดส่วนสูงเป็นระยะ 2. ครูประจำชั้นทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนทุกคน โดยทดสอบภาคเรียนละ 1 ครั้ง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาแปรผล เพื่อหาระดับสมรรถภาพทางกายของนักเรียน สำหรับคนที่ไม่ผ่านได้รับการพัฒนา จนมีสมรรถภาพทางกายดีขึ้น

1.ติดตามนักเรียนกลุ่มที่มีภาวะทุพโภชนาการแล้วสร้างความเข้าใจ ความตระหนักกับนักเรียนและผู้ปกครองเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยกัน 2. โรงเรียนมีแนวทางที่จัดกิจกรรมเสริมพัฒนาสมรรถภาพทางกายก่อนทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมทางร่างกาย และทำให้มีสรรถภาพทางกายดีขึ้น

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

1.กิจกรรมการแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร
2.กิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขบัญญัติแห่งชาติ

หลังรับประทานอาหารกลางวัน นักเรียนทุกคนจะแปรงฟันตรงสถานที่แปรงฟัน มีแกนนำนักเรียนนำเป็นต้นแบบในการแปรงฟันพร้อมๆกันอย่างถูกวิธี จากนั้นก็จะมีการรายงานการตรวจการแปรงฟันของนักเรียนแต่ละชั้น มีการบันทึกผลการตรวจการแปรงฟัน สำหรับกิจกรรมการส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ โรงเรียนจัดทำป้ายสุขบัญญัติติดตามที่ต่างๆ ให้นักเรียนปฏิบัติ แกนนำนักเรียนสาธิตและให้ความรู้การปฏิบัติตามสุขบัญญัติ 10 ประการ โดยโรงเรียนได้รับรางวัลเครือข่ายเด็กไทยฟันดีระดับยอดเยี่ยมจากกรมอนามัย

โรงเรียนได้ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักวิธีการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองแล้วสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในกิจวัตรประจำวัน ใช้ในครอบครัว และแนะนำคนในชุมชนได้

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

โรงเรียนปลอดขยะ แบ่งเขตสีดูแลพื้นที่รับผิดชอบและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน

ดำเนินการตามโครงการโรงเรียนปลอดขยะ ได้รับรางวัลโรงเรียนปลอดขยะจากสำนักงานสิ่งแวดล้อม แบ่งเขตสีดูแลรับผิดชอบ ทำความสะอาดคลอบคลุมเขตพื้นที่โรงเรียน โดยมีนักเรียน ครูประจำชั้น ดูแลความสะอาด จัดการขยะ พัฒนาสิ่งแวดล้อม มีการรายงานผลการตรวจเขตพื้นที่รับผิดชอบทุกวัน โดยสภานักเรียน

พัฒนาสิ่งแวดล้อมให้มีความต่อเนื่อง ยั่งยืน เป็นต้นแบบ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ และดูงาน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

กิจกรรมการตรวจสุขภาพของนักเรียนทุกคน

1.การตรวจสุขภาพฟัน โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ม่วงพันธ์ แลโรงพยาบาลสามก้2.การตรวจวัดสายตาโดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ม่วงพันธ์ /นศ.ฝึกประสบการณ์ สาขาสาธารณสุข 3.การตรวจเลือดเพื่อแก้ปัญหานักเรียนที่มีภาวะโลหิตจางโดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ม่วงพันธ์

โรงเรียนได้รับความร่วมมือด้วยดีจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในการตรวจสุขภาพของนักเรียนในเรื่องต่างๆ ซึ่งทางโรงเรียนจะดำเนินการอย่างนี้ต่อไป

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

การถอดบทเรียนด้าน เกษตร ปศุสัตว์ อาหาร โภชนาการ สหกรณ์ตามหลักปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง

  1. จัดทำป้ายเพื่อให้ความรู้กับนักเรียน 2. บูรณาการการเรียนรู้ในด้านต่างๆเข้ากับแต่ละวิชา โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกษตรสหกรณ์อาหารโภชนาการและสุขภาพอนามัยดังนี้
  2. จัดทำป้ายเพื่อให้ความรู้กับนักเรียนในเรื่องการเกษตรขั้นตอนการดำเนินงานสหกรณ์เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้ได้ 2. บูรณาการการเรียนรู้ในด้านต่างๆเข้ากับแต่ละวิชาเพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ที่หลากหลาย จัดทำแหล่งเรียนรู้ในแต่ละงานเพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาและลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-มัธยมศึกษาปีที่ 3 ดำเนินการถอดบทเรียนความรู้ที่ได้จากการดำเนินกิจกรรม ด้านเกษตร ปศุสัตว์ อาหาร โภชนาการ สหกรณ์ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ โดยออกแบบลงบนกระดาษ โรงเรียนนำผลงานที่นักเรียนจัดทำ จัดแสดงไว้ในศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใสของโรงเรียนที่เป็นบ้านดิน เพื่อให้ชุมชน หรือผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
9. อื่น ๆ

 

 

 

2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

โรงเรียน ได้เข้าร่วมโครงศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสและได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สสส.ทำให้โรงเรียนได้พัฒนาระบบงานต่างๆได้อย่างครบองค์ประกอบและตอบสนองต่อเด็กนักเรียนอย่างเป็นรูปธรรมโรงเรียนได้รับความร่วมมือจากวิทยากรในท้องถิ่น ในการมาเป็นวิทยากร ในการจัดทำฐานการเรียนรู้ ซึ่งนักเรียนได้ลงมือทำด้วยตนเอง ทำให้เกิดความรักและหวงแหนฐานการเรียนรู้ ก็เข้ากับบริบทของโรงเรียนที่เน้นนำวัสดุในท้องถิ่นและธรรมชาติ มาออกแบบ ตกแต่งเป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

โรงเรียนอยู่ในชุมชนชนบท ทำให้การจัดกิจกรรมต่างด้านการเกษตร สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่่อง มีพื้นที่โดยส่วนใหญ่รอบๆบริเวณโรงเรียน ทำให้มีผลผลิตจากการทำเกษตรในโรงเรียนทั้งปลูกผักและผลไม้ที่เพียงพอ ป้อนสู่โครงการอาหารกลางวันให้กับนักเรียน ตลอดจนทำให้นักเรียนได้ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตแบบพอเพียง ดังนั้นนักเรียนจึงสนใจที่จะเรียนรู้และสามารถลงมือปฏิบัติได้จริง

3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

การสร้างทีมงานที่เข้มแข็ง โดยการนำของท่านผู้บริหารโรงเรียนและความร่วมมือร่วมใจกันของคณะครู/บุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและมีหน้าที่รับผิดชอบงานทุกๆ ด้าน และเข้าใจในจุดประสงค์และรายละเอียดของโครงการเหมือนกันทุกคน จากนั้นนำความรู้ที่ได้มาปฏิบัติ และถ่ายทอดให้กับนักเรียนรวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม และมีการสรุป ทบทวน สะท้อนผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ ๆ เพื่ทราบปัญหา และหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน มีแกนนำนักเรียนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนกิจกรรมจากผู้ปกครอง และชุมชน พร้อมทั้งพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์เรียนรู้ที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ในองค์ประกอบต่างๆ สู่หน่วยงานอื่นรวมทั้งหน่วยงานสสส.ได้เข้ามาให้ความรู้ถึงระบบการทำงานในกิจกรรมทั้ง 8 ด้านว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างไรทำให้ทางโรงเรียนเข้าใจระบบจนสามารถดำเนินการได้อย่างสัมพันธ์กันทั้ง 8 กิจกรรม

4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

โรงเรียนได้มีการจัดประชุมคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้ทราบถึงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการ พร้อมทั้งทำความเข้าใจและถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เด็กนักเรียนโดยให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทั้ง 8 องค์ประกอบ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ และเกิดทักษะในการปฏิบัติกิจกรรม และให้ความรู้แก่แม่ครัว โดยการอบรม ศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบ เพื่อให้สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง

5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

โรงเรียนได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้ปกครองและชุมชน รวมถึงสาธารณสุขอำเภอและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโดยเริ่มจากการจัดประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองและชุมชน และเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของโครงการ เช่น ระดมผู้ปกครองและชุมชนในการทำปุ๋ยหมัก เตรียมแปลงผักและร่วมกันปลูกผักสวนครัว รวมทั้งร่วมมือกันในการจัดภูมิทัศน์ของโรงเรียนให้ร่มรื่น น่าอยู่ น่าเรียน การสนับสนุนผลผลิตของโรงเรียน ได้แก่ ไ ไข่ไก่ เห็ด ซึ่งกิจกรรมต่างๆที่ทางโรงเรียนนำเสนอได้รับความร่วมมือและได้รับความสนใจจากผู้ปกครองและชุมชนเป็นอย่างดี จัดให้มีการอบรมและศึกษาดูงานโดยผู้ปกครองและคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

โรงเรียนแบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็นส่วน ๆ แล้วมอบหมายให้นักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึง ชั้น ม.3 รับผิดชอบปลูกผักสวนครัว เมื่อได้ผลผลิตก็นำไปจำหน่ายให้สหกรณ์นักเรียนเพื่อนำสู่โครงการอาหารกลางวัน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ปลูกผักในชุมชน ที่ปลูกผักแล้วส่งผลิตสู่โรงเรียน

บัญชีรายรับ-รายจ่ายการปลูกผักของนักเรียน บัญชีรายรับ-รายจ่าย สหกรณ์นักเรียน รูปภาพกิจกรรม

โรงเรียนจะจัดหาพื้นที่เพาะปลูกผักสวนครัวเพิ่มเพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพียงพอต่อการนำไปประกอบอาหารกลางวัน และประชาสัมพันธ์กิจกรรม เพื่อรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรของผู้ปกครองและคนในชุมชนเพิ่มขี้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

1.เลี้ยงไก่ไข่ จำนวน 80 ตัว ให้ไข่วันละประมาณ 50 ฟอง ในหนึ่งสัปดาห์สามารถนำไปประกอบอาหารกลางวันได้ และยังแปรรูปเป็นไข่เค็มสมุนไพร ไข่เค็มต้มยำ จำหน่ายสู่โครงการอาหารกลางวันนักเรียนและชุมชน

1.บัญชีการเก็บไข่ในแต่ละวัน 2.บัญชีรายรับ-รายจ่ายกิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ 3.บัญชีรายรับ-รายจ่ายกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน 4.รูปภาพกิจกรรม

ให้นักเรียนไปดำเนินการเลี้ยงไก่ที่บ้านควบคู่ไปกับโรงเรียนเพื่อให้มีอาหารรับประทาน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

โรงเรียนได้จัดกิจกรรมเลี้ยงปลาดุกโดยนักเรียนเป็นผู้ดูแลปลาดุกเอง

1.ภาพถ่ายกิจกรรม

เพิ่มปริมาณการเลี้ยงปลาดุกให้มากขึ้นเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของนักเรียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

 

 

 

5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

โรงเรียนได้จัดทำเมนูอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียนโดยพยายามให้มีผักเป็นส่วนประกอบทุกมื้อทำให้นักเรียนอนุบาลได้รับผักประมาณวันละ30 กรัมนอกจากให้ยังจัดให้มีผลไม้ทุกวันโดยภายในหนึ่งอาทิตย์จะจัดหาผลไม้ที่แตกต่างกันไปเพื่อให้นักเรียนได้รับสารอาหารและสายใยอาหาร ได้ครบถ้วน

1.ภาพถ่ายกิจกรรม

การจัดเมนูอาหารให้กับนักเรียนพยายามเปลี่ยนชนิดของผักให้มีความหลากหลายเพื่อนักเรียนได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

โรงเรียนได้จัดทำเมนูอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียนโดยพยายามให้มีผักเป็นส่วนประกอบทุกมื้อทำให้นักเรียนอนุบาลได้รับผักประมาณวันละ60 กรัมนอกจากให้ยังจัดให้มีผลไม้ทุกวันโดยภายในหนึ่งอาทิตย์จะจัดหาผลไม้ที่แตกต่างกันไปเพื่อให้นักเรียนได้รับสารอาหารและสายใยอาหาร ได้ครบถ้วน

ภาพถ่ายกิจกรรม

การจัดเมนูอาหารให้กับนักเรียนพยายามเปลี่ยนชนิดของผักให้มีความหลากหลายเพื่อนักเรียนได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

โรงเรียนมีนโยบายให้นักเรียนทุกคนชอบการรับประทานผัก โดยสอดแทรกคุณค่าของผักขณะที่นักเรียนรับประทานอาหารส่วนผักที่นำประกอบอาหารส่วนใหญ่จะเป็นผักที่กนัเรียนปลูกเอง ทำให้นักเรียนมีความภูมิใจและรักที่จะกินผัก

ภาพถ่าย

ให้นักเรียนไปปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานที่บ้าน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

โรงเรียนได้เชิญวิทยากรจากชมรมเกษตรกรมาให้ควานรู้การปลูกพืชผักสวนครัวโดยไม่ได้ใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงเลยแต่ได้ทำน้ำหมักชีวภาพขึ้นโดยใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นเพื่อกำจัดแมลงและบำรุงพืชชนิดต่างๆ และได้ให้นักเรียนลงมือปฎิบัติจริงทางโรงเรียนได้พยายามให้ความรู้กับนักเรียนถึงอันตรายที่เกิดขึ้นหากเราใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงและแนะนำให้นักเรียนนำกลับไปใช้ที่บ้านเพื่อเป็นการลดหรือเลิกการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

1.ภาพถ่ายกิจกรรม

ปรับปรุงสูตรการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในการกำจัดแมลงโดยใช้วัตถุดิบที่มีและหาได้ภายในโรงเรียนและชุมชนและเผยแพร่วิธีการให้กับภายในชุมชนเพื่อลดหรือเลิกใช้สารเคมีในการกำจัดแมลง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

โรงเรียนมีการประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อกำหนดรายการอาหาร และจัดทำรายการอาหารล่วงหน้า 1 เดือน โดยใช้โปรแกรม Thai school lunch ซึ่งอาหารในแต่ละวันจะมีสารอาหารครบ 5 หมู่ และจะมีผักและผลไม้ในสำรับอาหารมื้อนั้นๆด้วย

1.รายการอาหาร 1 เดือน 2.สำรับอาหารในแต่ละมื้อ 3.ภาพกิจกรรมการจัดบริการอาหารกลางวัน

ครูนำความรู้เรื่องการใช้โปรแกรม Thai school lunch ถ่ายทอดให้นักเรียน ชั้น ป. 6-ม.3 เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกจัดรายการอาหารที่มีคุณค่าด้วยตนเอง โรงเรียนนำเสนอความสำเร็จของการจัดรายการอาหาร โดยใช้โปรแกรม Thai school lunch สู่โรงเรียนในเครือข่าย เพื่อให้ทุกโรงเรียนในเครือข่ายใช้โปรแกรมจัดบริการอาหารกลางวันให้กับนักเรียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

แกนนำนักเรียนและครูอนามัย ทำการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของนักเรียนทุกคน ภาคเรียนละ 2 ครั้ง และทำการแปลผลกับโปรแกรมของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้นคัดกรองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ กลุ่มอ้วน เตี้ย ผอม เพื่อเฝ้าระวังเด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ

1.รายงานภาวะโภชนาการของนักเรียนรายคน/รายชั้น/ภาพรวมของโรงเรียน 2.รายงานภาวะโภชนาการของเด็กกลุ่มอ้วน เตี้ย ผอม 3.ภาพการจัดบริการอาหารกลางวันให้กับเด็กกลุ่มอ้วน เตี้ย ผอม

โรงเรียนมีนโยบายที่จะลดจำนวนเด็กกลุ่มอ้วน เตี้ย ผอม ให้น้อยลง โดยการจัดบริการอาหารและจัดตารางการออกกกำลังกายให้กับเด็กกลุ่มดังกล่าว พร้อมทั้งทำความเข้าใจกับผู้ปกครองเพื่อให้ช่วยกันดูแลเอาใจใส่เด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ

3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

ภาวะ2558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/12560 1/22560 2/12560 2/22561 1/12561 1/22561 2/12561 2/22562 1/1
เตี้ย 5.88 5.88% 1.71 1.71% 1.70 1.70% 1.16 1.16% 1.16 1.16% 1.27 1.27% 3.27 3.27% 2.60 2.60% 2.60 2.60% 0.78 0.78% 0.85 0.85% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 0.81 0.81%
เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 16.04 16.04% 8.00 8.00% 10.23 10.23% 3.47 3.47% 3.47 3.47% 5.10 5.10% 3.92 3.92% 3.90 3.90% 3.25 3.25% 3.91 3.91% 4.27 4.27% 3.13 3.13% 3.13 3.13% 0.81 0.81%
ผอม 10.16 10.16% 4.57 4.57% 1.16 1.16% 0.57 0.57% 0.00 0.00% 3.18 3.18% 1.30 1.30% 0.65 0.65% 0.65 0.65% 5.71 5.71% 1.65 1.65% 0.78 0.78% 0.00 0.00% 10.48 10.48%
ผอม+ค่อนข้างผอม 15.51 15.51% 18.29 18.29% 8.09 8.09% 3.45 3.45% 0.58 0.58% 7.01 7.01% 3.25 3.25% 1.95 1.95% 1.95 1.95% 10.48 10.48% 7.44 7.44% 3.91 3.91% 0.78 0.78% 20.16 20.16%
อ้วน 11.76 11.76% 4.00 4.00% 4.05 4.05% 4.02 4.02% 1.73 1.73% 8.28 8.28% 5.84 5.84% 5.84 5.84% 7.14 7.14% 15.24 15.24% 6.61 6.61% 6.25 6.25% 5.47 5.47% 12.10 12.10%
เริ่มอ้วน+อ้วน 13.90% 13.90% 9.14% 9.14% 10.40% 10.40% 5.17% 5.17% 2.31% 2.31% 15.29% 15.29% 16.23% 16.23% 12.34% 12.34% 11.04% 11.04% 29.52% 29.52% 17.36% 17.36% 14.84% 14.84% 14.84% 14.84% 27.42% 27.42%
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของนักเรียนทุกคนแล้วแปลผลโดยโปรแกรมของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล แล้วคัดกรองเด็กกลุ่มเริ่มอ้วนและอ้วน เพื่อทำการจัดบริการอาหารและการออกกำลังกายเป็นพิเศษ จากการดำเนินการดังกล่าวพบว่าในภาคเรียนที่1/59 มีนักเรียนเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 11.70 ในภาคเรียนท่ี 2/59 มีนักเรียนเริ่มอ้วนและอ้วนจำนวนร้อยละ 8.79ลดลง ร้อยละ 1.91

1.รายงานภาวะโภชนาการของนักเรียนกลุ่มเริ่มอ้วนและอ้วน 2.การจัดบริการอาหารกลางวันเด็กกลุ่มเริ่มอ้วนและอ้วน 3.ภาพการจัดกิจกรรมให้เด็กกลุ่มเริ่มอ้วนและอ้วน

โรงเรียนมีนโยบายที่จะลดจำนวนเด็กกลุ่มเริ่มอ้วนและอ้วนให้น้อยลงโดยการให้ความรู้กับเด็กและผู้ปกครองของเด็กโดยตรงเพื่อให้ช่วยดูและเด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของนักเรียนทุกคนแล้วแปลผลโดยโปรแกรมของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล แล้วคัดกรองเด็กกลุ่มค่อนข้างผอมและผอม เพื่อทำการจัดบริการอาหารและการออกกำลังกายเป็นพิเศษ จากการดำเนินการดังกล่าวพบว่า ในภาคเรียนที่1/59มีนักเรียนค่อยข้างผอมและผอม ร้อยละ 17.02 และในภาคเรียนที่ 2/59 มีนักเรียนค่อนข้างผอมและผอม จำนวนร้อยละ 5.49ลดลง ร้อยละ 11.53

1.รายงานภาวะโภชนาการของนักเรียนกลุ่มค่อนข้างผอมและผอม 2.การจัดบริการอาหารกลางวันเด็กกลุ่มค่อนข้างผอมและผอม 3.ภาพการจัดกิจกรรมให้เด็กกลุ่มค่อนข้างผอมและผอม

โรงเรียนมีนโยบายที่จะลดจำนวนเด็กกลุ่มค่อนข้างผอมและผอมให้น้อยลงโดยการให้ความรู้กับเด็กและผู้ปกครองของเด็กโดยตรงเพื่อให้ช่วยดูและเด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของนักเรียนทุกคนแล้วแปลผลโดยโปรแกรมของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล แล้วคัดกรองเด็กกลุ่มค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย เพื่อทำการจัดบริการอาหารและการออกกำลังกายเป็นพิเศษ จากการดำเนินการดังกล่าวพบว่า ในภาคเรียนที่1/59 มีนักเรียนค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ร้อยละ17.02และในภาคเรียนที่ 2/59 มีนักเรียนค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ร้อยละ 9.89ลดลง ร้อยละ 7.13

1.รายงานภาวะโภชนาการของนักเรียนกลุ่มค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย 2.การจัดบริการอาหารกลางวันเด็กกลุ่มค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย 3.ภาพการจัดกิจกรรมให้เด็กกลุ่มค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย

โรงเรียนมีรายชื่อนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ทั้ง 3 กลุ่ม และมีนโยบายที่จะลดจำนวนของเด็กกลุ่มดังกล่าวลง โดยการขอความร่วมมือกับนักเรียนและผู้ปกครองให้เอาใจใส่เด็กเป็นพิเศษ สำหรับเด็กที่มีภาวะเตี้ยและผอมทางโรงเรียนได้จัดบริการเพิ่มนมให้เป็นวันละ 2 กล่อง และเพิ่มการออกกำลังประเภท โหนราว กระโดดเชือก

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

1.ดำเนินการคัดกรองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการออกเป็นกลุ่ม คือ กลุ่มเด็กอ้วน เตี้ย และผอม 2.แยกเด็กกลุ่มดังกล่าวเพื่อจัดบริการอาหารกลางวันเป็นพิเศษ 3.จัดกิจกรรมการออกกำลังกายเพิ่มจากเด็กปกติ ในชั่วโมง ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ 4.บันทึกผลการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของเด็กกลุ่มดังกล่าวเป็นรายบุคคล และฝึกให้นักเรียนดูกราฟการเจริญเติบโตของตนเอง ทำให้นักเรียนเห็นพัฒนาการด้านน้ำหนักส่วนสูงของตนเอง

1.รายชื่อนักเรียนกลุ่มอ้วน เตี้ย และผอม 2.รายงานภาวะโภชนาการเด็กกลุ่มอ้วน เตี้ย และผอม 3.ภาพการจัดบริการอาหารกลางวันเด็กกลุ่มอ้วน เตี้ยและผอม 4.ตารางการออกกำลังกายในชั่วโมง ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

โรงเรียนมีรายชื่อนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ทั้ง 3 กลุ่ม และมีนโยบายที่จะลดจำนวนของเด็กกลุ่มดังกล่าวลง โดยการขอความร่วมมือกับนักเรียนและผู้ปกครองให้เอาใจใส่เด็กเป็นพิเศษ สำหรับเด็กที่มีภาวะเตี้ยและผอมทางโรงเรียนได้จัดบริการเพิ่มนมให้เป็นวันละ 2 กล่อง และเพิ่มการออกกำลังประเภท โหนราว กระโดดเชือก

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

1.มีการจัดประชุมผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มอ้วน เตี้ย ผอม เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับเรื่องภาวะโภชนาการของลูกหลานตนเอง ซึ่งจะช่วยปรับพฤติกรรมการกินของบุตรหลานตนเองมากขึ้น 2.รับฟังปัญหาของผู้ปกครองของนักเรียนโดยคัดแยกเป็นรายกรณี 3.ให้คำแนะนำและช่วยแก้ไขปัญหาของนักเรียนและผู้ปกครองเป็นรายๆไป

1.รายชื่อนักเรียนและผู้ปกครองที่เข้าร่วมการอบรม 2.รายชื่อนักเรียนที่มีปัญหา 3.ภาพการจัดการอบรมผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ 4.ภาพการเยี่ยมบ้านเด็กและผู้ปกครองรายบุคคล

ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มดังกล่าวตระหนักและให้ความสำคัญกับปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็กดูแลเอาใจและพยายามปรับพฤติกรรมการการกิน และการออกกำลังกายของนักเรียนกลุ่มดังกล่าวเป็นพิเศษ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

โรงเรียน ได้เข้าร่วมโครงศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสและได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สสส.ทำให้โรงเรียนได้พัฒนาระบบงานต่างๆได้อย่างครบองค์ประกอบและตอบสนองต่อเด็กนักเรียนอย่างเป็นรูปธรรมโรงเรียนได้รับความร่วมมือจากวิทยากรในท้องถิ่น ในการมาเป็นวิทยากร ในการจัดทำฐานการเรียนรู้ ซึ่งนักเรียนได้ลงมือทำด้วยตนเอง ทำให้เกิดความรักและหวงแหนฐานการเรียนรู้ ก็เข้ากับบริบทของโรงเรียนที่เน้นนำวัสดุในท้องถิ่นและธรรมชาติ มาออกแบบ ตกแต่งเป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

หมายเหตุ *

  • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh