โรงเรียนคุระบุรี

เกษตรโรงเรียน (เลี้ยงปลา)6 กันยายน 2559
6
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางเกษร แซ่เอียบ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. จัดการเรียนรู้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาดุกและปลานิลให้กับนักเรียนชั้น ป.4 จำนวน 114 คน จำนวน 4 ห้องเรียนโดยให้ความรู้ครั้งละ 1 ห้องเรียน ซึ่งมีคุณครูแสนโกสินทร์วงษ์มะยุรา เป็นครูผู้สอน ดังนี้

1.1.การเตรียมบ่อซีเมนต์เลี้ยงปลาดุกและปลานิล เนื่องจากทางโรงเรียนมีบ่อซีเมนต์อยู่แล้ว การเตรียมบ่อจึงเป็นไปได้ง่ายโดยการนำน้ำสะอาดใส่ในบ่อแล้วแช่ทิ้งไว้ประมาณ 1 วันหลังจากนั้นให้เปิดน้ำทิ้งเพื่อปรับสภาพบ่อแล้วเปิดน้ำเตรียมสำหรับใส่ปลาดุก และปลานิล

1.2.การเลือกพันธุ์ปลาดุกและปลานิล - พันธุ์ปลาดุกเลือกลูกพันธุ์ปลาดุกที่มีความแข็งแรงและไม่เล็กเกินไปขนาดประมาณ2นิ้วจำนวน1,000ตัวใส่ในบ่อซีเมนต์4บ่อๆ ละ 250 ตัวขนาดบ่อซีเมนต์100 x 60 ซม. - พันธ์ุปลานิลเลือกลูกพันธุ์ปลานิลใช้พันธุ์จิตลดาเพราะมีความแข็งแรงและปรับตัวเข้ากับสภาพน้ำจืดและทนทานต่อโรคใช้ขนาดประมาณ 2 นิ้ว จำนวน1,000ตัวจำนวน1บ่อ ขนาดบ่อซีเมนต์400 x 80 ซม.
1.3.อาหารปลาดุกและปลานิล และวิธีการให้อาหาร
- อาหารปลาดุกและปลานิล จะใช้เป็นอาหารสำเร็จรูปสำหรับปลาดุกขนาดเล็ก ซึ่งการใช้อาหารสำเร็จรูปจะทำได้ง่ายเพียงแค่สาดอาหารลงไปในบ่อเลี้ยงปลาในขนาดพอเหมาะประมาณ ครึ่งกิโลกรัมต่อปลา 1,000 ตัว และเพิ่มปริมาณอาหารขึ้นเรื่อยเมื่อปลามีขนาดโตขึ้น

1.4.วิธีการดูแลปลาดุก และปลานิล
- ปลาดุก ต้องมีระดับถ่ายเทน้ำให้น้ำใสสะอาดไม่ขุ่น เพราะถ้าน้ำขุ่นหรือน้ำสกปรกที่เกิดจากอาหารตกค้างจะทำให้ปลาดุกตาย อาการจากคุณภาพน้ำไม่ดีจะสังเกตได้จากการที่ปลาจะว่ายน้ำขึ้นลงเร็วกว่าปกติ และจะลอยตัวอยู่เหนือน้ำเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่าน้ำกำลังสกปรกและควรเปลี่ยนน้ำทันทีโรงเรียนจึงแก้ปัญหานี้โดยการใช้ระบบหมุนเวียนน้ำ - ปลานิล ไม่ชอบให้เปลี่ยนน้ำบ่อย ชอบน้ำขุ่นๆ ควรปลูกพืชน้ำไว้ในบ่อด้วย ปลานิลมีข้อเสียในเรื่องของการปรับสภาพน้ำ ถ้าโดนน้ำฝนมากเกินไปปรับสภาพไม่ทันก็จะตาย ดังนั้นจึงควรมีหลังคาป้องกันน้ำฝน

1.5.การนำผลผลิตไปใช้ - ปลาดุก สามารถเติบโตได้ขนาด200กรัมต่อตัวในระยะเวลาประมาณ3เดือน และนำมาประกอบอาหารและจำหน่ายได้ - ปลานิล สามารถเติบโตได้ขนาด400กรัมต่อตัวในระยะเวลาประมาณ4เดือนและนำมาประกอบอาหารและจำหน่ายได้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต

  1. นักเรียนระดับชั้น ป.4 จำนวน114คน มีความรู้ มีทักษะในการเลี้ยงปลาดุกและปลานิล

  2. นักเรียนระดับชั้น ป.4 จำนวน114คน นำความรู้และทักษะไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

  3. นักเรียนจำนวน114คน เป็นแกนนำในการให้ความรู้แก่เพื่อนนักเรียนในเรื่องการเลี้ยงปลาดุกและปลานิลได้

ผลผลัพธ์

  1. โรงเรียนคุระบุรีมีแหล่งเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุกและปลานิลให้กับโรงเรียน และชุมชน

  2. โรงเรียนคุระบุรีมีผลผลิตปลาดุกและปลานิลนำไปใช้ประกอบอารหารในโครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนทั้งโรงเรียน และจำหน่ายให้กับชุมชน

  3. โรงเรียนคุระบุรีสามารถเชื่อมโยงและบูรณาการการเลี้ยงปลาดุกและปลานิลเข้ากับวิชาเรียนเกษตร กลุ่มสาระการงานอาชีพฯ และจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น

  4. นักเรียนโรงเรียนคุระบุรีมีทักษะชีวิตและทักษะการทำงานร่วมกัน

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 114 คน จากที่ตั้งไว้ 114 คน
ประกอบด้วย