โรงเรียนบ้านยางเครือ

เพาะต้นอ่อนทานตะวัน/เพาะถั่วงอก16 พฤษภาคม 2559
16
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวจุฬาภรณ์ แพ่งพนม
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นตอนการเพาะถั่วงอก
วัสดุอุปกรณ์ในการเพาะ 1. เมล็ดถั่วเขียวคุณภาพดี 2. ถังพลาสติกเจาะรูระบายน้ำ ตะกร้าพลาสติก 3. กระสอบป่านตัดเป็นวงกลม 4. ตะแกงพลาสติกตัดเป็นวงกลม 5. ตะกร้าพลาสติก
6. น้ำสะอาด ึ7. ถังน้ำ วิธีการเพาะ 1. วันที่ 16 พ.ค. ใช้เมล็ดถั่วเขียวประมาณ 3 กก. แช่ในน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 55 - 60 องศาเซลเซียส ประมาณ½ - 1 ชั่วโมง แล้วล้างเมล็ดถั่ว- เขียวให้สะอาด โดยล้างเอาสิ่งเจือปนต่างๆ และเมล็ดที่พองตัวออกเพราะจะ เป็นเมล็ดอ่อน เมล็ดที่ถูกแมลงทำลายและเมล็ดที่เสื่อมคุณภาพ ซึ่งเป็น สาเหตุให้ถั่วงอกเน่าเสียหายได้ หลังจากนั้นแช่น้ำต่อไปอีก 8-10 ชั่วโมง หรือ 1 คืน 2. วันที่ 17 พ.ค. 2559 ล้างเมล็ดที่แช่น้ำแล้ว นำขึ้นมาผึ่งในตะแกรงสักครู่เมล็ดจะพองตัวขึ้น นำกระสอบป่านที่ตัดแล้วใส่ลงในถังแล้ววางตะแกรงพลาสติกเสร็จแล้วนำเมล็ดถั่วเขียวไปโรยให้ทั่วทำให้ครบสี่ชั้น รดน้ำให้ชุ่มทุก 2-3 ชั่วโมง 3.นำไปวางไว้ในร่มและเย็น 4. เมื่อเพาะถึงวันที่ 3 คือวันที่ 19 พ.ค. 2559ถั่วงอกโตพอสมควร นำมาล้างเอา เปลือกถั่วเขียวออก จะได้ถั่วงอกสำหรับประกอบอาหารกลางวัน ที่เหลือจากการประกอบอาหารกลางวัน นำไปขาย
ให้กับร้านค้าในชุมชน ขั้นตอนการเพาะทานตะวันงอก วัสดุและอุปกรณ์ ในการเพาะ 1. เมล็ดทานตะวัน 2. ดินสำหรับการปลูก 3. ตะกร้าพลาสติก 4.น้ำเปล่า 5. ผ้าขนหนูผืนเล็ก 6. กะละมัง วิธีการเพาะ

1.วันที่ 16 พ.ค. 2559 นำเมล็ดทานตะวันมาล้างน้ำสะอาดโดยล้างเอาเศษผงออกสองรอบโดยการใช้มือช้อนเมล็ดออกจากวัสดุใส่ไปอีกวัสดุหนึ่ง เมื่อล้างครบสองน้ำแล้ว ให้แช่เมล็ดทานตะวันไว้ 8 ชั่วโมง 2. หลังจากแช่เมล็ดทานตะวันครบ 8 ชั่วโมง ให้นำเมล็ดขึ้นผึ่งน้ำสักพัก แล้วนำไปบ่มไว้ด้วยการห่อผ้าขาขนหนู ทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน หลังจากบ่มครบหนึ่งคืน แล้วจะเริ่มมีรากตุ่มขาวๆ งอกออกมาแล้วนำไปลงดิน 3. นำดินใส่ตะกร้าพลาสติก โดยใส่ดินสูงประมาณ 1 นิ้วครึ่ง 4. นำเมล็ดพันธุ์ที่แช่น้ำไว้ 1 คืน มาโปรยลงไปในถาด หรือตะกร้าเพาะ ให้สม่ำเสมอ อย่าให้เมล็ดซ้อนกัน แล้วรดน้ำให้ชุ่ม 5. นำตะกร้าเพาะไปวางไว้ในที่ร่มรำไร เมื่องอกสูงพอสมควร ควรต้นอ่อนทานตะวันให้ได้รับแสงแดดอ่อนบ้าง 6. รดน้ำให้ชุ่มทุกวัน เช้า-เย็น โดยใช้บัวรดน้ำ 7. วันที่ 23 พ.ค. 2559 หลังจากเพาะ ต้นอ่อนจะมีใบ 2 ใบ ลำต้นสูงประมาณ 3-4 นิ้ว ก็สามารถใช้กรรไกรตัดและนำไปประกอบอาหารกลางวัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ผลผลิต

1.1.ครูนักเรียน จำนวน............20.........คน. ได้ฝึกปฏิบัติการเพาะถั่วงอก ได้จำนวน.......10......ตะกร้า และต้นอ่อนทานตะวันได้จำนวน.......10......ตะกร้า โดยมีผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม จำนวน......2.........คน

2.ผลลัพธ์

2.1 นักเรียนและผู้ปกครองได้ร่วมกันเพาะต้นอ่อนทานตะวัน และถั่วงอก เพื่อใช้เป็นเมนูอาหารกลางวันให้กับนักเรียน

2.2 นักเรียนมีเมนูอาหารกลางวัน ที่ใช้ผักจากที่ทำการเพาะเอง ทำให้เกิดเมนูอาหารที่หลากหลายมีประโยชน์ และมีความปลอดภัย

2.3 นักเรียนได้เชื่อมโยงกับวิชาเรียน การงานและอาชีพ สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถสร้างเป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 22 คน จากที่ตั้งไว้ 22 คน
ประกอบด้วย