ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนบ้านยางเครือ |
สังกัด | ?? |
หน่วยงานต้นสังกัด | ?? |
ที่อยู่โรงเรียน | 42 หมู่ที่ 2 ตำบลกุดเมืองฮาม อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ |
จำนวนนักเรียน | 72 คน |
ช่วงชั้น | อนุบาล,ประถม |
ผู้อำนวยการ | นายบุญส่ง พื้นผา |
ครูผู้รับผิดชอบ | นางสาวจุฬาภรณ์ แพ่งพนม |
-
-ผลผลิต 1. ครูและบุคลากร จำนวน 9 คน นักเรียนจำนวน 72 คน ร่วมกันปล่อยปลาเพื่ออาหารกลางวัน -ผลลัพธ์ 1. ครู บุคลากรและนักเรียนโรงเรียนบ้านยางเครือมีปลาที่เลี้ยงเองเพื่อประกอบอาหารกลางวันอย่างเพียงพอ
-ครูผู้ดูแลโครงการและผู้รับผิดชอบการเงิน เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำรายงานสรุปการเงินปิดโครงการ (ง2)และรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ (ส.3) แบบออนไลน์โดยวิทยากรได้ตรวจเอกสารการเงินงวดที่2 และงวดที่ 3 และได้ลงข่อมูลในระบบออนไลน์อย่างเรียบร้อย
-
1.ผลผลิต
1.1 นักเรียนจำนวน 72 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา 9 คน
2.ผลลัพธ์ 2.1ครู นักเรียนโรงเรียนบ้านยางเครือ ได้จัดทำข้อมูลภาวะโภชนาการนักเรียนรายบุคคล เพื่อติดตามข้อมูลน้ำหนักส่วนสูงนักเรียน 2.2 นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ตามวัย
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560 โรงเรียนบ้านยางเครือจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เด็กไทยแก้มใส โดยร่วมกับภาคีเครือข่าย โรงเรียนเครือข่ายเด็กไทยแก้มใส ผู้ปกครองชุมชน เยี่ยมชมผลการดำเนินงานของโรงเรียน
1.ผลผลิต
1.1 นักเรียนจำนวน 72 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา 9 คน ผู้ปกครอง 20 คน กรรมการสถานศึกษาจำนวน 8 คน ชุมชน 4 คน ผู้นำศานาจำนวน 2 คน เจ้าหน้าที่รพสต.จ 5 คน เยี่ยมชมนิทรรศการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส โรง้รียนบ้านยางเครือเด็กไทยแก้มใส
2.ผลลัพธ์ 2.1ครู นักเรียนโรงเรียนบ้านยางเครือ และผู้ปกครองคณระกรรมการสถานศึกษา ชุมชน ผู้นำศาสนา เจ้าหน้าที่ รพสต. กุดเมืองฮาม เยี่ยมชมนิทรรศการ ผลการดำเนิน ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส โรง้รียนบ้านยางเครือเด็กไทยแก้มใส 2.2 เกิดความสามัคคีระหว่างโรงเรียนและชุมชน
วันที่ 15 ธันวาคม 2560 คณะครูบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนโรงเรียนบ้านยางเครือ จัดกิจกรรมพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนร่วมกับผู้ปกครอง
- ผลผลิต 1.1 ครูนักเรียนโรงเรียนบ้านยางเครือ จำนวน 55 คน และผู้ปกครองจำนวน 50 คน ร่วมกันพัฒนาโรงเรียน
- ผลลัพธ์ 2.1 ครู นักเรียน และผู้ปกครองโรงเรียนบ้านยางเครือได้ร่วมมือกันพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน ทำให้โรงเรียนสะอาด น่าอยู่ มีสภาพแวดล้อมที่ดี เหมาะต่อการเรียนรู้ 2.2 เกิดความสามัคคีระหว่างโรงเรียนและชุมชน โดยผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน
-
-
กำหนดการอบรมให้ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ วันที่ 25 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ณ โรงเรียนบ้านยางเครือ วิทยากร นายพิสรรค์นาคสิงห์ เวลา08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมอบรม 09.00 – 09.30 น. ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางเครือกล่าวเปิดการอบรม 09.30 – 12.00 น. วิทยากรให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวันและอาหารว่าง 13.00 – 15.00 น. วิทยากรให้ความรู้หลักและวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ 15.00ปิดการอบรม
- ผลผลิต 1.1 ครูนักเรียนโรงเรียนบ้านยางเครือ จำนวน 40 คน เข้ารับการอบรมการทำเกษตรอินทรีย์และการทำน้ำหมักชีวภาพ โดยมีผู้ปกครองเข้าร่ม 10 คน
- ผลลัพธ์ 2.1 ครู นักเรียนและผู้ปกครองโรงเรียนบ้านยางเครือได้รับความรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์และการทำน้ำหมักชีวภาพ 2.2 ครู นักเรียนและผู้ปกครองสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาการเกษตรในโรงเรียน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
1.ผลผลิต
1.1.ครูนักเรียน จำนวน............33.........คน. ได้ฝึกปฏิบัติการปลูกมะละกอโดยมีผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม จำนวน.......5........คน
2.ผลลัพธ์
2.1 ครูนักเรียนและผู้ปกครองได้ร่วมกันปลูกมะละกอ เพื่อใช้เป็นเมนูอาหารกลางวันให้กับนักเรียน
2.2 นักเรียนได้รับประทานผลไม้ ที่ได้จากการปลูกเอง มีประโยชน์ และมีความปลอดภัย
2.3 นักเรียนได้เชื่อมโยงกับวิชาเรียน การงานอาชีพและเทคโนโลยี สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถสร้างเป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน
1.ผลผลิต
1.1.ครูนักเรียน จำนวน............44.........คน. ได้ฝึกปฏิบัติการปลูกแก้วมังกรโดยมีผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม จำนวน.......2........คน
2.ผลลัพธ์
2.1 ครูนักเรียนและผู้ปกครองได้ร่วมกันปลูกแก้วมังกร เพื่อใช้เป็นเมนูอาหารกลางวันให้กับนักเรียน
2.2 นักเรียนได้เชื่อมโยงกับวิชาเรียน การงานอาชีพและเทคโนโลยี สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถสร้างเป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน
วันที่ 9 พฤศจิยายน 2559
1.ผลผลิต
1.1.ครูนักเรียน จำนวน.........81........คน. ได้ฝึกปฏิบัติการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่ออาหารกลางวัน
2.ผลลัพธ์
2.1 ครูและนักเรียนได้ร่วมกันปลูกผักสารพิษ เพื่อใช้เป็นเมนูอาหารกลางวันให้กับนักเรียน
2.2 นักเรียนมีเมนูอาหารกลางวัน ที่ได้จากผักที่ปลูกเอง ทำให้เกิดเมนูอาหารที่หลากหลายมีประโยชน์ และมีความปลอดภัย
2.3 นักเรียนได้เชื่อมโยงกับวิชาเรียน การงานอาชีพและเทคโนโลยี สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถสร้างเป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน
วันที่4 พฤษจิกายน 2559 โรงเรียนบ้านยางเครือ มีการซื้อปุ๋ยอินทรีย์จากชุมชน เพื่อใช้ในการเกษตรในโรงเรียน
- ผลผลิต 1.1 นักเรียน ครูบคลากรโรงเรียนบ้านยางเครือ จำนวน 80 คน มีปุ๋ยอินทรีย์ สำหรับใส่พืชผลทางการเกษตร
- ผลลัพธ์ 2.1 โรงเรียนบ้่นยางเครือมีปุ๋ยอินทรีย์สำหรับใส่พืชผลทางการเกษตรทำให้ได้ผลผลิตที่เพียงพอสำหับประกอบอาหารกลางวัน
วันที่ 24 ตุลาคม 2559 ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำรายงานศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสงวดที่ 1 ณ โรงแรมสุนีย์แกรนด์ แอนด์คอนเวนชั่น จ.อุบลราชธานี
1.บุคลากรในโรงเรียนขบ้านยางเครือ จำนวน 2 คน 2.เรียนรู้การจัดทำรายงานศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสงวดที่ 1 และขอเบิกงวดที่ 2
วันที่ 21 เดือนกันยายน พ.ศ. 2559 โรงเรียนบ้านยางเครือได้ร่วมจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรงเรียนเครือข่ายเด็กไทยแก้มใส ที่โรงเรียนบ้่านกุดเมืองฮาม อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 15.00 น.
1.ผลผลิต
1.1 เด็กนักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนบ้านยางเครือ จำนวน 7 คน
2. ผลลัพธ์
2.1 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนกับโรงเรียนเครือข่าย เรื่องโรงเรียนพอเพียงต้นแบบ
- จัดทำที่แปรงฟันสำหรับนักเรียน ให้มีความสะอาด และเหมาะสม เพียงพอต่อนักเรียน 2.จัดหาแปรงสีฟันสำหรับนักเรียนให้ครบทุกคน
- จัดหายาสีฟันให้ครบจำนวนนักเรียน
- ครูเวรประจำวันดูแลนักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารทุกวัน
1.ผลผลิต
1.1.นักเรียน จำนวน............72.........คน. ได้ฝึกปฏิบัติการแปรงฟันที่ถูกวิธี
2.ผลลัพธ์
2.1 นักเรียนมีสถานที่แปรงฟันที่เหมาะสม
2.2 นักเรียนมีแปรงสีฟันครบทุกคน
2.3 นักเรียนได้แปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกคน ทำให้มีสุขภาพฟันดี ฟันผุลดลง
กำหนดการอบรมการทำเกษตรอินทรีย์ วันที่ 1 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2559 ณ โรงเรียนบ้านยางเครือ วิทยากร นางวิลาวัลย์ แก้วคำ เวลา หัวข้อการอบรม 08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมอบรม 09.00 – 09.30 น. ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางเครือกล่าวเปิดการอบรม 09.30 – 12.00 น. วิทยากรให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวันและอาหารว่าง 13.00 – 15.00 น. วิทยากรให้ความรู้หลักและวิธีการปลูกพืช-ผัก 15.00ปิดการอบรม
- ผลผลิต 1.1 ครูนักเรียนโรงเรียนบ้านยางเครือ จำนวน 50 คน เข้ารับการอบรมการทำเกษตรอินทรีย์
- ผลลัพธ์ 2.1 ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านยางเครือได้รับความรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์จากภูมิปัญญาชาวบ้าน 2.2 ครูและนักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาการเกษตรในโรงเรียน
วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคมพ.ศ. 2559
กิจกรรมอบรม อ.ย. น้อย ซึ่งผู้ประชุม ประกอบไปด้วย ครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านยางเครือจำนวน 9 คน นักเรียน 41 คน รวมผู้ร่วมประชุมจำนวน 50 คน
ตามกำหนดการ ดังนี้
08.30 น. ผู้เข้าร่วมประชุมเริ่มลงทะเบียน
09.00-09.30 น. ประธานในพิธี (นายบุญส่ง พื้นผา) ทำพิธีเปิดการประชุม
09.30-12.00 น. นายบุตรดี วงษ์มณี ให้ความรู้ เรื่อง สารปนเปื้อนในอาหาร
11.30-12.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30-15.30 น. นายบุตรดี วงษ์มณี ให้ความรู้ เรื่อง -โทษของสารต้องห้ามในเครื่องสำอาง ความรู้เรื่องยา
โทษและพิษภัยของยาชุด ยาปฏิชีวนะที่จำหน่ายในร้านชำ วัตถุอันตราย ฉลากอาหาร
15.30-16.00 น. สรุปความรู้จากการประชุม
16.00 น. พิธีปิด
1.ผลผลิต
1.1.ครูนักเรียน จำนวน............50.........คน. ได้ร่วมอบรม อ.ย.น้อย
2.ผลลัพธ์
2.1 นักเรียน อย.น้อย สามารถดำเนินกิจกรรมอย.น้อย ทั้งในโรงเรียนและในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.2 นักเรียน อย.น้อย มีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว
2.3 นักเรียน อย.น้อยได้เชื่อมโยงกับวิชาเรียน การงานอาชีพและเทคโนโลยี สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
ขั้นตอนการเพาะเห็ดนางฟ้า
1. นำสำลีออกจากก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า แล้วรดน้ำที่พื้น ประมาณ 3-5 วัน เก็ดจะเริ่มออกดอก
2. เมื่อเห็ดออกดอกรดน้ำทุกวัน เช้าเย็น ให้โดนก้อนเห็ดและดอกเห็ด แต่ระวังอย่าให้น้ำเข้าข้างในก้อนเชื้อเห็ด เพราะจะทำให้เห็ดเน่าได้
3. เมื่อเห็ดออกดอกโตพอสมควร เก็บมาประกอบอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน
1.ผลผลิต
1.1.ครูนักเรียน จำนวน............21.........คน. ได้ฝึกปฏิบัติการเพาะเห็ดนางฟ้าโดยมีผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม จำนวน.......2........คน
2.ผลลัพธ์
2.1 นักเรียนและผู้ปกครองได้ร่วมกันเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อใช้เป็นเมนูอาหารกลางวันให้กับนักเรียน
2.2 นักเรียนมีเมนูอาหารกลางวัน ที่ใช้เห็ดจากที่ทำการเพาะเอง ทำให้เกิดเมนูอาหารที่หลากหลายมีประโยชน์ และมีความปลอดภัย
2.3 นักเรียนได้เชื่อมโยงกับวิชาเรียน การงานและอาชีพ สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถสร้างเป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน
วันพฤหัสบดีที่29มิถุนายน2559
ช่วงเช้า
08.00น. รับลงทะเบียนแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
09.00น. ประธานโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์และการดำเนินงาน
10.30น. ชี้แจงกิจกรรมที่ดำเนินการ
11.30น. พักรับประทานอาหารกลางวันและอาหารว่าง
ช่วงบ่าย
13.00 น. วิทยากรให้ความรู้เรื่องการจัดบริการอาหาร
14.00น. กล่าวสรุปการจัดกิจกรรมทั้งหมด
15.00น. เสร็จสิ้นกิจกรรม
1.ผลลิต
1.1. ครูนักเรียน จำนวน 59 คน ผู้ปกครอง จำนวน 46 คน
2. ผลลัพธ์
2.1 ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผู้ปกครอง ชุมชน นักเรียน เข้าใจการดำเนินงานโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเพื่อที่จะให้โรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้ของโรงเรียน และชุมชนต่อไปอย่างยั่งยืน
2.2ครู แม่ครัว รู้จักวิธีการประกอบอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ และสารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการประกอบอาหารที่ถูกสุขลักษณะแก่นักเรียน
ขั้นตอนการเพาะถั่วงอก
วัสดุอุปกรณ์ในการเพาะ
1. เมล็ดถั่วเขียวคุณภาพดี
2. ถังพลาสติกเจาะรูระบายน้ำ ตะกร้าพลาสติก
3. กระสอบป่านตัดเป็นวงกลม
4. ตะแกงพลาสติกตัดเป็นวงกลม
5. ตะกร้าพลาสติก
6. น้ำสะอาด
ึ7. ถังน้ำ
วิธีการเพาะ
1. วันที่ 16 พ.ค. ใช้เมล็ดถั่วเขียวประมาณ 3 กก. แช่ในน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 55 - 60 องศาเซลเซียส ประมาณ½ - 1 ชั่วโมง แล้วล้างเมล็ดถั่ว- เขียวให้สะอาด โดยล้างเอาสิ่งเจือปนต่างๆ และเมล็ดที่พองตัวออกเพราะจะ เป็นเมล็ดอ่อน เมล็ดที่ถูกแมลงทำลายและเมล็ดที่เสื่อมคุณภาพ ซึ่งเป็น สาเหตุให้ถั่วงอกเน่าเสียหายได้ หลังจากนั้นแช่น้ำต่อไปอีก 8-10 ชั่วโมง หรือ 1 คืน
2. วันที่ 17 พ.ค. 2559 ล้างเมล็ดที่แช่น้ำแล้ว นำขึ้นมาผึ่งในตะแกรงสักครู่เมล็ดจะพองตัวขึ้น นำกระสอบป่านที่ตัดแล้วใส่ลงในถังแล้ววางตะแกรงพลาสติกเสร็จแล้วนำเมล็ดถั่วเขียวไปโรยให้ทั่วทำให้ครบสี่ชั้น รดน้ำให้ชุ่มทุก 2-3 ชั่วโมง
3.นำไปวางไว้ในร่มและเย็น
4. เมื่อเพาะถึงวันที่ 3 คือวันที่ 19 พ.ค. 2559ถั่วงอกโตพอสมควร นำมาล้างเอา เปลือกถั่วเขียวออก
จะได้ถั่วงอกสำหรับประกอบอาหารกลางวัน ที่เหลือจากการประกอบอาหารกลางวัน นำไปขาย
ให้กับร้านค้าในชุมชน
ขั้นตอนการเพาะทานตะวันงอก
วัสดุและอุปกรณ์ ในการเพาะ
1. เมล็ดทานตะวัน
2. ดินสำหรับการปลูก
3. ตะกร้าพลาสติก
4.น้ำเปล่า
5. ผ้าขนหนูผืนเล็ก
6. กะละมัง
วิธีการเพาะ
1.วันที่ 16 พ.ค. 2559 นำเมล็ดทานตะวันมาล้างน้ำสะอาดโดยล้างเอาเศษผงออกสองรอบโดยการใช้มือช้อนเมล็ดออกจากวัสดุใส่ไปอีกวัสดุหนึ่ง เมื่อล้างครบสองน้ำแล้ว ให้แช่เมล็ดทานตะวันไว้ 8 ชั่วโมง 2. หลังจากแช่เมล็ดทานตะวันครบ 8 ชั่วโมง ให้นำเมล็ดขึ้นผึ่งน้ำสักพัก แล้วนำไปบ่มไว้ด้วยการห่อผ้าขาขนหนู ทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน หลังจากบ่มครบหนึ่งคืน แล้วจะเริ่มมีรากตุ่มขาวๆ งอกออกมาแล้วนำไปลงดิน 3. นำดินใส่ตะกร้าพลาสติก โดยใส่ดินสูงประมาณ 1 นิ้วครึ่ง 4. นำเมล็ดพันธุ์ที่แช่น้ำไว้ 1 คืน มาโปรยลงไปในถาด หรือตะกร้าเพาะ ให้สม่ำเสมอ อย่าให้เมล็ดซ้อนกัน แล้วรดน้ำให้ชุ่ม 5. นำตะกร้าเพาะไปวางไว้ในที่ร่มรำไร เมื่องอกสูงพอสมควร ควรต้นอ่อนทานตะวันให้ได้รับแสงแดดอ่อนบ้าง 6. รดน้ำให้ชุ่มทุกวัน เช้า-เย็น โดยใช้บัวรดน้ำ 7. วันที่ 23 พ.ค. 2559 หลังจากเพาะ ต้นอ่อนจะมีใบ 2 ใบ ลำต้นสูงประมาณ 3-4 นิ้ว ก็สามารถใช้กรรไกรตัดและนำไปประกอบอาหารกลางวัน
1.ผลผลิต
1.1.ครูนักเรียน จำนวน............20.........คน. ได้ฝึกปฏิบัติการเพาะถั่วงอก ได้จำนวน.......10......ตะกร้า และต้นอ่อนทานตะวันได้จำนวน.......10......ตะกร้า โดยมีผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม จำนวน......2.........คน
2.ผลลัพธ์
2.1 นักเรียนและผู้ปกครองได้ร่วมกันเพาะต้นอ่อนทานตะวัน และถั่วงอก เพื่อใช้เป็นเมนูอาหารกลางวันให้กับนักเรียน
2.2 นักเรียนมีเมนูอาหารกลางวัน ที่ใช้ผักจากที่ทำการเพาะเอง ทำให้เกิดเมนูอาหารที่หลากหลายมีประโยชน์ และมีความปลอดภัย
2.3 นักเรียนได้เชื่อมโยงกับวิชาเรียน การงานและอาชีพ สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถสร้างเป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน