แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1
ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านน้ำขวบ-โนนดู่(กองทัพบกอุปถัมภ์)
ชุมชน หมู่ 2 ตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
รหัสโครงการ ศรร.1311-073 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-อ.27
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2559 ถึง 30 เมษายน 2560
รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน พฤษภาคม 2559 ถึงเดือน กันยายน 2559
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์** กิจกรรมของโครงการ | ผลผลิต* | |
---|---|---|
ผลผลิตที่ตั้งไว้ | ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง | |
1. ประชุมประกาศนโยบาย และความร่วมมือ |
||
วันที่ 13 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้บุคลากรในโรงเรียน 25 คน นักเรียน 280 คน ผู้ปกครองชุมชน 150 คน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าชมนิทรรศการ การจัดการศูนย์เรียนรู้ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงโรงเรียนได้นำเสนอความเป็นมาของโครงการ และแนวทางในการดำเนินงานของโครงการ โดยได้กำหนดผลการดำเนินงานของโครงการมีแนวทางคือให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง และให้เกิดผลต่อนักเรียนและชุมชนให้ได้มากที่สุด กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนประชุมประกาศนโยบาย และความร่วมมือ ประกาศการดำเนินการโครงการในที่ประชุมผู้ปกครองเปิดภาคเรียน กิจกรรมที่ทำจริงการประชุม ครู นักเรียน และผู้ปกครอง เพื่อแจ้งความเป็นมาและความจำเป็นในการดำเนินการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้
-ผู้อำนวยการกล่าวเปิดการประชุม และนำเสนอความเป็นมาของโครงการเด็กไทยแก้มใส
|
305 | 505 |
2. กิจกรรมการเตรียมการดำเนินงานด้านการเกษตรด้วยระบบสหกรณ์ |
||
วันที่ 16 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้นักเรียนร้อยละ 100 มีส่วนร่วมในการเกษตรตามโครงการด้วยความร่วมมือของโรงเรียนและเครือข่ายความร่วมมือ ส่งผลผลิตให้โครงการอาหารกลางวันอย่างน้อยร้อยละ 30 ของผลผลิตทั้งปี ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงนักเรียนมีความรู้ความสามารถในการผลิตผลผลิตทางการเกษตร และระบบบริหารงานสหกรณ์โรงเรียน กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนกิจกรรมการเตรียมการดำเนินงานด้านการเกษตรด้วยระบบสหกรณ์ การผลิตผลผลิตทางการเกษตรที่สอดคล้องกับความต้องการการประกอบอาหารกลางวัน กิจกรรมที่ทำจริงให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการผลิตผลผลิตทางการเกษตรเพื่อส่งขายต่อที่สหกรณ์โรงเรียน ให้นักเรียนมีส่วนร่วม 100 เปอร์เซนต์ มีขั้นตอนดังนี้ 1. ให้นักเรียนเป็นสมาชิกของสหกรณ์โรงเรียน 2. มอบหมายให้นักเรียนรับผิดชอบผลิตผลผลิตทางการเกษตรเพื่อส่งให้สหกรณ์โรงเรียน
|
305 | 305 |
3. การอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากร นักเรียนและชุมชน |
||
วันที่ 31 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้บุคลากรในโรงเรียน 25 คน นักเรียน 280 คน ผู้ปกครองชุมชน 41 คน เข้าร่วมพัฒนาศักยภาพการจัดการโครงการ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงผู้เข้าร่วมอบรมได้ทราบถึงความสำคัญของสุขภาวะที่ดี และแนวทางในการสร้างสุขภาวะที่ดีกับตนเอง และนักเรียน การเฝ้าระวัง และปฏิบัติตนให้มีสุขภาวะที่ดี ผู้เข้าร่วมอบรมได้ทราบถึงความสำคัญของการจัดอาหารสำหรับคนแต่ละวัย และนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเจริญเติบโตสมวัย การเลือกบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารที่เหมาะสม สัดส่วนอาหารในการบริโภคในแต่ละมื้อ การเลือกบริโภคอาหารที่มีคุณค่าในท้องถิ่นแทนการซื้ออาหารตามท้องตลาด ผู้เข้าร่วมอบรมไดทราบถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่เหมาะสมตามวัย การบริหารร่างกายเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และการบริหารสุขภาพจิต ได้ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย บริหารร่างกาย และการฝึกโยคะเพื่อร่างกายและสุขภาพจิตที่ดี กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากร นักเรียนและชุมชน กิจกรรมที่ทำจริงประทานในพิธี บรรยายพิเศษ ความเป็นมาของโครงการ และกล่าวเปิดกิจกรรมอบรมพัฒนาบุคลากร ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส พิธีลงนามความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือดำเนินงานโครงการ ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส การบรรยายเรื่อง ความสำคัญของสุขภาวะที่ดี และแนวทางในการสร้างสุขภาวะที่ดีกับตนเอง และนักเรียน การเฝ้าระวัง และปฏิบัติตนให้มีสุขภาวะที่ดี ความสำคัญของการจัดอาหารสำหรับคนแต่ละวัย และนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเจริญเติบโตสมวัย การเลือกบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารที่เหมาะสม สัดส่วนอาหารในการบริโภคในแต่ละมื้อ การเลือกบริโภคอาหารที่มีคุณค่าในท้องถิ่นแทนการซื้ออาหารตามท้องตลาด ความสำคัญของการออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่เหมาะสมตามวัย การบริหารร่างกายเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และการบริหารสุขภาพจิต ได้ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย บริหารร่างกาย และการฝึกโยคะเพื่อร่างกายและสุขภาพจิตที่ดี
|
305 | 102 |
4. อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมอาชีพการเกษตร การปรับปรุงดินด้วยการปลูกพืชตระกูลถั่ว |
||
วันที่ 31 สิงหาคม 2559 เวลา 10:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้บุคลากรในโรงเรียน 25 คน นักเรียน 280 คน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงความสำคัญของการปรับปรุงพื้นที่เพื่อการเกษตร กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนสำนักงานพัฒนาที่ดินให้การอบรมเชิงปฏิบัติการ การปรับปรุงดินด้วยการปลูกพืชตระกูลถั่ว กิจกรรมที่ทำจริงผู้อำนวยการเปิดกิจกรรม
วิทยากรจากสำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดศรีสะเกษแนะนำคณะวิทยากร
บรรยายความสำคัญของการปรับปรุงพื้นที่เพื่อการเกษตร
|
65 | 65 |
5. การประชุมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสุขภาวะ |
||
วันที่ 20 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้บุคลากรในโรงเรียน 25 คน นักเรียน 280 คน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต 1.บุคลากรในโรงเรียน 25 คน นักเรียน 280 คน ผู้ปกครองนักเรียน 31 คน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการจัดการสุขภาวะ ผลลัพธ์ 1.ผู้ปกครองนักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้แนวทาง วิธีการปฏิบัติจัดการด้านสุขภาวะของนักเรียนเกี่ยวกับการภาวะการเจริญเติบโตของร่างกายเมื่อเริ่มมีภาวะเริ่มอ้วน และอ้วน ภาวะค่อนข้างเตี้ย และเตี้ย ภาวะค่อนข้างผอม และผอม กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนการประชุมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสุขภาวะ ในภาคเรียนที่ 1 เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนากิจกรรมในภาคเรียนที่ 2 ต่อไป กิจกรรมที่ทำจริง1.พิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสุขภาวะโดยนายบรรจง นวลแย้ม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านน้ำขวบ-โนนดู่(กองทัพบกอุปถัมภ์) 2.กล่าวรายงานโดยนายตฤณ ทีงาม ผู้รับผิดชอบโครงการ 3.บรรยายพิเศษโดยผู้อำนวยการโรงเรียน 4.เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนบึงมะลูบรรยายให้ความรู้เรื่องสุขภาวะ 5.ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มย่อย 3 กลุ่ม *ผู้ปกครองเด็กมีภาวะเริ่มอ้วน และอ้วน *ผู้ปกครองเด็กมีภาวะค่อนข้างเตี้ย และเตี้ย *ผู้ปกครองเด็กมีภาวะค่อนข้างผอม และผอม 6.สรุปองค์ความรู้โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนบึงมะลู 7.ตอบปัญหาข้อสงสัย 8.ตอบแบบประเมิน 9.ปิดการประชุม
|
25 | 56 |
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ
ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการ | ทั้งหมด | ทำแล้ว | 10% | 20% | 30% | 40% | 50% | 60% | 70% | 80% | 90% | 100% |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การทำกิจกรรม | 15 | 6 | ✔ | |||||||||
การใช้จ่ายงบประมาณ | 100,000.00 | 25,000.00 | ✔ | |||||||||
คุณภาพกิจกรรม | 24 | 23 | ✔ |
ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)
ประเด็นปัญหา/อุปสรรค | สาเหตุเพราะ | แนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน |
---|---|---|
|
|
|
แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป
- การจัดทำแผนการเรียนรู้ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ ( 1 พ.ย. 2559 - 16 ก.ค. 2560 )
- กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การดำเนินการพัฒนาและเพิ่มปริมาณการผลิตด้านการเกษตร ( 1 พ.ย. 2559 - 15 พ.ย. 2559 )
- การจัดนิทรรศการ และประมวลผลการจัดการโครงการตลอดปี ( 1 ก.พ. 2560 )
(................................)
นายบรรจง นวลแย้ม
ผู้รับผิดชอบโครงการ