แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อเจริญรอยตามพระยุคลบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี โดยการน้อมนำรูปแบบที่ดี "ด้านการจัดการอาหารโภชนาการและสุภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรในโครงการพระราชดำริฯ" มาปฏิบัติและพัฒนาสู่โรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใสให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ๓ หมู่บ้าน ภายในเดือน เมษายน 2560
ตัวชี้วัด : ความสามารถในการพัฒนาและบริการโรงเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้และการศึกษาดูงาน

 

 

1.โรงเรียนมีเครือข่ายของโรงเรียนในศูนย์เครือข่าย ผู้ปกครอง ชุมชนนำไปขยายผลสู่ครอบครัวผลิตอาหารปลอดภัยและได้มาตรฐาน

2.ด้านเกษตร ที่โดดเด่นโดยเฉพาะเรื่องการเลี้ยงกบที่ถือเป็นความสำเร็จระดับหนึ่ง คือ โรงเรียนสามารถผลิตลูกพันธุ์กบเองได้โดยไม่ต้องซื้อ และสามารถมอบลูกพันธ์ุกบให้กับชุมชนนำไปเลี้ยงเองเพื่อเป็นอาชีพเสริมและผลิตเป็นอาหารในครัวเรือนเกิดวิทยากรชุมชนทั้งครูและนักเรียนในการถ่ายทอดความรู้ให้กับบุตตลที่สนใจเข้ามาเรียนรู้

2 เพื่อให้นักเรียน มีภาวะโภชนาการตามวัย สมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์(ต่ำกว่าเกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 7)
ตัวชี้วัด : นักเรียนมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนไม่เกินร้อยละ 7 นักเรียนมีภาวะค่อนข้างผอมและผอมไม่เกินร้อยละ 7 นักเรียนมีภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยไม่เกินร้อยละ 7 นักเรียนมีมีสรรถภาพทางกายต่ำกว่าระดับดี ไม่เกินร้อยละ 7

 

 

การติดตามภาวะโภชนาการ สมรรถภาพทางกายและสุขภาพนักเรียน มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ภาคเรียนละ 2 ครั้ง จำนวนนักเรียนทั้งหมด 131 คน เปรียบเทียบผลภาวะโภชนาการในครั้งที่1กับครั้งที่ 4ผอมร้อยละ3.08 (ลดลง ร้อยละ 11.42) ค่อนข้างผอม ร้อยละ8.46 (ลดลงร้อยละ 1.46)สมส่วนร้อยละ 78.46(เพิ่มขึ้นร้อยละ15.10) ท้วม ร้อยละ2.31(ลดลงร้อยละ 3.03) เริ่มอ้วน ร้อยละ3.85 (เพิ่มขึ้น 0.80) อ้วน ร้อยละ 3.85 (เพิ่มขึ้น 0.03)

3 เพื่อให้โรงเรียนมีผลผลิตด้านการเกษตรสนับสนุนโรงเรียนอาหารกลางวันไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 อย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด : มีผลผลิตด้านการเกษตร ด้านผักปลอดสารพิษการเลี้ยงสัตว์ การประมง สนับสนุนอาหารกลางวันได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ70

 

 

ผลผลิตทางการเกษตรในโรงเรียนประมาณ ร้อยละ 70 และซื้อจากแหล่งผลิตปลอดสารพิษในชุมชนประมาณ ร้อยละ 30

4 เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และมีสุขนิสัยที่ดีด้านสุขภาพอนามัย เกษตร และกิจกรรมสหกรณ์
ตัวชี้วัด : นักเรียนทุกระดับชั้นได้เรียนรู้เรื่องการเกษตร สุขภาพอนามัยสหกรณ์ และมีสุขนิสัยที่ดีในด้านสุขภาพ

 

 

การจัดการเรียนรู้เกษตรสหกรณ์อาหารโภชนาการและสุขภาพอนามัย ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับองค์ประกอบทั้ง 8 องค์ประกอบ นักเรียนได้ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้และฝึกประสบการณ์จริง มีการถอดบทเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถอดบทเรียนโดยใช้แอนิเมชั่นในวิชาคอมพิวเตอร์