ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนโนนสูงโคกกลาง

รหัสโครงการ ศรร.1311-088 รหัสสัญญา 58-00-2265-อ.42 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

วันที่เริ่มประเมิน

1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
1. การเกษตรในโรงเรียน

การจัดกิจกรรมเกษตรเพื่ออาหารกลางวันที่หลากหลายและเน้นให้ผู้เรียนและครูมีส่วนร่วมในกิจกรรม โดยแน้นกิจกรรมที่ทุกคนได้ลงมือปฏิบัติเช่นการทำนาข้าวไร้ซ์เบอรรี การปลูกกล้วยน้ำหว้า แก้วมังกร มะนาว พืชผักสวนครัว การเลี้ยงเห็ด เลี้ยงไก่พันธ์ไข่เลี้ยงปลา และเลี้ยงเป็ด

รายละเอียดการดำเนินงาน
๑. ประชุมครู เพื่อร่วมกันเสนอกิจกรรมที่จะดำเนินงานตลอดจนผู้รับผิดชอบ จากนั้นประชุมชี้แจงแก่ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา
๒. ครูุออกแบบกิจกรรมการดำเนินงาน กำหนดเป็นแผนและปฏิทิน ๓. จัดกิจกรรมตามแผนหรือปฏิทินที่กำหนดโดยเน้นการจัดกิจกรรมแบบ Active Learning คือเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่ได้ส่งต่อให้โครงการอาหารกลางวันเพื่อนำไปประกอบอาหารให้นักเรียน ๔. ผู้บริหารนิเทศติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ๕. ครูและผู้บริหารร่วมกันประเมินทบทวน AARและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการจัดกิจกรรมร่วมกัน ๖. ประเมินสรุปผลการดำเนินงาน

๑. พัฒนาต่อยอดในทุกกิจกรรมให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน ๒. ขยายปริมาณการผลิตเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียนให้มากขึ้นจนสามารถ จำหน่ายแก่ชุมชนเพื่อเป็นรายได้แก่นักเรียนและโรงเรียน ๓. จัดกิจกรรมเปิดบ้านเพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานเพื่อขยายผลสู่โรงเรียนเครือข่าย หน่วยงานต้นสังกัดและชุมชน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
2. สหกรณ์นักเรียน

กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน

กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน เป็นกิจกรรมที่เปิดดำเนินการขึ้นเพื้อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หลักการทำบัญชี การบริหารการเงิน และประโยชน์ของการมีกลุ่มสหกรณ์ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้ ๑. อบรมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการดำเนินงานสหกรณ์แก่นักเรียนและคุณครูผู้รับผิดชอบ ๒. จัดหาห้องและอุปกรณ์การจัดตั้งสหกรณ์โรงเรียน ๓. เปิดระดมหุ้นสหกรณ์จากครูและนักเรียน ๔. ดำเนินการกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียนโดยเปิดจำหน่ายทุกวันในเวลา ๐๗.๐๐-๐๗.๕๐และ ๑๑.๓๐ - ๑๒.๓๐ ๕. นักเรียนจะนำผลผลิตทางการเกษตรที่มีในโรงเรียนมาจำหน่วยแก่สหกรณ์เพื่อให้สหกรณ์ขายต่อแก่โครงการอาหารกลางวัน เป็นการหมุนเวียนทุนภายในโรงเรียน นักเรียนได้เห็นผลจากการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของการจัดกิจกรรมเกษตรต่างๆในโรงเรียน ๕. ผู้บริหารนิเทศติดตาม คณะกรรมการสหกรณ์มีการรายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมครูอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆอย่างน้อยเดือนละครั้ง ๖. เมื่อสิ้นปีคณะกรรมการทำการสรุปบัญชีเพื่อปันผลสหกรณ์คืนให้แก่สมาชิก ๗. เจ้าหน้าที่และคณะกรรมการสรุปรายงานผลการดำเนินงานเสนอต่อผู้บริหาร

ในปีการศึกษาหน้าโรงเรียนมีแนวคิดจะเปิดสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักการประหยัดและอดออมเห็นคุณค่าของการออมเงิน และอีกหนึ่งกิจกรรมคือธนาคารความดี จะเปิดบริการในรูปให้นักเรียนให้มาฝากว่าวันนี้ทำความดีอะไร ทำครบ๑๐ ครั้งได้รับโบว์๑อันสะสมความดีใครครบร้อยครั้งจะได้เกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

การจัดอบรมนักเรียนเรื่องการรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะภายใต้ชื่อกิจกรรมสุขาภิบาลดีชีวีปลอดภัยการจัดบริการอาหารกลางวันโดยใช้โปรแกรม School lunch .

มีการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องสุขนิสัยในการรับประทานอาหารกลางวันของนักเรียน และการจัดบริการอาหารกลางวันโดยใช้โปรแกรม School lunch . ซึ่งสามารถจัดบริการอาหารให้นักเรียนได้ครบตามสัดส่วนโภชนาการ นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมโดย บางวันจะมาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยแม่ครัวประกอบอาหาร และทุกวันจะมีเวรคณะกรรมการนักเรียนมาตักอาหารบริหารแก่นักเรียนซึ่งนักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารกลางวัน ได้รับสารอาหารครบทุกหมู่ทำให้มีภาวะโภชนาการที่ดี ตามเกณฑ์ ในส่วนอาหารกลางวันวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารส่วนหนึ่งได้จากโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียนจึงทำให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่ได้จากวัตถุดิบในโรงเรียน ผักหรือผลไม้ก็เป็นผลไม้ปลอดสาร

จะพัฒนารูปแบบการจัดทำอาหารกลางวันโดยเน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมมากขึ้นแต่ไม่เป็นการเบียดบังเวลาเรียน คือจัดกิจกรรมบูรณาการสอนเรื่องการประกอบอาหารต่างๆ โดยบูรณาการในกลุ่มสระสุขศึกษาหรือโครงงานอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อให้นักเรียนได้เห็นประโยชน์และความสำคัญของการประกอบอาหารฝึกการคิดวิเคราะห์การนำเสนองานสามารถนำทักษะไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

จัดทำระบบสารสนเทศภาวะโภชนาการนักเรียน

เป็นกิจกรรมที่ครูดำเนินการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงนักเรียนอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้งเพื่อเป็นการติดตามพัฒนาการการเจริญเติบโตของนักเรียน ตลอดจนการทดสอบสมรรถภาพนักเรียน เมื่อครูได้ผลการประเมินต่างๆก็จะนำมาบันทึกเป็นสารสนเทศเพื่อสะดวกในการนำผลการประเมินไปใช้ โดยครูกนำผลนี้มาเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีภาวะโภชนาการที่เหมาะสมตามเกณฑ์

จัดกิจกรรมออกกำลังกายประกอบเพลงให้แก่นักเรียนทุกเช้าก่อนเรียน ตลอดจนจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เพื่อให้นักเรียนได้ทราบถึงโทษของโรคที่เกิดจากภาวะโดภชนาการเกินเช่นโรคอ้วนหรือเบาหวานเป็นต้น จะทำให้นักเรียนและผู้ปกครองมีสุขนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร มีสุขภาพแข็งแรงปราศจากโรค

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

การสร้างเสริมสมรรถภาพทางด้านร่างกาย ( ออกกำลังกาย)

เป็นกิจกรรมที่กำหนดให้นักเรียนทุกคนได้แปรงฟันหลังจากรับประทานอาหารทุกวันในช่วงหลังรับประทานอาหารกลางวัน โดยครูติดตามเช็คทุกวัน นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมที่เชิญคุณหมอหมาตรวจสุขภาพฟันและสุขภาพทั้วไปของนักเรียนอย่างน้อยภาคเรียนละครั้ง ในส่วนกิจกรรมออกกำลังกายนักเรียนจะออกกำลังทุกเช้าหลังเสร็จกิจกรรมหน้าเสาธง โดยมีครูเป็นผู้นำกายบริหาร และบางวันจะเป็นการเต้นประกอบเพลง

แนวทางการพัฒนาต่อยอดคือจะจัดกิจกรรมออกกำลังกายประกอบเพลงมาร์ชของโรงเรียน โดยให้ครูและนักเรียนร่วมกันคิดท่าทางประกอบเพลง

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

อบรมขยายผลโครงการศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสและการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

เป็นกิจกรรมที่ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักการคัดแยกขยะมีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง รวมถึงเห็นประโยชน์ของขยะที่สามารถนำมาขายหรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยมีรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้ ๑. การอบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะในโรงเรยน ๒. จัดหาจัดซื้อถังขยะแล้วให้นักเรียนช่วยกันทาสีเป็นรูปการ์ตูนตามใจชอบเช่นคิตตี้ โดเรม่อน เรโร่ะเป็นต้น ๓. จัดวางถังขยะตามจุดต่างๆในโรงเรียน ๔. รณรงค์ให้นักเรียนทิ้งขยะให้ถูกประเภท ๕ . ครูติดตามประเมินผลโดยตรวจเช็คว่านักเรียนทิ้งขยะถูกต้องตามประเภทหรือไม่

ในปีการศึกษาหน้าจะดำเนินการเปิดเป็นธนาคารขยะในรูปแบบที่สมบูรณ์โดย เปิดบริการรับซื้อขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ในชุมชน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

อบรมแกนนำส่งเสริมสุขภาพและการบริหารจัดการห้องพยาบาลให้น่าอยู่น่าใช้บริการ

เป็นโครงการที่ฝึกอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนในเรื่องของการดูุแลสุขภาพให้สะอาด ปลอดภัย ห่างไกลโรค ตลอดจนจัดบริการห้องพยาบาลให้สะอาด โล่ง น่าเข้าใช้บริการมีการสรุปประเมินสถิติการใช้ห้องพยาบาล ในส่วนของของนักเรียนแกนนำจะเป็นผู้นำในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นต้นแบบให้เพื่อนๆ

จัดบริการสื่อทางสุขภาพเพื่อให้นักเรียนได้ค้นคว้าศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง มีการส่งเสริมให้นักเรียนสามารถผลิตสื่อเกี่ยวกับความรู้เรื่องสุขภาพ

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

การบูรณาการการจัดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหารโภชนาการและสุขภาพอนามัยสู่การเรียนรู้ด้วยการปฎิบัติจริง

เป็นการบูรณาการกิจกรรมการจัดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหารโภชนาการและสุขภาพอนามัยสู่การเรียนรู้ด้วยการปฎิบัติจริงนักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรม ตลอดจนเปิดเวทีแลกเปลียนเรียนรู้ในรูปแบบการจัดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานทั้ง ๘ ด้านของโรงเรียนแล้วเชิญผู้บริหารหรือครูในเครือข่ายมาเยี่ยมชมนิทรรศการ

เปิดเวทีแลกเปลียนเรียนรู้โดยให้โรงเรียนเครือข่ายทุกโรงได้นำผลงานการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสมาจัดแสดงนิทรรศการร่วมกันที่โรงเรียนเพื่อให้แต่ละโรงเรียนได้นำเสนอวิธีปฎิบัติที่เป็นเลิศของแต่ละโรงเรียนทำให้เกิดการแลกเปลียนเรียนรู้และนำผลไปปรับปรุงพัฒนาให้เหมาะกับบริบทของแต่ละโรงเรียน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
9. อื่น ๆ

นำกิจกรรมการการบูรณาการการจัดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหารโภชนาการและสุขภาพอนามัยมาบูรณาการเข้ากับกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ให้กับนักเรียนซึ่งเป็นการสนองนโยบายสพฐ.ด้วย ทำให้เราได้ดำเนินกิจกรรมที่สอดคล้องร้อยรัดบูรณาการเข้ากับนโยบายหน่วยงานต้นสังกัดโดยไม่เป็นการเพิ่มภาระครู

ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดหรือเลือกกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ที่สนใจจะศึกษา โดยเลือกมาจากกิจกรรมการเรียนรู้ด้านเกษตร สหกรณ์ อาหารโภชนาการและสุขภาพอนามัยที่โรงเรียนดำเนินการอยู่แล้วมากำหนดลงในแผนการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนฯ โดยให้ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับกิจกรรมทั้ง ๔ ด้าน ( ๔H)คือ heart hand health and head.

ต่อยอดกิจกรรมโดยให้นักเรียนสามารถนำผลจากการปฎิบัติกิจรรมมาจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายเป็นอาชีพหรือรายได้เสริมหรือเป็นผลิตภัณฑ์ของโรงเรียนเช่นหนึ่งโรงเรียนหนึ่งผลิตภัณฑ์ แล้วพัฒนาเป็นOSOP สำหรับมอบเป็นของที่ละลึกหรือขายแก่ชุมชนเพื่อเป็นหลายได้

2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

หน่วยงานภาคีเครือข่ายเห็นความสำคัญ ให้ความร่วมมือและนำผลจากการเรียนรู้จากโรงเรียนต้นแบบมาพัฒนากิจกรรมในโรงเรียนของตน

2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

โรงเรียนมีพื้นที่มากมีความพร้อมด้านสถานที่เช่นมีสระน้ำขนาดใหญ่ที่มีน้ำตลอดปีสามารถนำมาใช้ในการเกษตรและการเลี้ยงปลาได้ตลอดปี นอกจากนั้นยังมีนาข้าวหรือพื้นที่ว่างๆอื่นที่เหมาะแก่การเพาะปลูกทางการเกษตรหรือเลี้ยงสัตว์

3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

ผู้บริหารเป็นตัวจักรสำคัญในการที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินงานจะต้องเป็นคนที่รอบรู้ รอบคอบ สามารถให้คำแนะนำ ติดตาม ประเมินและตรวจสอบการดำเนินงานของโรงเรียนให้ถูกต้องและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ในส่วนของทีมงานการทำงานเป็นทีมหรือความสามัคคีเป็นเรื่องสำคัญ โรงเรียนโนนสูงโคกกลางมีทีมงานที่เข้มแข็งพร้อมสำหรับการดำเนินงานมีการอยู่แบบพี่น้องคุณครูรักในโรงเรียนทำให้สามารถขับเคลื่อนและพัฒนาได้เป็นอย่างดี

4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

ครูมีการพัฒนาตนเอง แสวงหาความรู้ในการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์มีความกระตือรือล้น ร่วมคิดร่วมทำ นักเรียนเองมีความสนใจใฝ่เรียนรู้ ให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมเป็นอย่างดี ในส่วนของแม่ครัวก็ให้การยอมรับและปฏิบัติตามระเบียบและแนวปฏิบัติที่ทางโรงเรียนได้วางไว้

5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

ผู้ปกครองชุมชนและคณะกรรมการสถานศึกษามีความเข้มแข็งและเข้าใจในการบริหารการจัดกิจกรรมต่างๆภายในโรงเรียนเป็นอย่างดี ให้ความร่วมมือ ส่งเสริมในทุกกิจกรรมที่โรงเรียนดำเนินการ จุดนี้เป็นจุดแข็งของโรงเรียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโดยมีชนิดของผักที่ปลูุกเช่น ผักชี ผักบุ้ง ต้นหอม ผักกาดหอม คะน้า โหรพา มะเขือ พริก มะนาวซึ่งเพียงพอในการจัดบริหารอาหารกลางวันในส่วนของผลไม้จะมีแก้วมังกร กล้วย มะม่วง มะละกอ เสารส ฟักข้าวในส่วนของผลไม้ยังไม่เพียงพอต่อการผลิตเพราะ บางชนิดยังไม่ให้ผลผลิตเช่นแก้วมงกร เสารส แต่ที่มีเยอะและพอเพียงคือกล้วย

ภาพถ่าย

ขยายพื้นที่เพาะปลูกผักและผลไม้ให้มากขึ้นโดยประยุกต์จากพื้นที่ในการทำนา หลังการเก็บเกี่ยวกับปลูกฝักและผลไม้ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นแต่ให้ผลผลผลิตเยอะ สามารถนำไปประกอบอาหารกลางวันหรือจำหน่ายในท้องถิ่นหรือชุมชนได้เช่นแตงโม ข้าวโพด

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีนแก่นักเรียนได้แก่ไก่ไข่ เป็ดและปลาซึ่งพอเพียงในการจัดบริการอาหารกลางวันโดยเฉพาะปลานอกจากมีบ่อปลาเล็กยังมีบ่ปลาซึ่งเป็นสระขนาดใหญ๋ประมาณ๕ ไร่ที่เลี้ยงปลา

ภาพถ่าย

จัดเลี้ยงเนื้อสัตว์ชนิดอื่นเพิ่มเพื่อให้เกิดความหลากหลายเช่น หมูและ จิ้งหรีดเพราะเป็นอาหารโปรตีนที่เป็นที่นิยมและเลี้ยงง่าย

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

การเลี้ยงปลาในสระน้ำโรงเรียนและบ่อซีเมนท์

ภาพถ่าย

ขยายเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดอื่นเพิ่มเช่นกบ หรือกุ้ง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

 

 

 

5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

การจัดบริหารอาหารกลางวันโดยใช้โปรแกรม School lunch

ภาพถ่าย

ส่งเสริมให้ครูและแม่ครัวคิดเมนูที่ส่งเสริมให้เด็กเลือกรับประทานผักหรือหันมารับประทานผักมากขึ้นโดยอาจจัดทำเป็นรูปการ์ตูนที่เด็กชอบ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

การจัดบริหารอาหารกลางวันโดยใช้โปรแกรม School lunch

พอเพียง

ส่งเสริมให้ครูและแม่ครัวและเด็กคิดเมนูที่ส่งเสริมให้เด็กเลือกรับประทานผักหรือหันมารับประทานผักมากขึ้นโดยอาจจัดทำเป็นรูปการ์ตูนที่เด็กชอบ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

มีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานโครงการเด็กไทยแก้มใสแล้วเชิญผู้บริหารในเครือข่ายร่วมกิจกรรมซึ่งในงานมีการนำผลผลิตทางการเกษตรของโรงเรียนมาจำหน่ายด้วย

ภาพถ่าย

จัดให้มีการเปิดบ้านเครือข่ายเด็กไทยแก้มใสเพื่อเปิดดอกาสให้สมาชิกเครือข่ายได้ร่วมแลกเปลียนเรียนรู้

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

มีการใช้โปรแกรม ThaiSchool Lunch ซึ่งทำได้อย่างสมบูรณ์

โปรแกรมThaiSchool Lunch

ฝึกอบรมการทำโปรแกรมให้เป็นปัจจุบันและนำไปใช้ได้จริงให้แก่โรงเรียนเครือข่าย

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

มีการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงและทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนทุกเดือน นำค่าคะแนนที่ได้มาแปลผล แล้วดำเนินการช่วยเหลือเด็กที่มีภาวะโภชนาการไม่เหมาะสมเช่นผอมหรืออ้วนเกินไป

  • บันทึกข้อมูลการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง
    • ภาพถ่าย

จัดทำเป็นข้อมูลสารสนเทศเพื่อให้สามารถนำผลมาใช้ได้ง่ายสะดวกขึ้น

3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

ภาวะ2558 2/12558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/12560 2/12560 2/2
เตี้ย 7.14 7.14% 5.63 5.63% 6.15 6.15% 11.94 11.94% 7.69 7.69% 4.62 4.62% 5.56 5.56% 0.00 0.00% 1.43 1.43%
เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 8.57 8.57% 8.45 8.45% 15.38 15.38% 20.90 20.90% 12.31 12.31% 9.23 9.23% 11.11 11.11% 4.29 4.29% 5.71 5.71%
ผอม 4.29 4.29% 0.00 0.00% 5.97 5.97% 1.49 1.49% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 2.78 2.78% 2.86 2.86% 5.56 5.56%
ผอม+ค่อนข้างผอม 8.57 8.57% 1.41 1.41% 7.46 7.46% 4.48 4.48% 3.08 3.08% 3.08 3.08% 4.17 4.17% 5.71 5.71% 12.50 12.50%
อ้วน 7.14 7.14% 1.41 1.41% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 3.08 3.08% 1.54 1.54% 6.94 6.94% 1.43 1.43% 2.78 2.78%
เริ่มอ้วน+อ้วน 11.43% 11.43% 8.45% 8.45% 5.97% 5.97% 5.97% 5.97% 4.62% 4.62% 9.23% 9.23% 12.50% 12.50% 7.14% 7.14% 9.72% 9.72%
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

ส่งเสริมให้เด็กอ้วนรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องห่างไกลจากโรคอ้วน แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ภาพถ่าย

จัดกิจกรรมค่ายเด็กไทยสดใสห่างไกลโรคอ้วนเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนในการเลือกรับประทานอาหารหรือปฏิบัติตนให้ห่างไกลโรคอ้วน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

ส่งเสริมให้เด็กผอมรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ภาพถ่าย

จัดกิจกรรมค่ายเด็กไทยสดใสห่างไกลโรคเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนในการเลือกรับประทานอาหารหรือปฏิบัติตนให้ห่างไกลโรค

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

ส่งเสริมให้เด็กผอมรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ภาพถ่าย

จัดกิจกรรมค่ายเด็กไทยสดใสห่างไกลโรคเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนในการเลือกรับประทานอาหารหรือปฏิบัติตนให้ห่างไกลโรค

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

การดำเนินการเฝ้าระวังและจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการเป็นรายบุคคล คือหาเวลาว่างมาพบเป็นการส่วนตัวเพื่อพูดคุยแนะนำและเยี่ยมบ้านเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครอง

ภาพถ่าย

จัดกิจกรรมมอบรางวัลเด็กอ้วนที่มีน้ำหนักลดลงหรือเด็กผอมที่มีพัฒนาเป็นปกติเพื่อให้ขวัญและกำลังใจ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

เมื่อพบปัญหาในการดำเนินงานโรงเรียนมีการเชิญคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองมาร่วมประชุมปรึกษาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

ภาพถ่าย บันทึกการประชุม

จัดให้มีโครงการภาคี 4 ฝ่ายเพื่อร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนร่วมกันพัฒนาโรงเรียนในด้านสุขภาพและโภชนาการ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

หน่วยงานภาคีเครือข่ายเห็นความสำคัญ ให้ความร่วมมือและนำผลจากการเรียนรู้จากโรงเรียนต้นแบบมาพัฒนากิจกรรมในโรงเรียนของตน

หมายเหตุ *

  • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh