ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 36 (บ้านบะตากา) |
สังกัด | ?? |
หน่วยงานต้นสังกัด | ?? |
ที่อยู่โรงเรียน | ถนนโพนทอง - กุฉินารายณ์ ตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด |
จำนวนนักเรียน | 143 คน |
ช่วงชั้น | อนุบาล,ประถม |
ผู้อำนวยการ | นายพิชิต พลเยี่ยม |
ครูผู้รับผิดชอบ | นางสมเพชร จิตจักร์ |
๑.ประชุมคณะครู ๑๐ คน เพื่อกำหนดแนวทางนิเทศ กำกับติดตามและสร้างเครื่องมือเก็บข้อมูล ๒.จัดทำราย รายงาน การดำเนินงาน จำนวน ๕ ชุด ๓. รายการดำเนินงานตามกรอบที่ สสส.กำหนด
๑. ผู้รับผิดชอบโครงการทราบแนวทางดำเนินและสามารถรายงานผลการดำเนินงาน ๒. โรงเรียน สสส.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบผลการดำเนินงาน
1.ประชุมครูเพื่อมอบหมายงานนักเรียนแต่ละชั้น 2.จัดทำแผ่นป้ายรณรงค์สำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง 3.ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองทราบ น 4.นักเรียนเดินรณรงค์ สร้างความตระหนักให้ชุมชนให้ความสำคัญในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม 5.นักเรียนเก็บขยะรีไซเคิลและร่วมกันเก็บขยะในชุมชนวัด6.ประเมินผลความพึงพอใจนักเรียนและสร้างความตระหนัก
นักเรียนผู้ปกครองมีความตระหนักในเรื่องการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและช่วยกันพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้น่าอยุ่
- ศึกษาวิธีการทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้ จากผู้มีประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ในอินเทอร์เน็ต
- จัดหาวัสดุที่จะใช้ในการจัดทำปุ๋ยหมัก เช่น สายยาง ถังน้ำ ปุ๋ยยูเรีย น้ำหมักชีวภาพ สารเร่งการย่อยสลาย (พด.2)
- นำเศษใบไม้ที่อยู่ในบ่อเก็บออกมากองไว้ด้านนอกก่อน
- ทำการฉีดน้ำให้ทั่วบริเวณ หลังจากนั้นนำปุ๋ยยูเรีย น้ำหมักชีวภาพ สารเร่งการย่อยสลาย (พด.2) ผสมน้ำลงในถัง คนให้เข้ากัน
- น้ำส่วนผสมราดให้ทั่ว โดยทำเป็นชั้น ๆ
- ควรหมั่นรดน้ำทุกวันเพื่อให้มีความชื้นพอเหมาะ
- ประมาณ 2 เดือน ก่อนที่จะนำมาใช้ ให้สังเกตความร้อนภายในกองปุ๋ยว่าอุณหภูมิใกล้เคียงกับภายนอกกอง หรือมีพืชเจริญบนกองปุ๋ยหมักก็ถือว่าสามารถนำมาใส่ต้นไม้ ได้
นักเรียน ครู มีความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักจากใบไม้ เป็นการนำเศษใบไม้ที่มีอยู่ในโรงเรียนมาใช้ในเกิดประโยชน์ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ครอบครัวได้
- เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
- ติดต่อประสานงานกับโรงเรียนที่ไปศึกษาดูงาน
- ทำหนังสือขออนุญาตผู้ปกครอง
- นำนักเรียนไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้องต.ทะเมนชัยอ.ลำปลายมาศจ.บุรีรัมย์ โดยศึกษาดูงานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรโภชนาการ และสุขภาพตามวันเวลาที่กำหนด
- รายงานผลการดำเนินงาน
คณะครู นักเรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายเช่น การบูรณาการด้านเกษตรเกี่ยวกับการจัดการสิ่งที่เหลือใช้จากอาหารกลางวันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยนำมาเลี้ยงหมูป่า การพัฒนาระบบน้ำด้วยพลังงานทดแทน (โซล่าเซลล์) ธนาคารขยะ กองทุนข้าวเปลือกกิจกรรมออมทรัพย์ทางโรงเรียนจะนำมาปรับใช้ตามบริบทของโรงเรียนต่อไป
- ประชุมครูเพื่อวางแผนการทำงาน
- คัดแยกนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายหลังเลิกเรียนทุกวัน
3ั.จัดหาอุปกรณ์สำหรับออกกำลังกาย เช่น เชือกกระโดด
- จัดกิจกรรมเต้นแอโรบิกหลังเลิกเรียนทุกวัน
- จัดหาอุปกรณ์วัดมาตรฐานเครื่องชั่ง
- จัดให้มีการชั่งน้ำหนักนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินทุกสัปดาห์
- ประเมินผลการดำเนินงานม
นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรงรักการออกกำลังกายรู้จักเฝ้าระวังภาะโภชนาการของตัวเองนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มอ้วนลดลงแต่เริ่มอ้วนเพิ่มขึ้น เนื่องจากในภาคเรียนที่ 2 ทางโรงเรียนมีกิจกรรมต้องดำเนินการมากจึงทำให้ขาดความต่อเนื่องในการออกกำลังกาย
1.แบ่งกิจกรรมออกเป็นฐานการเรียนรู้ จำนวน5 ฐานได้แก่1. สุขบัญญัติแห่งชาติ2.ธงโภชนาการ 3. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 4.การปรับพฤติกรรมการบริโภค 5. การออกกำลังกายตามวัย
2.แบ่งนักเรียนออกเป็น5 กลุ่ม เข้าเรียนตามฐานการเรียนรู้
3.นักเรียนร่วมกันสรุปและและแสดงผลงาน
- นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ,ธงโภชนการ
- นักเรียนมีทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- นักเรียนรู้จักปรับพฤติกรรมการบริโภค และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- นักเรียนรู้จักออกกำลังกายตามวัยเพื่อสุขภาพ
- จัดหาวัสดุที่เกี่ยวข้องในการผลิต
- คัดเลือกนักเรียนที่รับผิดชอบ
- ผลิตน้ำยาเอนกประสงค์เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาถูพื้นสบู่เหลวฯลฯ รายละเอียดกิจกรรมให้ความรู้นักเรียนในการผลิตน้ำยาเอนกประสงค์ ตลอดจนการบรรจุผลิตภัณฑ์ลงในบรรจุภัณฑ์ นักเรียนนำน้ำยาเอนกประสงค์ไปจำหน่ายให้กับโรงเรียนโดยผ่านระบบสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน
- การจัดทำรายรับรายจ่ายต่างๆในกิจกรรมการผลิต
1.นักเรียนได้เรียนรู้ และได้ลงมือปฏิบัติจริงในการทำน้ำยาล้างจาน และน้ำยาล้างห้องน้ำ -
2. นักเรียนได้รับความรู้ และสามารถทำน้ำยาล้างจาน และน้ำยาล้างห้องน้ำได้
3. มีความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
1.ประชุมครูเพื่อแจ้งแนวทางดำเนินงาน 2. ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง ภาคเรียนละ 2 ครั้ง คือ ต้นเทอม และปลายเทอม 3.กรอกข้อมูลเข้าในโปรแกรมประเมินภาวะโภชนาการ 4.นำผลการวิเคราะห์มาสรุปรายชั้น 5.ช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการ ประสานงานกับผู้ปกครอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนการแก้ปัญหาผู้เรียน 6.สรุปผล รายงาน
นักเรียนมีภาวะโภชนาการสมวัย มีสุขภาพกายที่แข็งแรง เด็กกลุ่มเสี่ยงได้รับการแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง
๑. ค้นหาความรู้เกี่ยวกับผลิตผลทางการเกษตร เช่นการปลูกเห็ดการเลี้ยงไก่ การเลี้ยงปลา(การปลูกผักให้นักเรียนช่วยกันแต่งกลอนสุภาพเกี่ยวกับสรรพคุณของผัก) ๒. คัดเลือกเนื้อหาที่สำคัญเพื่อนำไปทำเป็นป้ายไวนิล ๓. นำป้ายที่ทำเสร็จแล้วมาติดตามฐานการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้ ๔. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มรับผิดชอบนำเสนอเกี่ยวกับกิจกรรมที่ตัวเองรับผิดชอบ
- มีป้ายไวนิลสำหรับให้ความรู้ในแต่ละฐานไ่่ด้แก่การปลูกฟักข้าวมะนาว เลี้ยงไก่เลี้ยงปลาบวบหอมฟักน้ำเต้า เพาะเห็ดและปลูกผัก
- นักเรียนแกนนำสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับเพื่อน ชุมชน ผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงานในโรงเรียน และนักเรียนได้ความรู้จากป้ายความรู้
- จัดประชุมครูสภานักเรียน เพื่อกำหนดแนวทางพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียน
- มอบหมายเขตพื้นที่รับผิดชอบดูแลความสะอาดบริเวณ ห้องเรียน อาคารเรียนและห้องสุขา
- ให้ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะ สร้างความตระหนักให้มีจิตสาธาณะ
- จัดหาอุปกรณ์การทำความสะอาด ประเมินผลการจัดทำความสะอาด การพัฒนาสภาพแวดล้อม จัดทำธนาคารขยะ นำขยะจำหน่าย
- นักเรียนเกิดความตระหนัก ให้ความร่วมมมือ พัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้น่าดู น่าอยู่ น่าดู น่าเรียน
- โรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส ที่มีความสะอาด ร่มรื่น สวยงาม เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและโรงเรียนอื่นๆ
- จัดทำกำหนดการอบรมจัดหาวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการอบรม
- เชิญวิทยากรคือ นักโภชนการจากโรงพยาบาลโพนทองมาบรรยายเพื่อให้ความรู้
- จัดอบรมตามกำหนดการ
- สอบถามความพึงพอใจ
1.ผู้ปกครอง แม่ครัวและครูได้แนวทางร่วมกันในการจัดอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ การตักอาหารได้เหมาะสม และสามารถนำไปปรับใช้ในครอบครัวเพื่อดูแลสุขภาพของนักเรียนและคนในครอบครัว 2. นักเรียนได้รับการบริการด้านอาหารอย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.จัดทำเอกสารประกอบการอบรมคณะกรรมการบริหารสหกรณ์นักเรียน
2.เลือกคณะกรรมการบริหารสหกรณ์
3.จัดอบรมแนวทางดำเนินงานสหกรณ์นักเรียนโครงสร้างการบริหารงานหลักการของสหกรณ์ระเบียบสหกรณ์นักเรียนการประชุมสมาชิกการทำบัญชีรับจ่าย การปันผล
4.ประเมินผลการอบรม
นักเรียนแกนนำจำนวน 30คนมีความรู้ ความเข้าใจสามารถบริหารกิจการสหกรณ์นักเรียนได้
- ประชุมคณะครูเพื่อวางแผนการทำงาน
- คัดเลือกนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและทำหนังสือเชิญผู้ปกครองเข้าอบรม
- จัดทำเอกสารประกอบการอบรม 4.ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนที่กำหนด 5.ติดตามประเมินผลและจัดทำรายงาน
ผู้ปกครองและครู ได้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาร่วมกันและนำความรู้ที่ได้ไปช่วยแก้ปัญหาร่วมกับทางโรงเรียนเช่นการจัดการอาหาร การส่งเสริมการออกกำลังกาย การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ
- ประชุมเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
- จัดหาวัสดุสำหรับทำแหล่งน้ำดื่ม
- จัดหาช่างดำเนินการและลงมือปฏิบัติงาน
- ตรวจสอบความเรียบร้อยและตรวจรับงาน
- รายงานผลการดำเนินงาน
- นักเรียนแหล่งน้ำดื่มอยู่ใกล้อาคารเรียน ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินไปดื่มในจุดเดิมซึ่งอยู่ไกลอาคารเรียน
- มีแหล่งน้ำดื่มที่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน
1.บันทึกขอจัดกิจกรรม 2.จัดหาแปรงสีฟัน ยาสีฟัน3.ให้ความรู้เรื่องการแปรงฟันที่ถูกวิธีโดยทันตแพทย์จากโรงพยาบาลโพนทอง 4.ฝึกนักเรียนแปรงฟันให้ถูกวิธี และมีการตรวจสุขภาพฟันโดยครู ผู้นำนักเรียนในการส่งเสริมสุขภาพทุกวันและมีทันตแพทย์เข้ามาตรวจสุขภาพฟันทุกภาคเรียน5.ประเมินผลความรู้ ความเข้าใจ ในการแปรงฟันุ
จากการติตตามประเมินผล1. นักเรียนแปรงฟันอย่างถูกวิธีและทำเป็นกิจวัตร2. นักเรียนมีสุขภาพฟันที่ดีขึ้น 3. จากการตรวจสุขภาพฟันของทันตแพทย์นักเรียนที่ฟันผุ มีจำนวนลดลง
1.จัดหาวัสดุ สำหรับผลิตสื่อการเรียนการสอน เช่น กระดาษหมึกแฟ้ม 2.ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ โดยจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเกี่ยวกับ ธงโภชนาการ การกินผักผลไม้ การลดหวานมันเค็ม การลดอ้วน 3.วัดและประเมินผลผู้เรียน
1.นักเรียนเกิดการเชื่อมโยงการเรียนรู้ ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในลักษณะองค์รวม
2. มีสื่อและนวัตกรรมใหม่ ๆ
3. นักเรียนมองเห็นประโยชน์ในสิ่งที่เรียนและนำไปใช้จริงได้
1.ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 2.แยกกลุ่มตามโรงเรียน โดยแต่ละโรงเรียนจะได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ของส่วนกลาง 3.บันทึกรายละเอียดในระบบ 4.ตรวจสอบความถูกต้อง
1.ครูในโรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน ตามรูปแบบที่ สสส. กำหนด 2. ครูสามารถบันทึกความก้าวหน้าของกิจกรรมได้อย่างถูกต้อง
1.อบรมให้ความรู้และปฏิบัติเกี่ยวกับการเพาะเห็ดขอนดำ ได้แก่ การพักก้อนเชื้อการวางก้อนเชื้อ การรดน้ำ การเก็บเห็ด การดูแลรักษา การจำหน่ายเห็ด 2.การเตรียมวัสดุอุปกรณ์การเพาะเห็ดขอนดำได้แก่ โรงเรือน ก้อนเชื้อ สายยางผ้าพลาสติก 3. ขั้นตอนการปฏิบัติเพาะเห็ดขอนดำ นำก้อนเชื้อไปบ่มไว้ในโรงเรือน เมื่อเชื้อวิ่งเต็มก้อนเชื้อซึ่งใช้เวลาประมาณ 25-28 วัน ก็เปิดฝาจุกรดน้ำวันละ 3 ครั้ง ประมาณ 3-5 วัน เห็ดก็งอกสามารถเก็บเกี่ยวได้ 4. นักเรียนร่วมกันรุปและและแสดงผลงาน
1.นักเรียนมีความรู้ มีทักษะในการเพาะเห็ดขอนดำ ได้แก่ การพักก้อนเชื้อ การวางก้อนเชื้อ การรดน้ำ การเก็บเห็ด การดูแลรักษา การป้องกันเชื้อราที่เกิดขึ้นในก้อนเชื้อ การกำจัดศัตรูที่มาทำลายก้อนเห็ด การทำโรงเรีอน การจำหน่ายเห็ด 2.เป็นแหล่งเรียนรู้และนำผลผลิตมาประกอบอาหารกลางวัน 3. นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประกอบอาชีพในอนาคต 4. นักเรียนมีความรับผิดชอบและมีความซื่อสัตย์สุจริต
วันที่ 1 กันยายน 2559 จัดเตรียมเอกสารประกอบการอบรม
วันที่ 2 กันยายน 2559 ดำเนินการจัดอบรมตามขั้นตอนดังนี้
1. ลงทะเบียน
2.พิธีเปิดอบรมอบรมผู้นำนักเรียน
3.อบรมเรื่องการปฐมพยาบาลการตรวจสุขภาพเบื้องต้น การแปรงฟัน การปฏิบัตตัวในวัยรุ่น
4. ทำแบบทดสอบ
1.ผู้นำนักเรียนนำความรู้และทักษะในการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง การปฐมพยาบาล การแปรงฟัน การปฏิบัติตัวในวัยรุ่น และนักเรียนคนอื่นๆได้ 2.นักเรียนมีสุขนิสัยในการพัฒนาสุขภาพของตัวเอง
1.ประชุมครูเพื่อกำหนดแนวทางจัดบริการสุขภาพอนามัยนักเรียน 2.ปรับปรุงห้องพยาบาลให้เป็นเอกเทศ 3.จัดนิทรรศการ ฐานข้อมูลด้านสุขภาพนักเรียน 4.จัดหาการเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ประจำห้องพยาบาล 5.บริการปฐมพยาบาลเบื้องต้นุ6.ประสานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองใหญ่ ส่งต่อรักษา 7.ประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บริการ
- โรงเรียนมีห้องพยาบาลเป็นเอกเทศเป็นแหล่งบริการความรู้เรื่องสุขภาพ
- ห้องพยาบาล มีเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ที่จำเป็นไว้บริการนักเรียน
บุคลากรเมื่อเจ็บป่วย 3
- วิทยากรจากกรมพัฒนาที่ดิน อบรมให้ความรู้และปฏิบัติแก่นักเรียนเกี่ยวกับการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ
- การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ เศษผัก เศษอาหารกลางวัน กากน้ำตาลและอีเอ็ม หัวเชื้อ นำมาผสมกันด้วยอัตราส่วน หมักไว้ในถังพลาสติก
- นำถังหมักน้ำชีวภาพไปเก็บไว้ในโรงเรียนในอุณหภูมิที่เหมาะสมเมื่อครบ 7 วัน สามารถนำมาใช้ได้ โดยผสมน้ำในอัตราส่วนที่กำหนด
1.นักเรียนมีความรู้ มีทักษะ ในการทำปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ 2.นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพโรงเรียน 3.เป็นแหล่งเรียนรู้ 4.นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประกอบอาชีพในอนาคต 5.ได้ผลที่คุ้มค่า ประหยัด ปลอดภัย เนื่องจากนำเศษวัสดุ ปุ๋ยคอก เศษผัก เศษผลไม้ ที่เหลือใช้มาทำปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ 6.นักเรียนมีความรู้ มีทักษะ ในการทำปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ ไปเผยแพร่ และขยายผลต่อชุมชน
1.อบรมให้ความรู้ในการเลี้ยงปลาในบ่อดิน 2. เตรียมสถานที่ อุปกรณ์ และวัสดุที่ใช้ในการเลี้ยงปลาในบ่อดิน อาหารการเลี้ยงปลาในบ่อดิน 3. อธิบายและสาธิตการเลี้ยงปลาในบ่อดิน 4. ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติจริงตามกระบวนการ 5. นักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปผลการเลี้ยงปลาในบ่อดิน
-วันที่ 28 กรกฏาคม 2559 ขุดบ่อปลา ใช้ผ้าพลาสติก ปูรองพื้น
-วันที่ 2 สิงหาคม 2559 นำกระสอบลูกแหวางทับรอบบ่อ ปล่อยน้ำลงบ่อ
- วันที่ 5 สิงหาคม 2559 นำเอ็นกรงไก่ล้อมรอบบ่อ
-วันที่ 8 สิงหาคม 2559 ปล่อยพันธ์ุปลาดุกลงในบ่อ
-วันที่ 9 สิงหาคม 2559 ซื้ออาหารปลาดุก มาให้ปลา
1.นักเรียนมีความรู้ มีทักษะในการเลี้ยงปลาในบ่อดิน ได้แก่ การคัดเลือกพันธุ์ปลา การให้อาหาร การถ่ายเทน้ำ การป้องกันโรคของปลา การจับปลา การจำหน่าย การดูแลรักษา 2.เป็นแหล่งเรียนรู้และนำผลผลิตมาประกอบอาหารกลางวัน 3.นักเรียนนำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้รับนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ
1.อบรมนักเรียนให้ความรู้เกี่ยวกับ การเลี้ยงไก่ไข่ การดูแลรักษา การให้อาหาร ลักษณะของโรงเรือน อุปกรณ์ที่ใช้ในโรงเรือน การทำความสะอาดโรงเรือน ภาชนะและอุปกรณ์ต่างๆ การเก็บไข่ 2.ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้แก่ การนำไก่ไข่ไว้ในกรง การให้อาหาร อุปกรณ์ที่ใช้ในโรงเรือน การทำความสะอาดโรงเรือน การเก็บไข่ 3.การดูแลรักษา เช่น การล้างโรงเรือน การให้น้ำ การทำความสะอาดภาชนะและอุปกรณ์ต่างๆ 4.การจำหน่ายผลผลิต
1.นักเรียนมีความรู้ มีทักษะในการเลี้ยงไก่ไข่ ได้แก่ การดูแลรักษา การให้อาหาร ลักษณะของโรงเรือน อุปกรณ์ที่ใช้ในโรงเรือน การทำความสะอาดโรงเรือน ภาชนะและอุปกรณ์ต่างๆ การเก็บไข่ 2.เป็นแหล่งเรียนรู้และนำผลผลิตมาประกอบอาหารกลางวัน 3.นำไปประกอบอาชีพที่บ้านมีรายได้ระหว่างเรียน
1.อบรมนักเรียนให้ความรู้การเตรียมดิน การทำปุ๋ยหมัก การปลูก การดูแลรักษา การใส่ปุ๋ย การขยายพันธ์พืช การเก็บเกี่ยวผลผลิตพืช ผัก ผลไม้้ เกษตรอินทรีย์บผสแบมผสาน
2.ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้แก่ การเตรียมดิน การปลูกผัก เช่น ผักบุ้ง คะน้า ผักกาดหอม ผักชี น้ำเต้า
3. การดูแลรักษาระหว่างปลูก เช่น การใส่ปุ๋ย การให้น้ำ การกำจัดวัชพืชศัตรูพืช
4.การเก็บเกี่ยวผลผลิตและสรุปกิจกรรมตามแผน
1.นักเรียนมีความรู้ มีทักษะในการเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษา การใส่ปุ๋ย การขยายพันธ์พืช การให้น้ำ การกำจัดวัชพืชศัตรูพืช การดูแลใส่ปุ๋ย การเก็บเกี่ยวผลผลิตและจำหน่าย 2.นักเรียนได้ปลูกพืช ผัก เกษตรอินทรีย์ในโรงเรียน 3.เป็นแหล่งเรียนรู้และนำผลผลิตมาประกอบอาหารกลางวัน 4.นักเรียนมีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์สุจริต 5.นักเรียนมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง
1.นายพิชิต พลเยี่ยม ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นประธานในพิธีการประชุมผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมพัฒนานักเรียนตามโครงการโรงต้นแบบเด็กไทยแก้มใส 2.นางสมเพชร จิตจักร์ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ และขอความอนุเคราะห์ผู้ปกครองให้ความสนับสนุนโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนด้านสุขอนามัย ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาด้านสติปัญญา และด้านการเรียนรู้ 3.นางพิสมัย ศรีตระกูล เจ้าหน้าที่อาหารกลางวัน ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักโภชนาการอาหาร สุขอนามัยส่วนตัว และความสำคัญในการพัฒนาการเจริญเติบโตของบุตรหลานให้สมวัย
ครูผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสและยินดีให้ความร่วมมือในการดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการ