info
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร
สังกัด เทศบาล
หน่วยงานต้นสังกัด เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
ที่อยู่โรงเรียน เลขที่ 11 ถนนเทวาภิบาล ซอย7 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด 45000
จำนวนนักเรียน 687 คน
ช่วงชั้น ปฐมวัย,อนุบาล,ประถม,มัธยมต้น
ผู้อำนวยการ นายภัทรพงษ์ เมธาคุณวุฒิ
ครูผู้รับผิดชอบ นางสาวศันสนา วันชูเชิด
restaurant_menu
ข้อมูลภาวะโภชนาการ
assignment
กิจกรรม
พัฒนาระบบเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการเชื่อมประสานบ้าน และโรงเรียนนางสาวศันสนา วันชูเชิด เมื่อ 1 ก.ค. 67 น. @11 ธ.ค. 67 01:18
รายละเอียด:

1) โรงเรียนมีการตรวจสอบความพร้อมของเครื่องชั่งน้ำหนักที่วัดส่วนสูงให้ได้มาตรฐาน และจัดทำแผนแก้ไขในเดือนกรกฎาคม 2567 2) ครูชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงนักเรียน และเเปลผลภาวะการเจริญเติบโตของนักเรียนโดยใช้โปรแกรม KidDiary ในเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2567
3) โรงเรียนคืนข้อมูลภาวะโภชนาการนักเรียนให้ผู้ปกครอง และ นักเรียน ในเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2567 4) โรงเรียนจัดกิจกรรมออกกำลังกาย  5 วัน ในวันจันทร์ – ศุกร์ ช่วงเวลา  15.00-15.30 น. ดำเนินการในช่วงเปิดเรียน 5) โรงเรียนจัดกิจกรรมฝึกทักษะด้านการเกษตรให้นักเรียนในช่วงเปิดเรียน เพื่อนำเข้าเป็นวัตถุดิบปลอดสารให้กับโครงการอาหารกลางวัน รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนทานผักมากขึ้น 6) ครูประจำชั้นติดตามการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายผ่านกลุ่มไลน์ผู้ปกครองสัปดาห์ละ  3  วัน ดำเนินการในเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2567 7) ประเมินผลภาวะการเจริญเติบโตนักเรียนเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์:

ผลผลิต(Output) - เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา และขยายโอกาส ผลลัพธ์(Outcome) - ครูที่รับผิดชอบด้านอนามัยนักเรียน สามารถคัดกรองภาวะทุพโภชนาการนักเรียนได้ถูกต้องและนำข้อมูลเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา  เพื่อร่วมแก้ปัญหา - เด็กนักเรียน อายุ 6-14 ปี มีภาวะทุพโภชนาการลดลง จากปีที่ผ่านมา ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม - นักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร มีภาวะทุพโภชนาการลดลง

เมนูอาหารว่างชูสุขภาพนางสาวศันสนา วันชูเชิด เมื่อ 1 ก.ค. 67 น. @11 ธ.ค. 67 01:08
รายละเอียด:

1) สำรวจเมนูอาหารว่างและเครื่องดื่มที่นักเรียนและบุคลากรชื่นชอบ ในเดือนกรกฎาคม 2567
2) จัดหาสูตรการทำเมนูอาหารว่างที่ไม่หวาน มัน เค็ม และส่งสูตรให้นักโภชนาการทบทวนในเดือนกรกฎาคม 2567 3) ประสานร้านที่จัดส่งอาหารว่างเพื่อจำหน่ายในร้านสหการณ์และเป็นสูตรที่ลงตัวในเดือนกันยายน 2567 4) เฝ้าระวังอาหารว่างโดยเด็กๆอาสาสมัครอาหารกลางวัน และ เด็กๆอย.น้อย เข้าตรวจสอบและเฝ้าระวัง ให้ไม่มีความหวาน มัน เค็มเกินเกณฑ์ โดยดำเนินการในช่วงเวลาพักเที่ยงและคาบชุมชุม วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 11.50 – 12.30  ซึ่งดำเนินการเดือนกันยายน - ธันวาคม 2567 5) ประเมินผลการดำเนินงาน/ประเมินความพึงพอใจนักเรียนในรสชาดของอาหารว่างและเครื่องดื่มในเดือนกันยายน - ธันวาคม 2567

ผลผลิต/ผลลัพธ์:

ผลผลิต(Output) -เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา และขยายโอกาส ผลลัพธ์(Outcome) โรงเรียนมีและใช้เมนูอาหารกลางวัน ใช้ TSL ประยุกต์กับวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่นและมีการใช้พืชผักชุมชนตามฤดูกาลได้ - โรงเรียนจัดบริการอาหารตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหาร สุขาภิบาล และสิ่งแวดล้อม ผ่านมาตรฐานที่ 2 ในระดับดี-ดีมาก ผลสรุปของกิจกรรม นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนได้รับอาหารตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหาร สุขาภิบาล และสิ่งแวดล้อม

กิจกรรม อย.น้อย รอบรู้นางสาวศันสนา วันชูเชิด เมื่อ 1 ก.ค. 67 น. @11 ธ.ค. 67 00:18
รายละเอียด:

1) ทบทวนหลักสูตร อย.น้อย รอบรู้เดือนกรกฎาคม 2567 ซึ่งใช้สำหรับการเรียนการสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ใน รายวิชาสุขศึกษา  รายวิชาวิทยาศาสตร์  บูรณาการ 8 กลุ่มสาระ 2) จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรอย.น้อย รอบรู้ เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567 พร้อมวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3) จัดกิจกรรมชุมนุม อย.น้อย  เสียงตามสาย โดยนักเรียนอาสาสมัคร ซึ่งเป็นสมาชิกชุมนุม ให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารปลอดภัย การเลือกรับประทานอาหาร โดยจะดำเนินกิจกรรมทุกวัน เวลา 07.30-07.50 ในเดือน สิงหาคม 4) กิจกรรมฉลาดเลือกสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพโดยจัดกิจกรรมหน้าเสาธง ให้ความรู้เกี่ยวกับฉลากอาหารและการเลือกรับประทานอาหาร โดยจะดำเนินกิจกรรมวัน ในเดือนสิงหาคม 5) กิจกรรมเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยในโรงเรียน โดยนักเรียนอาสาสมัคร ซึ่งเป็นสมาชิกชุมนุมอย.น้อย ดำเนินการดังนี้ - เฝ้าระวังนมโรงเรียน โดยดำเนินการตรวจสอบนมทุกวัน วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 07.00 – 07.30 ซึ่งดำเนินการเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม - เฝ้าระวังวัตถุดิบที่ใช้จัดทำอาหารกลางวันของโรงเรียน โดยดำเนินการให้อาสาสมัครอาหารกลางวันตรวจสอบวัตถุดิบทุกเช้าตั้งแต่เวลา 07.00-07.20น.  และ เด็กๆอย.น้อย สุ่มตรวจสารเคมีปนเปื้อนในวัตถุดิบอาทิตย์ละ 1 ครั้ง  ซึ่งดำเนินการเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม 6) ประเมินผลการดำเนินงานในเดือนธันวาคม 2567 และจัดทำสรุปรายงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์:

ผลผลิต(Output) - เพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหารเพื่อสุขภาวะในโรงเรียน ผลลัพธ์(Outcome) - ครูมีความรู้ในการจัดการเรียนการสอนด้านโภชนาการและอาหารปลอดภัย
- เด็กนักเรียน ชั้น ป. 4-6 และ ม.1-3 ในโรงเรียนมีความรอบรู้การบริโภคอาหารและโภชนาการที่สมดุล ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และ ม.1-3 ในโรงเรียน มีความรอบรู้การบริโภคอาหารและโภชนาการที่สมดุล สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้