ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนบ้านดอนเดื่อ |
สังกัด | ?? |
หน่วยงานต้นสังกัด | ?? |
ที่อยู่โรงเรียน | หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านโคก อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี |
จำนวนนักเรียน | 167 คน |
ช่วงชั้น | อนุบาล,ประถม,มัธยมต้น |
ผู้อำนวยการ | นางอัจฉราภรณ์ ศรีบุตตะ |
ครูผู้รับผิดชอบ | นางสาวเกษราภร คุนาคม |
จัดทำรายงานสรุปการเงินปิดโครงการและรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์
จัดทำรายงานสรุปการเงินปิดโครงการและรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ เสร็จเรียบร้อย สามารถขอเบิกงวด 3 และปิดโครงการได้
คืนดอกเบี้ยปิดโครงการ
ได้คืนดอกเบี้ยเรียบร้อย
1.ผู้ปกครองและผู้ที่เข้ารับการอบรมลงทะเบียน 2.ผู้ปกครองรับฟังการประชุม อบรม ชี้แจง เกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็กโดยนำระบบ Thai School Lunch โดยวิทยากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับภาวะโภชนาการ
ผู้ปกครองได้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็กโดยนำระบบ Thai School Lunch โดยวิทยากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับภาวะโภชนาการ
1.ประชุม แต่งตั้งคณะกรรมการเจ้าหน้าที่สหกรณ์ และเวรประจำวัน 2.ทุกวันพฤหัสบดีของสัปดาห์ นักเรียนนำผลผลิตจากโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันบางส่วนออกขายที่ตลาดนัดชุมชน 3.บันทึกกิจกรรมรายรับรายจ่าย
นักเรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการทำงานสหกรณ์ เช่น การทำงานร่วมกัน การประชุม การทำบัญชี การค้าขาย
จัดกิจกรรมสัปดาห์ละ ๓ วัน วันละ ๑ ชั่วโมง - จัดกิจกรรมตามแผน ได้แก่ กิจกรรมแอโรบิก กิจกรรมกระโดดเชือก กิจกรรมกีฬาสี - กิจกรรมชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดรอบเอว
-จัดประกวด กิจกรรมเต้นแอโรบิก
- นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี
- เด็กได้ร่วมกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน และเกิดความสามัคคี 3.ได้ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน
1.สร้างองค์ความรู้การปลูกกล้วยน้ำว้าและกล้วยหอมทอง โดยวิทยากรท้องถิ่น
2.เตรียมพื้นที่เพาะปลูก โดยแบ่งเป็นแปลง จำนวน 10 แปลง แปลงละ 10 ต้น
3.นักเรียนทำการปลูกกล้วยน้ำว้าและกล้วยหอมทอง
4.นักเรียนรดน้ำทุกวัน ดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ
5.เก็บเกี่ยวผลผลิต จัดจำหน่ายสหกรณ์โรงเรียน และเข้าสู่อาหารกลางวัน
นักเรียนได้องค์ความรู้การปลูกกล้วยน้ำว้าและกล้วยหอมทอง และลงมือปฎิบัติ
มาตรวจรายงานความก้าวหน้าโครงการ
ได้ข้อเสนอแนะ และได้ทราบวิธีการจัดทำที่ถูกต้อง
- ประชุมแบ่งกลุ่มผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนตามความสนใจและความถนัด โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ 2.การปลูกพืชหมุนเวียนตามฤดูกาล 3.การปลูกเห็ดนางฟ้า 4.การเลี้ยงปลาในบ่อดิน 5.การปลูกกล้วยน้ำว้าและกล้วยหอมทอง
- นำวิทยากรท้องถิ่นที่มีความเชี่ยวชาญทางการเกษตรด้านต่างๆมาให้ความรู้ ขั้นตอน วิธีการและการดูแลรักษา มาให้ความรู้ให้กับผู้ปกครองนักเรียน ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
- ผู้ปกครองและนักเรียนที่แบ่งกลุ่มเรียบร้อยแล้ว ลงมือปฏิบัติกิจกรรม 4.ผู้ปกครองและนักเรียน ช่วยกันดูแลจนสามารถบริโภคและจำหน่ายได้
1.ประชุมคณะทำงาน ผู้ปกครอง นัเรียน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 2.ให้ความรู้เรื่องการเพาะเห็ด การเก็บ การดูแลรักษา โดยวิทยากรท้องถิ่น 3.สั่งซื้อก้อนเห็ด 4.นักเรียนดำเนินการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ นักเรียนที่รับผิดชอบเก็บเห็ดเพื่อส่งสหกรณ์นักเรียน เพื่อเข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน
- จัดทำเอกสารการเยี่ยมบ้านนักเรียน
- ออกเยี่ยมบ้านนักเรียน โดยดูสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริง และสอบถามผู้ปกครองนักเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมต่างๆของนักเรียน พร้อมบันทึกตามเอกสาร
- ครูผู้รับผิดชอบได้เห็นสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของนักเรียนและผู้ปกครอง
- นำข้อมูลที่ได้มาช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาทางด้านต่างๆ
- สร้างองค์ความรู้การปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้โดยวิทยากรท้องถิ่น 16 มิย.
- เตรียมพื้นที่เพาะปลูก โดยแบ่งเป็นแปลง จำนวน 8 แปลง และแบบท่อจำนวน 24 ท่อ
- นักเรียนทำการเพาะปลูกผักสวนครัว เช่น ผักบุ้ง ถั่ว ผักชี เป็นต้น
- นักเรียนรดน้ำทุกวัน ดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ
- เก็บเกี่ยวผลผลิต จัดจำหน่ายสหกรณ์โรงเรียน
- นักเรียนได้องค์ความรู้เรื่องการปลูกพืชผักสวนครัว และการดูแลรักษา
- ได้ผักสวนครัว อาทิตย์ละประมาณ 10 กิโลกรัม เพื่อใช้ประกอบอาหาร
- ประชุมคณะทำงาน ผู้ปกครอง ครู นักเรียน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง (2 มิ.ย.59)
- ให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงไก่พันธ์ุไข่ โดยวิทยากรท้องถิ่น (3 มิ.ย.59)
- สั่งซื้ออุปกรณ์ ยารักษาโรค วัคซีน และอาหารไก่
- นักเรียนดำเนินการดูแลรักษา ให้ยารักษาโรค วัคซีน และอาหารไก่ อย่างสม่ำเสมอ
- นักเรียนที่รับผิดชอบเก็บไข่ เพื่อส่งสหกรณ์นักเรียน
- นักเรียนได้องค์ความรู้ในเรื่องการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ และการดูแลรักษา
- ได้วัสดุอุปกรณ์ (ถังน้ำ ลางอาหาร ลางน้ำ ยารักษาโรค และอาหาร )
- ประชุมคณะทำงาน ผู้ปกครอง ครู นักเรียน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
- ให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงปลา โดยวิทยากรท้องถิ่น
- แบ่งกลุ่มนักเรียนรับผิดชอบในการขุดบ่อดิน
- สั่งซื้อปลาดุก ปลานิล ปลาตะเพียน และอาหารปลา
- นักเรียนนำปลาดุก ปลานิล ปลาตะเพียน ปล่อยลงในบ่อ
- นักเรียนที่รับผิดชอบให้อาหารปลา อย่างสม่ำเสมอ
- นักเรียนได้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาในบ่อดิน และการดูแลรักษา
- ได้บ่อปลา จำนวน 6 บ่อ
- ได้ปลาดุก ปลานิล ปลาตะเพียนอย่างละ 1,000 ตัว
น้ำสมุนไพร ประกอบด้วยน้ำตะไคร้ ใบเตย อัญชัน กระเจี๊ยบ และน้ำมะตูม ในการทำเราจะทำน้ำสมุนไพร จะทำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ครั้งละ 1-3 ชนิด
วิธีการทำอยู่ในไฟล์ที่แนบ
- นักเรียนได้องค์ความรู้ และการทำน้ำสมุนไพร
- ในการทำน้ำสมุนไพรแต่ละครั้ง จะได้น้ำสมุนไพรชนิดละประมาณ 25-30 ขวด
- ได้แผ่นพับวิธีการทำน้ำดื่มสมุนไพร จำนวน50แผ่น