การติดตามภาวะโภชนาการ

กิจกรรมหลัก : การติดตามภาวะโภชนาการ

งบประมาณ 500.00 บาท

วัตถุประสงค์

เพื่อสามารถติดตามและแก้ไขเด็กนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการได้ทันกาลและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนเป็นรายบุคคลได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งทราบสถานการณ์ของภาวะโภชนาการของนักเรียน

รายละเอียดกิจกรรม :

โรงเรียนอนุบาลลำดวน(สุรพินท์ราษฎร์นุสรณ์) ได้ดำเนินการติดตามภาวะโภชนาการ ดังนี้                     1. ครูอนามัยโรงเรียนได้รับการฝึกอบรมทางการพยาบาลเบื้องต้น               2. จัดหา/สนับสนุนอุปกรณ์ ได้แก่ เครื่องชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูงให้แก่โรงเรียน               3. จัดการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทักษะให้แก่ครูในด้านเทคนิคของการชั่งน้ำหนักและการวัดส่วนสูง การแปลผล และ นำข้อมูลไปใช้ในการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการเป็นรายบุคคลและเพื่อพัฒนากิจกรรมของโรงเรียนด้วย               4. จัดทำคู่มือเพื่อให้ครูสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองและเป็นการควบคุมคุณภาพในการชั่งและวัดด้วย                     5. ครูอนามัยโรงเรียนร่วมกับครูประจำชั้นดำเนินการประเมินภาวะโภชนาการตามวงรอบการแปลผล และแก้ไขปัญหาเป็น                       จากการคัดกรองนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง (W/H)  เกินเกณฑ์ (เริ่มอ้วนและอ้วน)  โรงเรียนได้ดำเนินการแก้ไขนักเรียนที่เริ่มจะอ้วนโดยให้เข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้             1.วิ่งและเต้นแอโรบิก ตอนเช้า  วันละ20 – 30 นาที  สัปดาห์ละ 1  วัน
                        2 .ลดปริมาณอาหารให้น้อยลงและส่งเสริมให้กินผักและผลไม้ทุกวัน                         3. ให้รับประทานนมที่มีรสจืด  วันละ  1  ถุง
                        4.ไม่ให้กินขนมหวาน  ขนมกรุบกรอบ  และน้ำอัดลม       นอกจากนั้นโรงเรียนยังได้ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองให้ร่วมแก้ไขภาวะดังกล่าวของนักเรียน  ดังนี้                         1. ให้ออกกำลังกายวันละ  30  นาที                         2. ลดปริมาณอาหารให้น้อยลงและกินผักและผลไม้                         3.ไม่ให้ดื่มนมรสหวาน  ขนมกรุบกรอบ  น้ำอัดลม และกินขนมหวานมากเกินไป
                    จากการคัดกรองนักเรียนที่มีภาวะส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ  (H/A)  ต่ำกว่าเกณฑ์  (ค่อนข้างเตี้ย  และเตี้ย)โรงเรียนได้เล็งเห็นผลต่อภาวะสุขภาพของนักเรียนจึงมีกิจกรรมแก้ไขเด็กที่ค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย โดย                           1. ออกกำลังกายด้วยการกระโดด วิ่งและเต้นแอโรบิก  ตอนเช้า วันละ  20 – 30  นาที                      สัปดาห์ละ 1  วัน
                          2 .รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และส่งเสริมให้กินผักและผลไม้ทุกวัน                           3. รับประทานนมที่มีรสจืด  วันละ  1  ถุง
                          4. ไม่ให้กินขนมหวาน  ขนมกรุบกรอบ  และน้ำอัดลม                       นอกจากโรงเรียนจะจัดกิจกรรมให้แก่นักเรียนดังกล่าวแล้ว ยังมีนักเรียนและคุณครูที่มีจิตอาสาที่จะเฝ้าระวังภาวะการเจริญเติบโตของนักเรียนที่มีส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ  (H/A) ต่ำกว่าเกณฑ์ ให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้นอีกด้วย และขอความร่วมมือจากผู้ปกครองให้ร่วมแก้ไขภาวะดังกล่าวของนักเรียน  ดังนี้                                   1. ให้ออกกำลังกายวันละ  30  นาที                                   2. ให้รับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่และกินผักและผลไม้ทุกวัน                                   3. รับประทานนมที่มีรสจืด  วันละ  1  กล่อง                                   4. ไม่ให้ดื่มน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ  และกินขนมหวานมากเกินไป

ผลผลิต :

นักเรียนมีภาวะสุขภาพที่ถูกต้องตามเกณฑ์ทุกคน

ผลลัพธ์ :

โรงเรียน มีฐานข้อมูลน้ำหนัก ส่วนสูง สมรรถภาพทางกายและภาวะสุขภาพของนักเรียนทุกคนมีการแปลผลภาวะโภชนาการ สมรรถภาพทางกายและภาวะสุขภาพที่ถูกต้องตามเกณฑ์ชี้วัดและมีการนำข้อมูลไปใช้ในการจัดทำโครงการ/กิจกรรมแก้ปัญหา โดยครอบครัวมีส่วนร่วมและ เด็กกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามทุกเดือน

ภาคีร่วมสนับสนุน :

โรงพยาบาลลำดวน